Samayapuram Mariamman Songs

เกร็ดความรู้

พระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย

พระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย การพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย นั้นเป็น พิธีสองพิธีต่อกัน คือ พิธีตรียัมปวายกับพิธีตรีปวาย พิธีตรียัมปวายเป็นพิธีฝ่ายพระอิศวร ส่วนพิธีตรีปวายเป็นพิธีฝ่ายพระนารายณ์ ซึ่งได้กระทำติดต่อกันไป แบ่งการพระราชพิธีออกเป็นสามขั้นตอน ตอนแรก เป็นพิธี เปิดประตูศิวาลัยไกรลาส อัญเชิญเทพเจ้าลงสู่มนุษย์โลก เพื่อทรงประทานพร จากนั้นเป็นพิธีโล้ชิงช้าของนาลิวัน เพื่อหยั่งความมั่นคงของโลกว่าจะมีความแข็งแรงทนทานดีอยู่หรือไม่ ตอนที่สอง เป็นกรรมพิธีของพราหมณ์ กล่าวสรรเสริญเทพเจ้า ถวายข้าวตอก ดอกไม้ เครื่องกระยาบวช โภชนาแก่เทพเจ้า สิ่งเหล่านี้เป็นอาหารทิพย์ เมื่อถวายแด่องค์เทพเจ้าแล้ว จะได้นำมาแจกจ่ายแก่มวลมนุษย์เพื่อความสวัสดิมงคลแก่ผู้บริโภค ตอนที่สาม เป็นกรรมพิธีสรงน้ำเทพเจ้า เสร็จแล้วอัญเชิญสู่หงส์ ซึ่งเป็นพาหนะที่นำองค์เทพเจ้า กลับคืนสู่วิมาน ตอนนี้เรียกว่า “กล่อมหงส์” หรือ “ช้าหงส์” ประวัติความเป็นมาของพระราชพิธี ตรียัมปวาย ชื่อพิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้ของอินเดีย กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า กระทำในเดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ ตอนเช้า และ ขึ้น ๙ ค่ำ ตอนเย็น คำตรียัมปวายนี้ นัยว่าเป็นคำเลือนมาจากภาษาทมิฬว่า […]

เรื่องทั่วไป

ร่วมบุญปูพื้นกระเบื้องโรงทาน วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี

 ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ร่วมบุญปูพื้นกระเบื้องโรงทาน วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการก่อสร้างและยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก  ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ตามจิตศรัทธา  ร่วมบุญ ๕๐๐ บาท ขึ้นไป ทางวัดขอมอบเหรียญองค์พระพิฆเนศ ซึ่งผ่านพิธีเทวาภิเษกหลายวาระให้หนึ่งเหรียญ มีจำนวนจำกัด ร่วมบุญได้ที่  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 055-1-82178-9 ไกรวัล คลองแห้ง/กรินทร์ทยาวัต จิตจำนงค์/ สมชาย ยวงลำใย  ธนาคารกสิกรไทย 071-1-31162-9 ไกรวัล คลองแห้ง/กรินทร์ทยาวัต จิตจำนงค์/ สมชาย ยวงลำใย  ขออนุโมทนาบุญนี้แด่ผู้มีบุญทุกท่านครับ อานิสงส์ 10 ประการ ของการทำโรงทาน 1. ไม่อดหรือขาดเเคลนอาหารการกินตลอดชีวิตในปัจจุบันเเละภพหน้า (สร้างเหตุใดย่อมได้เหตุนั้น) 2. มีผู้อุปถัมภ์เรื่องอาหารเสมอ (สร้างเหตุใดย่อมได้เหตุนั้น) 3. เป็นผู้ไม่ตระหนีในทรัพย์อันเป็นบ่อเกิดให้ความโลภเบาบาง (จิตโลภเบาบางยิ่งให้ก็ยิ่งไม่อยาก) 4. เป็นผู้บริบูรณ์สมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์คือทรัพย์ที่ต้องใช้สอยในปัจจุบัน 5.ไม่เป็นคนยากเเคลนยากจนในชีวิต (ผู้ให้ทานย่อมได้โภคทรัพย์) 6. เป็นผู้เจริญรุ่งเรืองในการประอาชีพ (บุญคือความสำเร็จ) 7. มีความสุขเกิดขึ้นจากการเสียสละ (บุญจากการชนะใจตัวเอง) 8. สำเร็จได้ตามปรารถนา (บุญย่อมส่งผลตามที่เราต้องการจริง) 9. […]

เรื่องทั่วไป

ขอเรียนเชิญร่วมพิธี คเณศ จตุรถี

ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมพิธี   วันประสูติพระพิฆเณศ ณ วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี (วัดแขกมวกเหล็ก)ทอ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี  วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2565 กำหนดการ เวลา ๘.๑๙ น. เริ่มประกอบพิธี คเณศ จตุรถี -พิธี บูชาครู (กูรูปูจา) -พิธี บูชาขอความสำเร็จแด่องค์พระพิคเณศ (วิกเณศวาราปูจา) -พิธี บูชาแสงสว่างดวงประทีบ (ดีปาลักษมีปูจา) -พิธี ปุณยากาวาจาณัม (กุมบา วรุณาปูจา) -พิธี ปัญจควยัม -พิธี สุทธิความบริสุทธิ์ ชำระมณฑลพิธี -พิธี มหากุมบามหาคณปติสถาปนา บูชา อัญเชิญองค์มหาพิคเณศสู่มณฑนพิธี -พิธี สังข์สถาปนาบูชา (พิธีบูชามหาสังข์ ๑๐๘ ขอน) -พิธี มหาคณปติ โหมัม (พิธีบูชาไฟถวายแด่องค์พระพิคเณศ) -พิธี มหาอบิเชกรัม (พิธีสรงน้ำมงคลต่างๆแด่องค์พระพิคเณศ) -พิธี กุมบาอบิเชกรัม (พิธีสรงน้ำพระพิคเณศด้วยน้ำจากกาลาซัม) -พิธี […]

เกร็ดความรู้

พราหมณ์ไทยมาจากไหน ตามไปสืบค้นร่องรอยที่อินเดีย l ประวัติศาสตร์นอกตำรา Ep.16

ขอขอบพระคุณ “ประวัติศาสตร์ นอกตำรา” ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเผยแพร่ Share via: Facebook Twitter LinkedIn Copy Link Print More

เกร็ดความรู้

“โกยิล” เทวสถานอันยิ่งใหญ่ แห่งอินเดียใต้ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.138

ขอขอบพระคุณ “ประวัติศาสตร์ นอกตำรา” ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเผยแพร่ Share via: Facebook Twitter LinkedIn Copy Link Print More

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ปัญจพาณะ รหัสยะ

ความลับของลูกศรทั้งห้า มโนรูเปกฺษุโกทณฺฑา ปญฺจตนฺมาตฺรศายกา। ( มโนรูเปกษุโกทัณฑา ปัญจะตันมาตระ ศายะกา) ข้อความข้างต้นคือ บาทแรกของ ศรีลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่3 ซึ่งมีความหมายดังนี้ พระนางผู้ทรงเกาทัณฑ์อ้อยอันเป็นรูปของจิตใจ พระนางผู้ทรงลูกกุทัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า อันปัญจตันมาตระ พาณะ หรือ ลูกศรอันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า ของพระลลิตา ปรเมศวรี คัมภีร์ตันตระหลายเล่มก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างกล่าวว่า ลูกศรทั้งห้าเป็นองค์แทนของจิตสัมผัสทั้งห้าได้แก่ สปรรศะ (สัมผัส) รูป รส คัณธะ(กลิ่น) และศัพทะ (เสียง) บ้างว่า ลูกเกาทัณฑ์ทั้งห้าเป็นองค์แทนของมหาปัญจภูต หรือ ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ปฤถวี (ดิน),ชล(น้ำ),วายุ(ลม),อัคนี(ไฟ) และอากาศ ส่วนคัมภีร์ชญานารนวะ ตันตระ กล่าวว่า ลูกกุทัณฑ์ทั้งห้านั้นเป็นองค์แทนของ กโษภณะ (การเร้าอารมณ์) ทราวณะ (ความเวทนา) อากรรษณะ (การจูงใจ) วาสยะ (การอ่อนน้อมถ่อมตน,การเชื่อฟัง) และ อุนมธะ (ความลุ่มหลงมัวเมา) ทางด้านคัมภีร์ตันตระ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

นักปรัชญา และชคัทคุรุทั้งสามจากอินเดียตอนใต้

1.อาทิ ศังกราจารย์ ชคัทคุรุ ศรี อาทิ ศังกราจารย์ (जगद्गुरु श्री आदि शङ्कराचार्य/Jagad Guru Shri Adi Shankaracharya) ท่านถือกำเนิดขึ้นที่แคว้นเจระ (ปัจจุบันคือ เกรละ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ท่านเป็นผู้เผยแพร่หลักปรัชญาอัทไวตะ เวทานตะ (अद्वैत वेदान्त/Advaita Vedanta) ซึ่งกล่าวถึง พรหมัน เป็นความจริงแท้ ความจริงหนึ่งเดียวสูงสุด ไร้รูป ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลเป็นเพียงมายาของพรหมัน กล่าวกันว่า ชคัทคุรุ ศรีอาทิ ศังกราจารย์นั้นเป็นอวตารของพระทักษิณามูรติ (श्रीदक्षिणामूर्ति/Shri Dakshinamurti) หรือ พระศิวะในภาคของปรมคุรุ (บรมครู)(ภาพที่ปรากฏอยู่ในโคปุรัมทางเข้าวัดแขกสีลม) และอยู่ในโลกนี้เพียงแค่ 32ชันษา เท่านั้น ก็บรรลุนิรวาณ ซึ่งท่านนั้นได้เข้าบวชเป็นสันยาสี ตั้งแต่มีอายุเพียง 8ชันษา. 2.รามานุชาจารย์ ชคัทคุรุ ศรี รามานุชาจารย์ (जगद्गुरु श्री रामानुजाचार्य/Shri Ramanujacharya) ท่านถือกำเนิดที่ ติรุเปรุมบุดูร […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ศรี รามานุชาจารย์ – Shri Ramanujacharya

ท่านรามานุชะ (रामानुज/Ramanuja) หรือ รามานุจัร (ராமானுஜர்/Ramanujar)ในสำเนียงเรียกของชาวตมิฬ เดิมนามว่า อิไลยาฬวาร (இளையாழ்வார்/Ilaiyazhvar) ท่านกำเนิดที่ ศรีเปรุมบุดูร (ஸ்ரீபெரும்புதூர்/Sriperumbudur) ในสมัยเยาว์วัยท่านได้ศึกษาปรัชญาเวทานตะกับอาจารย์ ยาทวประกาศ (यादव प्रकाश/யாதவ பிரகாசர்/Yadava Prakasha) ที่กาญจีปุรัม แต่ศึกษาอยู่ได้ไม่นานก็ทะเลาะกับอาจารย์เกี่ยวกับการตีความบางตอนในคำสอนอุปนิษัท จึงถูกขับไล่ออกจากสำนัก ท่านจึงไปอยู่กับลุงนาม มหาปูรณะ หรือ เปริยะ นัมบิ (பெரிய நம்பி /Periya Nambi) ซึ่งเป็นพี่ของมารดา ต่อมามหาปูรณะได้พาท่านไปหา ยามุนาจารย์ (यमुनाचार्य/யமுனாசார்யர்/Yamunacharya) หัวหน้าสำนักแห่งศรีรังคัม เพื่อไปอาศัยที่นั่น แม้ยามุนาจารย์เองก็ได้ทราบถึงกิตติศัพท์ความปราดเปรื่องของรามานุชะ จึงปรารถนาที่จะแต่งตั้งรามานุชะให้เป็นหัวหน้าสำนักแทนตนที่ชรามากแล้ว แต่ความปรารถนาของยามุนาจารย์ยังไม่ทันสัมฤทธิผลก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่รามานุชะจะเดินทางไปถึง ตามที่กล่าวขานกันนั้น กล่าวว่า เมื่อรามานุชะเดินทางมาถึงที่เผาศพของยามุนาจารย์ ก็ได้เห็นนิ้ว 3 นิ้วในมือขวาของยามุนาจารย์กำไว้แน่น จึงสันนิษฐานว่า ยามุนาจารย์มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าอยู่ สามประการที่ยังทำมิสำเร็จ และหนึ่งในนั้นคือ การปรารถนาที่จะรจนาอรรถกถาพรหมสูตรที่ถูกต้องขึ้นมา ต่อมารามานุชะช่วยสนองความปรารถนาของยามุนาจารย์ได้สำเร็จ โดยได้รจนาอรรถกถาพรหมสูตรขึ้นมาฉบับหนึ่งให้นามว่า ศรีภาษยะ (श्रीभाष्य/Sri Bhashya) ตามที่กล่าวขานกันนั้น […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ความลับแห่งการอุบัติขึ้นของชคัทคุรุ ศังกร

ชคัทคุรุ ศังกร ชนมะ รหัสยะ เมื่อ 1,322 ปีก่อน เมื่อครั้นศีลธรรมเสื่อมลง อีกทั้งคัมภีร์และหลักคำสอนทางศาสนาต่างๆถูกบิดเบือน เหล่าเศราตะพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในศรุติ คือพระเวท และอุปนิษัท หรือเวทานตะ อันเป็นคัมภีร์ชั้นต้น) และสมารตะพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์สมฤติ คือ ปุราณะ และวรรณกรรมทางศาสนาต่างๆ อันเป็นคัมภีร์ชั้นรอง) ต่างเสื่อมโทรมลง เหล่าลัทธินอกระบบไวทิกะเจริญขึ้น เหล่าทวยเทพ แลฤๅษีมุนี ต่างพากันเข้าเฝ้ากราบทูลความแก่ พระศรีทักษิณามูรติ (श्री दक्षिणामूर्ति/Shri Dakshinamurti) อันทรงเป็นรูปปรากฏแห่งองค์พระศิวศังกร ในฐานะปรมคุรุ (บรมครู) อีกทั้งอาราธนาให้เสด็จอวตารลงไปเพื่อฟื้นฟูธรรมะ และจารีตต่างๆ พระองค์ทรงตอบรับคำอาราธนานั้น ขณะเดียวกัน ในภูโลก (พื้นพิภพที่เราอาศัยอยู่) ณ หมูบ้านกลาฑี แคว้นเจระ (ปัจจุบันคือ รัฐเกรละ) มีสองสามี ภรรยาใวรรณะพราหมณ์นัมบูติรี(นัมบูติรี เป็นวรรณะพราหมณ์ของชาวมลยาลิ)คู่หนึ่ง นามว่า ศิวคุรุ (शिवगुरु/ശിവഗുരു/Shivaguru) และ อารยามพา (आर्याम्बा/ആര്യാംബാ/Aryamba) เป็นผู้ภักดียิ่งต่อพระศังกร ดำรงตนอยู่อย่างสมถะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ไจตันยะ มหาประภุ

ไจตันยะ มหาประภุ (चैतन्य महाप्रभु/Chaitanya Mahaprabhu) หรือ เคาราจารย์ (गौराचार्य/Gauracharya) ท่านนั้นเป็นคุรุในเคาฑียะ ไวษณวะ (गौडीय वैष्णव/Gaudiya Vaishnava) และผู้เผยแพร่ปรัชญา อจินตยะ-เภทาเภทะ (अचिन्त्य-भेदाभेद/Achintaya-Bheda-Abheda) อันมีใจความว่า ชีวาตมันนั้นไม่แตกต่างไปจาก พรหมัน (องค์อภิวิญญาณ คือ กฤษณะ) แต่ในขณะเดียวกันก็แตกต่างกัน เคาราจารย์ ท่านสมภพเมื่อ 536 ปีที่แล้ว (ค.ศ.1486) ที่นพทวีป (नवद्वीप/नबद्वीप,Navadwip/Nabadwip) ในรัฐสุลต่านเบงกอล (ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก) โดยมีนามแต่เดิมว่า วิศวัมภร มิศระ (विश्वम्भर मिश्र/Vishvambhar Mishra) ถือกำเนิดแด่บิดาชคันนาถ มิศระ และ มารดาศจี เทวี โดยท่านได้ถือกำเนิดในวันผาลคุนี ปูรณิมา (फाल्गुनी पूर्णिमा/Phalguni Purnima) หรือ วันเพ็ญในเดือนผาลคุณี ใต้ต้นสะเดา (निम्बवृक्ष/Nimba Vriksha) ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีฉายา หรือ […]

Thaipusam Kavadi

เกร็ดความรู้ และเทวะตำนาน

พระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย

ร่วมบุญปูพื้นกระเบื้องโรงทาน วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี

ขอเรียนเชิญร่วมพิธี คเณศ จตุรถี

พราหมณ์ไทยมาจากไหน ตามไปสืบค้นร่องรอยที่อินเดีย l ประวัติศาสตร์นอกตำรา Ep.16

“โกยิล” เทวสถานอันยิ่งใหญ่ แห่งอินเดียใต้ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.138

ปัญจพาณะ รหัสยะ

นักปรัชญา และชคัทคุรุทั้งสามจากอินเดียตอนใต้

ศรี รามานุชาจารย์ – Shri Ramanujacharya

ความลับแห่งการอุบัติขึ้นของชคัทคุรุ ศังกร

ไจตันยะ มหาประภุ

ชคัทคุรุ ศรี อาทิ ศังกราจารย์

รูป และที่ประทับแห่งองค์พระวิษณุ

พระลลิตามพิกา รูปพลังอำนาจแห่งพระวิษณุผู้ตอบสนองซึ่งความสุขในวัตถุ

ความลับของลูกศรทั้งห้า

ศรี ลลิตา ธยานะ มนตระ ประถมโศลก

Tags

Share via
Copy link
Powered by Social Snap