Samayapuram Mariamman Songs
ศฺรี ลกฺษมี ชยนฺตี – ปงฺคุนิ อุตฺติรมฺ
“ศฺรี ลกฺษมี ชยนฺตี – ปงฺคุนิ อุตฺติรมฺ” (มีนา อุตฺตร ผาลฺคุนี)” ชย ศรีมนฺนารายณ! “ปังคุนิ อุตติรัม” เป็นวันสำคัญทางศาสนาของศาสนิกชนชาวฮินดู โดยเฉพาะชาวทมิฬในอินเดียทางตอนใต้ ปังคุนิ อุตติรัม เป็นวันที่เชื่อกันว่าพระศรีลักษมีทรงปรากฏขึ้นจากการกวนทะเลน้ำนมเกษียรสมุทร ซึ่งเชื่อกันว่าในช่วงเวลาขณะนั้นพระจันทร์ปรากฏอยู่ในดิถี ปุรณิมา(คืนจันทร์เพ็ญ)อีกทั้งยังปรากฏ”กลุ่มดาวนักษัตร อุตตระ ผาลคุนี”อีกด้วย ซึ่งเหตุการนี้เกิดขึ้นในเดือน”ปังคุนิ” ซึ่งเป็นชื่อเดือนลำดับที่ 12 (ลำดับสุดท้าย)ของปฏิทินตามระบบสูรยคติของชาวทมิฬ (ชื่อเดือน”ปังคุนิ”ตรงกับชื่อเดือน”ผาลคุนะ”ในภาษาสันสกฤต) ตามความเชื่อของศรีไวษณวะ ศรีสัมประทายะ ปาญจาราตราคมะ […]
อาฏิมาสัม สำคัญยังไง
“อาฏิมาสัม-เดือนทมิฬตามปฏิทินสูรยคติ!!!”สำคัญยังไง? ทำไมต้องมู?????ชัย ศรีมันนารายณะ!… ในปีปัจจุบันนี้ เวลาก็ได้ล่วงเลยมาจนถึงครึ่งปีหลังแล้ว ในครึ่งเดือนแรกของครึ่งปีหลังก็ กาลของเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์และการอุทิศตน อันมีความสำคัญยิ่งต่อทุกนิกายและสายสัมประทายะ นั่นคือช่วง…”อาฏิมาสัม”… ก็ได้กลับมาเยือนอีกครา..ในช่วงอาฏิมาสัมนี่ ผู้ศรัทธาทุกหมู่เหล่าทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยของเราก็ต่างเฝ้ารอที่จะได้ทำการบูชาและอุทิศตนต่อพระเป็นเจ้าผู้เป็นที่รักในรูปนามต่าง ๆ ที่ตนศรัทธากันแต่แล้วทำไม? เพราะอะไร? เดือน”อาฏิ”ถึงได้สำคัญนัก และเดือนนี้มีความพิเศษยังไง? แล้วมีอะไรต้องทราบบ้างเกี่ยวกับอาฏิมาสัม? ติดตามแต่ละหัวข้อได้ ในบทความนี้เลยยยย!…○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○…”อาฏิมาสัม – #Ādi_Māsam“…ในบรรดาเดือนทั้งสิบสองเดือนตามปฏิทินแบบสูรยคติของชาวทมิฬนั้น เดือน”อาฏิ”นับเป็นเดือนลำดับที่ 4 และหากนับตามปฏิทินสากลแล้ว จะเข้าสู่ช่วงเดือนอาฏิมาสัมประมาณช่วงกลางเดือนกรกฏาคมและจะไปสิ้นสุดลงในช่วงกลางเดือนสิงหาคมแม้ว่าในคัมภีร์อาคมะและบทประพันธ์ศักดิ์สิทธิ์”ติรุมุไร”ของชาวทมิฬจะไม่ได้กล่าวถึงความโดดเด่น หรือ กำเนิด ความเป็นมาและความสำคัญของเดือนอาฏิไว้โดยตรง ไม่เหมือนเช่นเดือน”จิตติไร”ที่ถูกนับเป็นช่วงปีใหม่ และเดือน”ไท”ที่เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ยังไงก็ตามชนชาวทมิฬก็ยังเฉลิมฉลองและทำการอุทิศตนเพื่อการบูชาปรนนิบัติพระเป็นเจ้าในเดือนนี้อย่างเสมอมา…เพราะเดือน […]
การอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร ในลลิโตปาขยานะส่วนหนึ่งของพรหมาณฑะมหาปุราณะ
เทวปกรณ์การอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร หรือ พระพิฆเนศวร ที่ชาวไทยรู้จักกันนั้นมีมากมายหลายตำนานตามคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ทั้งนี้ผมจะขอยกตำนานที่ผู้คนมิค่อยทราบกันเสียเท่าไร และไม่มีกล่าวถึงในประเทศไทยเลย คือ ตำนานการอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร ในลลิโตปาขยานะ (Lalitopakhyana) ส่วนหนึ่งของพรหมาณฑะมหาปุราณะ (Brahmanda Mahapurana)ในการนี้จะขอเริ่มกล่าวจาก ในช่วงสงครามของ พระลลิตามพิกา (Lalitambika) และ ภัณฑาสุระ (Bhandasura) หลังจากพระบาลามพิกา (Balambika) พระธิดาของพระลลิตา ตริปุรสุนทรี ทรงสังหารซึ่งโอรสทั้ง 30ตนของภัณฑะลงแล้ว ภัณฑะได้ส่งอสูรนาม วิศุกระ(Vishukra)สู่สนามรบ ภายใต้ความมืดของราตรีกาล วิศุกระได้จัดพิธีลึกลับขึ้นที่สนามรบ ด้วยการสถาปนายันตระลึกลับและการใช้มนตร์ดำ […]
เหตุใดพระเทวีจึงประทับบนร่างแห่งเทพบุรุษทั้งห้า?
ในภาพหรือบางประติมากรรมของ พระลลิตามพิกา หรือ โษฑศี และพระกาลี เราอาจพบเห็นพระเทวีประทับบนร่างของเทพทั้งห้า ซึ่งเรียกว่า ปัญจเปรตาสนะ (पंचप्रेतासन/Panchapretasana) (อาสนะร่างอันไร้วิญญาณทั้งห้า) ซึ่งคือ ปัญจพรหมะ (पंचब्रह्म/Panchabrahma) (เทพสูงสุด หรือ ความจริงสูงสุดทั้งห้า) คือ พรหมา(ब्रह्मा/Brahma),วิษณุ(विष्णु/Vishnu),อีศวร(ईश्वर/Eshwara),รุทระ(रुद्र/Rudra) และ สทาศิวะ (सदाशिव/Sadashiva) หรือ สัทโยชาตะ(सद्योजात/Sadyojata),วามเทพ(वामदेव/Vamadeva),ตัตปุรุษะ(तत्पुरुष/Tatpurusha),อโฆระ(अघोर/Aghora) และ อีศานะ(ईशान/Eshana) ซึ่งเป็นรูปและพระพักตร์ทั้งห้าของพระศิวะ ซึ่งบ้างปรากฏเป็นรูปและคุณที่ต่างกันทั้งห้า และบ้างปรากฏเป็นใบหน้าอันมีวรรณะอันต่างกันของพระศิวะและบ้างว่า พรหมา คือ […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6
ส่วนหนึ่งของบทโศลกอันงดงาม อันกล่าวถึงความงดงามของพระพักตร์แห่งพระเทวี จากบท ศรี ลลิตา สหัสรนามะ (พันนามพระลลิตา)วทนสฺมร มางฺคลฺย-คฺฤหโตรณ จิลฺลิกา।วกฺตฺรลกฺษมี ปรีวาห จลนฺมีนาภ-โลจนา॥#คำอ่านวะทะนัสมะระ มางคัลยะ คฤหะโตระณะ จิลลิกาวักตระลักษมี ปะรีวาหะ จะลันมีนาภะโลจะนา#คำแปลพระนางผู้ทรงมีพระขนง(คิ้ว)ดังประตูทางเข้าสู่คฤห(เรือนที่อาศัย)แห่งความงามแลความมงคลบนพระพักตร์อันทรงเสน่ห์.พระนางผู้ทรงมีดวงเนตรดุจดังมัจฉาอันงดงามซึ่งแวกว่ายบนกระแสแห่งความงดงามบนพระพักตร์.-ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6แปลโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ(กิตติกร อินทรักษา)
ปัญจพาณะ รหัสยะ (ความลับของลูกศรทั้งห้า)
มโนรูเปกฺษุโกทณฺฑา ปญฺจตนฺมาตฺรศายกา।( มโนรูเปกษุโกทัณฑา ปัญจะตันมาตระ ศายะกา)ข้อความข้างต้นคือ บาทแรกของ ศรีลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่3 ซึ่งมีความหมายดังนี้พระนางผู้ทรงเกาทัณฑ์อ้อยอันเป็นรูปของจิตใจ พระนางผู้ทรงลูกกุทัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้าอันปัญจตันมาตระ พาณะ หรือ ลูกศรอันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า ของพระลลิตา ปรเมศวรี คัมภีร์ตันตระหลายเล่มก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างกล่าวว่า ลูกศรทั้งห้าเป็นองค์แทนของจิตสัมผัสทั้งห้าได้แก่สปรรศะ (สัมผัส)รูปรสคัณธะ(กลิ่น) และศัพทะ (เสียง) บ้างว่า ลูกเกาทัณฑ์ทั้งห้าเป็นองค์แทนของมหาปัญจภูต หรือ ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ปฤถวี (ดิน),ชล(น้ำ),วายุ(ลม),อัคนี(ไฟ) และอากาศส่วนคัมภีร์ชญานารนวะ ตันตระ […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 94
บทโศลกอันกล่าวถึงพระเทวีในฐานะมารดาของพระกุมารสวามี (ขันทกุมาร) และพระพิฆเนศ จาก ศรี ลลิตา สหัสรนามกุมาร-คณนาถามฺพา ตุษฺฏิะ ปุษฏิรฺ มติรฺ ธฤติะ।ศานฺติะ สฺวสฺติมตี กานฺติร นนฺทินี วิฆฺนนาศินี॥#คำอ่านกุมาระ-คะณะนาถามพา ตุษฏิห์ ปุษฏิร มะติร ธฤติห์ศานติห์ สวัสติมะตี กานติร นันทินี วิฆนะนาศินี#อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียกุมาระ-กห์ะณะนาถามบา ตุชติฮิ ปุชติร มะติร ธริติฮิชานติฮิ สฺวัสติมะตี กานติร นันดินี […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 54-57
มหารูปา มหาปูชฺยา มหาปาตะกะนาศินีมหามายา มหาสัตวา มหาศักติร-มหาระติฮิพระนางพระผู้ทรงรูปอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงความน่าเคารพนับถือยิ่ง พระนางผู้ทรงขจัดซึ่งบาปหนาทั้งปวงพระมหามายา พระมหาสัตว์ พระผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ พระนางผู้ทรงมหาฤดี.มหาโภคา มไหศฺวรรยาร-มหาวีรยาร-มหาพะลามหาพุทธิร-มหาสิทธิร-มหาโยเคศวะเรศวะรีพระนางผู้ทรงทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงมหาไอศูรย์ (อำนาจและสมบัติ) พระนางผู้ทรงความองอาจยิ่ง พระผู้ทรงมหาพล (พลกำลังอันยิ่งใหญ่)พระมหาพุทธิ (ผู้ทรงปัญญายิ่ง) พระมหาสิทธิ (ความสำเร็จ) พระนางผู้ทรงเป็นเจ้าเหนือมหาโยคีทั้งปวง.มหาตันตรา มหามันตรา มหายันตรา มหาสะนามหายาคะกระมาราธยา มหาไภระวะปูชิตาพระนางผู้ทรงเป็นมหาตันตระ พระนางผู้ทรงเป็นมหามนตร์ พระผู้ทรงมหายันต์ พระผู้ทรงอาวุโสยิ่งพระผู้ทรงเป็นรูปแบบแห่งยาคะ พระนางผู้ทรงได้รับการบูชาจากพระมหาไภรพ.มะเหศวะระ-มหากัลปะ-มหาตาณฑวะสากษิณีมหากาเมศะมหิษี มหาตริปุระสุนทะรีพระนางผู้ทรงเป็นสักขีพยานต่อการร่ายรำด้วยท่วงท่าอันรุนแรง(ตาณฑวะ) แห่งพระมเหศวร […]
กาตตะวะรายัน
กาตตะวะรายัน (காத்தவராயன்/Kathavarayan) ท่านเป็นหนึ่งในเทพผู้พิทักษ์ชุมชนของชาวตมิฬ ซึ่งในภาษาตมิฬเรียกว่า กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval deivam) หรือ ครามะ เทวตา (ग्रामदेवता/Grama Devata) ในภาษาสันสกฤต แต่ท่านเป็นเพียงเทพผู้พิทักษ์ชุมชน ของบางหมู่บ้านเท่านั้น และไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร อย่างมุนีศวรัน และกรุปปัณณะซามิที่สักการะกันอย่างแพร่หลาย (ผมเองไปถามชาวตมิฬบางคนก็ไม่รู้จัก ก็มี) กาตตะวะรายัน นับถือเป็นบุตรและผู้อารักขาของพระกามากษี (காமாட்சி/Kamakshi) หรือ พระอุมา ในรูปของเจ้าแม่ต่างๆ ที่เรียกโดยรวมๆว่า อัมมัน […]