Related Articles
ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี
ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่าปาลี (पाली) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า กัลยาณะ(कल्याण – Kalyana) กับภรรยาของเขาที่มีชื่อว่าอินทุมตี (इन्दुमती – Indumati) ได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า “พัลลาฬะ (बल्लाळ – Ballal)” แล้วในวันหนึ่งพัลลาฬะซึ่งเป็นบุตรของทั้งสองนี้ ก็ได้นำเหล่าเพื่อน ๆ ของเขานั้นไปทำการบูชาโดยใช้ก้อนหินก้อนหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง ซึ่งพวกเขานั้นสมมุติให้เป็นองค์มูรติของพระเคณศ อีกทั้งพวกเขายังเพียรบูชาซึ่งมูรติของพระเคณศนี้จนลืมความหิวกระหายและจนไม่รู้วันรู้คืน (ไม่ยอมกลับบ้าน) ในช่วงนั้นเองผู้ปกครองของบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายในหมู่บ้านก็มุ่งไปยังเรือนของกัลยาณะ และทำการต่อว่าเกี่ยวกับการนำไปของพัลลาฬะเช่นนี้ เมื่อกัลป์ยาณะโดนต่อว่าเช่นนั้น เขาก็เกิดความโกรธและรีบออกจากเรือนไปค้นหาลูกชายของเขาและบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลาย ครั้นเมื่อค้นเจอแล้ว กัลยาณะนี้ก็พบว่าพัลลาฬะกับเพื่อน ๆ นั้นกำลังใจจดในจอกับพระมูรติของพระคเณศอยู่ (ในนั้นกล่าวว่าพวกเด็ก ๆ ทั้งหลายกำลังได้รับฟังซึ่งคเณศปุราณะจากพระคเณศอยู่) แล้วด้วยความโกรธนั้นกัลยาณะจึงได้รีบตรงเข้าไปทำลายซึ่งซุ้มบูชาพระคเณศขนาดเล็กนั้นลง อันทำให้บรรดาเพื่อน ๆ ของพัลลาฬะนั้นพากันหวาดกลัวแล้ววิ่งหนีไป ส่วนพัลลาฬะผู้ภักดีในพระคเณศยิ่งนั้นกลับยังคงนั่งบูชาพระคเณศอยู่ ณ ที่เดิม ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้กัลยาณะนั้นโกรธยิ่งขึ้นไปอีก แล้วทำการทุบตีซึ่งบุตรของเขาอย่างหนักจนเลือดเปื้อนไปทั้งเสื้อผ้า จากนั้นกัลยาณะก็ได้นำเอาตัวของพัลลาฬะไปมัดไว้กับต้นไม้ แล้วก็มาทำลายข้าวของบูชาของพวกเด็ก ๆ และได้พยายามทำลายซึ่งก้อนหินใหญ่อันเป็นพระมูรติของพระคเณศนี้ด้วยการพยายามยกขึ้นและทุ่มลงกับพื้นให้แตก เมื่อได้ทำดังนี้แล้วกัลายณะก็เตรียมจะเดินทางกลับไปยังเรือน […]
คัมภีร์ภควทฺคีตา
คัมภัร์ภควทฺคีตา • กฤษฺณไทฺวปายนวฺยาส [ปริวรรต: เกียรติขจร ชัยเธียร] คัมภีร์ภควทคีตาฉบับนี้สามารถดาวโหลดได้ที่ http://www.thungyai.org/_jayadhira/Books/BhagavadGita/Bhagavad-Gita.pdf ทั้งนี้ทั้งนั้นผมต้องขอบพระคุณท่านผู้ทำการแปลและนำมาเผยแพร่ โดยมีข้อแม้ที่ว่า สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๔๗ สำนวนฉบับแปลโดยผู้แปล ห้ามเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ *************************************************** คัมภีร์ “ศรีมทฺภควทฺคีตา” ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวได้ว่าเป็นอุปนิษทฺหนึ่งของฮินดู ที่ปัจจุบันยังไม่อาจได้ข้อยุติว่ารจนามาแต่ครั้งกาลใด. แต่สาระสำคัญนั้นอยู่ที่เนื้อหาที่รจนาไว้เหมือนสูตรที่รวบรวมปรัชญาฮินดู โยคะไว้ทั้งหมด. คนไทยโดยมากได้แต่รับรู้ว่าเป็นคำสนธนาระหว่างศรีกฤษฺณกับศรีอรชุนผ่านการ เล่าเรื่องของสญฺชย (มหาดเล็กของท้าวธฤฺตราษฺฏฺรที่มีพระเนตรบอดจึงมอบดวงตาทิพย์แก่สญฺชยเพื่อ ให้บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆให้ฟัง) ก่อนการเริ่มต้นสงครามมหาภารต ณ ทุ่งกุรุเกฺษตร โดยน้อยคนนักจะได้เคยอ่านโศฺลกต้นฉบับจริงๆว่ามีเนื้อหาอย่างไร. ความจริงแล้วเนื้อหาในคำภีร์ภควทฺคีตาทั้งหมดรจนาขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยทั้งสิ้น (หากเทียบของพุทธก็คงจะเทียบได้กับภาวะของพุทธองค์ขณะบำเพ็ญเพียรเพื่อเอาชนะมาร (มารวิชย) ก่อนที่พุทธองค์จะบรรลุนิพาน). ดังนั้นหากเราตัดความคิดในเชิงปุราณวิทยาที่เคยรับรู้มาเกี่ยวกับคำภีร์นี้ทิ้งไป จะเห็นสัจธรรมของปรัชญาฮินดูว่าลุ่มลึกและกว้างขวางมากมายอย่างเหลือคณา. จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมนักคิดนักเขียนของตะวันตกที่มีชื่อเสียงหลายๆคน ต่างได้รับอิทธิพลจากการอ่านคัมภีร์นี้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Herman Hesse, Friedrich Nietzsche, Leo Tolstoy, […]
ภารตนาฏยัม
ภารตนาฏยัมคืออะไร ภารตนาฏยัม (भरतनाट्यम्) ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น ศิลปะการร้องเพลงและเต็นรำ เป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กัน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ในแต่ละชนชาติและลักษณะที่เป็นสากลทั้งหลาย โดยธรรมชาติ และธรรมชาติคือ ครูที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงที่สุดของมนุษย์ เป็นผู้สนให้มนุษย์ รู้จักการจังหวะ และความไพเราะ ดังเช่น เสียงของลม เสียงของสายฝน เสียงของน้ำไหล ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นจังหวะดนตรี และดนตรีในที่สุด สัญนิฐานว่า ณ เวลาที่ดนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ในทันทีการเต็นรำก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย โดยการเต้นรำที่พัฒนาในแต่ละท้องถิ่น นั้นคือการเต้นรำส่วนการเต็นรำที่ถือได้ว่ามีแบบแผน และเป็นนาฏศิลป์ร่วมสมัย นั้นคือ […]