(บทสรรเสริญ10บทแห่งพระคุรุมรุตปุราธีศะ บทที่5)
चरितविश्रुतं वामनाकृतिं परमपुरुषं यागसाधकम्।
परपदप्रदं पापनाशकं गुरुमरुत्पुराधीशमाश्रये॥
จริตวิศฺรุตํ วามนากฤติํ ปรมปุรุษํ ยาคสาธกมฺฯ
ปรปทปฺรทํ ปาปนาศกํ คุรุมรุตฺปุราธีศมาศฺรเยฯ।
คำอ่าน
จะริตะวิศรุตัม วามะนากฤติม ปะระมะปุรุษัม ยาคะสาธะกัม
ปะระปะทะ ประทัม ปาปะนาศะกัม คุรุมะรุตปุราธีศะมาศระเย
อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย
จะริตะวิชรุตัม วามะนากริติม ปะระมะปุรุชัม ยากะสาธะกัม
ปะระปะดะ ประดัม ปาปะนาชะกัม กุรุมะรุตปุราธีชะมาชระเย
คำแปล
พระผู้ทรงรูปแบบแห่งวามน (คนแคระ) ผู้ซึ่งเรื่องราวของพระองค์เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว พระบรมบุรุษ (ผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่บุรุษ) ผู้ยังให้ยาคะเสร็จสมบูรณ์
พระผู้ประทานซึ่งการหลุดพ้น ผู้ทรงทำลายซึ่งบาป
ข้าแต่พระคุรุมรุตปุราธีศ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระองค์เป็นที่พึ่ง.
หมายเหตุ
คุรุมรุตปุระ หรือ คุรุวายุปุระ หมายถึง เมืองคุรุวายูร ในเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระคุรุวายุปุราธีศ หรือ คุรุวายูรัปปัน เทวรูปพระวิษณุที่พระอุทธวะ ผู้เป็นภารดา และสหายของพระกฤษณะ ได้รับมาจากกฤษณะ ให้รักษาดูแลก่อนในสิ้นยุค ซึ่งคลื่นยักษ์จะเข้าท่วมทวารกา โดยเทวรูปนี้เป็นสิ่งที่ตกทอดมาจาก วสุเทพ และเทวกี ซึ่งในชาติก่อนๆของทั้งสอง ก็ได้ปรนนิบัติบูชาซึ่งพระปฏิมานี้ซึ่งได้รับประทานมาจากพระพรหมา ต่อมาอุทธวะ ได้อาราธนาถึงพระพฤหัสปติ ผู้เป็นคุรุ ให้นำเทวปฏิมาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไปประดิษฐานยัง ปุณยสถาน อันควรแก่การบูชา โดยมีพระวายุเทพเป็นผู้ช่วย ซึ่งองค์เทวทั้งสองได้ประดิษฐานองค์มูรติ ณ ตอนใต้ของภารตวรรษ ที่ซึ่งพระเทวะทั้งสองได้พบกับพระศิวะ กับ พระไหมวตี ซึ่งกำลังร่ายรำบูชาอยู่ซึ่งพระวิษณุ และได้รับการชี้แนะจากพระมหาเทพให้ประดิษฐาน องค์ภควาน ณ ที่แห่งนั้น โดยทรงประทานนามแด่ ปุณยสถานนั้นว่า คุรุวายุปุระ อันมาจากพระนามของเทวะทั้งสอง
ยาคะ หรือ ยัชญะ หมายถึง การสวดบูชา และการถวายเครื่องบูชาผ่านพระอัคนี.
มุรุเกศัน โควรธนธารี ทาส
(กิตติกร อินทรักษา)