เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ราหุ…ลูกกำพร้า

ได้รับคำแนะนำจากพี่ที่เคารพ ให้เขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่อง “สุริยุปราคา” ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากตนเองไม่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ครั้นจะเขียนเรื่องนี้ก็กระดากใจ เลยรับปากเขาว่าจะหาเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าแทน ดังที่หลายท่านทราบแล้ว คนโบราณท่านเล่าเรื่อง “จันทรคราส” และ “สุริยคราส” แบบปรัมปรานิทาน เป็นลักษณะบุคลาธิษฐาน เล่าปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเสมือนเป็นตัวเป็นตนอย่างคน ตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว ใน ฤคเวท มีการกล่าวถึง “สฺวรฺภานุ” (สวรฺ “สวรรค์ ท้องฟ้า” + ภานุ “แสงสว่าง หรือ พระอาทิตย์ […]

เรื่องทั่วไป

การถวายใบไม้พระคเณศและข้อห้ามตามหลักศาสนา

มีหลายท่านถามมาเรื่องการบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือ ใบไม้ทั้ง 21 ชนิด ว่าตกลงห้ามบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือบูชาได้กันแน่ ทั้งนี้ผมขอตอบตามความรู้ที่มีว่า การบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ(เรียกว่า “เอกวึศตีปตฺรปูชา” (เอกะวิมศะติปัตระปูชา)) เป็นความนิยมของบางท้องถิ่นในอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นมหาราษฏร์ ที่มีการบูชาพระคเณศอย่างแพร่หลาย และทางอินเดียใต้บางแห่ง ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป  แต่พอดีว่าหนังสือหรือข้อมูลเกี่ยวกับการบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ เป็นข้อมูลแรกๆอันหนึ่งที่เราได้รับ เกี่ยวกับการบูชาตามแบบอินเดียเราจึงได้กระทำตามๆกันว่า ซึ่ง ตามที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น การบูชาพระคเณศมักจะบูชาด้วยใบไม้สามอย่าง คือ 1.ทูรวา หรือหญ้าแพรก ซึ่งถือเป้นใบไม้ที่พระคเณศโปรดที่สุด 2.ใบศมี 3.ใบมะตูม […]

เรื่องทั่วไป

พราหมณ์ กับ บัณฑิต ต่างกันอย่างไร ?

คำว่าบัณฑิต มาจากคำสันสกฤต ว่า ปณฺฑิต (ปัณ ฑิ ตะ) แปลว่า ผู้รู้   ชาวอินเดีย ใช้คำนี้ยกย่อง ผู้รู้ รวมถึงบรรดาพราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมในวัดด้วย   คือในอินเดีย ถ้าบอกว่า พราหมณ์ เขาจะหมายถึง “ผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์” ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ที่เกิดในวรรณพราหมณ์ ดังนั้นคำนี้จึงคล้ายๆเป็นคำบอก สถานภาพของการเกิดทางสังคมมากกว่าตำแหน่งของตัว   และผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ในอินเดีย อาจประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมก็ได้ เช่น สอนหนังสือ ทำงานราชการ หรือ […]

เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

เรื่องพระตรีมูรติที่เวิร์ลเทรด

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเรื่องตรีมูรติก่อนนะครับ ตรีมูรตินั้นแปลว่า สามรูป ซึ่งมิใช่ชื่อของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ แต่เป็นทฤษฎ๊การแบ่งหน้าที่ ของเทพเจ้าสูงสุด(อีศวรหรือสคุณพรหมัน)ซึ่งในปรัชญาอินเดีย ถือว่า พระเจ้าสูงสุดนั้น ได้ปรากฏออกมาในสามลักษณธ เพื่อกระทำหน้าที่ สามอย่าง คือ สรรค์สร้าง รักษา และทำลาย คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ และพระศิวะ ตามลำดับ ตรีมูรติ จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นรูปเคารพ แบบสามองค์รวมกัน แต่จะแยกเป็นสามองค์เลยก็ได้ หรือในบางครั้ง ก็มีคการ เอารูปเคารพทั้งสามองค์มารวมเป้นองค์เดียวซึ่งปรากฏในหลายลักษณะ เช่นในอินเดียที่มีสามพระเศียร หรือพระศิวเอกบาทในไศวนิกาย […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

สุริยุปราคาแบบวงแหวน

ในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09:29:53 น. ถึง 15:05:40 น. (ตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพฯ) จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ขึ้นในโลก (โดยจุดศูนย์กลางของคราสจะอยู่ในเวลา 12:17:46 น.) แล้วข้าพเจ้าก็ได้พูดคุยกับอาจารย์ 2 ท่านที่เป็นมิตรกันว่า เราสามคนมาเขียนเรื่องอุปราคากันตามความเข้าใจของแต่ละคนเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะชนกันสักหน่อยไหม แล้วก็เป็นไปตามนั้นโดยอาจารย์เก้า (ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว) นั้นได้เขียนโพสขึ้นก่อนเป็นท่านแรก ส่วนข้าพเจ้าเองก็จะขอพูดเรื่องคราสนี้เช่นกันในอีกมิติหนึ่ง และจะพยายามเขียนให้ท่านผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์หรือวิชาโหราศาสตร์ได้เข้าใจได้ง่ายพอสังเขป […]

เทวะตำนาน

พระวิษณุทุรไค

พระวิษณุทุรไค ( ஸ்ரீ விஷ்ணு துர்க்கை ) ( Shree Vishnu Durgai) พระขนิษฐาแห่งพระวิษณุ และ ทรงเป็นพลังอำนาจแห่งพระวิษณุ กับ ตำนานการถือพรตในวันเอกาทศี ในกฤดายุคนั้นมีอสูรตนหนึ่งนามว่า มุระ (Demon Mura) มันทรงพละกำลังมาก มันได้สร้างความเดือดร้อนความวุ่นวายไปทั่วทั้งตรีภพ แม้กระทั้ง เทวราชอินทระ, พระกุเวรจอมยักษา, พระยมเทพ, พระวรุณ, พระอัคนี, พระวายุ และ คนธรรพ์ราช […]

เทวะตำนาน

กุเวร

ท้าวกุเวร หรือที่เรียกนามอีกด้วยว่า “เวสวัน” หรือ “ไพษรพน์” มีกำเนิดเป็นยักษ์และมีบริวารเป็นยักษ์ แต่เหตุใดจึงเข้าข้างฝ่ายเทวดาทุก ๆ คราวที่เทวดารบกับยักษ์? ข้อนี้ย่อมเป็นข้อฉงนของคนโดยมากแท้จริงในเรื่องรามเกียรติ์ก็มีแถลงประวัติของท้าวกุเวรแต่ในที่นั้นเรียกว่า “ท้าวกุเปรัน” จึงไม่มีใครสำเหนียกว่าเป็นตัวเดียวกันกับท้าวกุเวรรั้นเอง มีนามกลายเป็น “กุเปรัน” ไปนั้น ข้าพเจ้าสันนิฐานว่าคงเป็นไปโดยทางเดียวกับ “เซอร์ เจมส์ บรุก” กลายเป็น “ชีจำปลุ๊ก” เช่นที่กล่าวมาแล้วในคำอธิบายที่ ๑๔ กล่าวคือ พราหมณ์ผู้เป็นครูคงได้ออกนามว่า “กุเพร” ซึ่งตามสำเนียงสันสกฤตก็คล้าย “กุเบรัน” ผู้จดจึงจดลดลงตามที่ตนได้ยินแล้วเมื่อคัดลอกต่อกันมา หางตัว […]

Uncategorized

ภารตนาฏยัม

ภารตนาฏยัมคืออะไร ภารตนาฏยัม (भरतनाट्यम्) ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม   การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ   การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น […]

Uncategorized

สุทามา

ความเป็นมาของท่านสุทามามีพรรณาอยู่ในภควัตรปุราณะ ซึ่งถือเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาเล่มหนึ่งของฮินดู เรื่องมีอยู่ว่า สุทามานั้นเกิดมาในตระกูลพราหมณ์ที่ยากจน และได้มาเป็นสหายคนสนิทของพระกฤษณะ เมื่อครั้งเรียนอยู่ในอาศรมของท่านสัมทีปนี   ครั้งหนึ่ง ภรรยาของท่านสัมทีปนีได้ใช้ให้สุทามาและพระกฤษณะไปเก็บไม้ในป่า ขณะที่ทั้งสองเก็บไม้อยู่นั้น ได้มีพายุใหญ่พัดผ่านมา ทำให้ไม้ที่สะสมไว้โดนพายุพัดหายไปทั้งหมด สุทามากลัวมากพระกฤษณะจับแขนของสุทามาไว้แน่น เพื่อให้สุทามารู้สึกปลอดภัย และเมื่อพายุสงบลง พวกเขาก็พบว่า พวกครับกลับมาอยู่ที่อาศรมของท่านสัมทีปนีนั่นเอง สุทามารู้สึกโล่งใจ และขอบคุณพระกฤษณะ ท่านสัมทีปนีผู้เป็นอาจารย์จึงได้ให้พรแก่ทั้งสองว่าให้มีชีวิตยื่นยาว และมีแต่ความสงบสุข     หลังจากที่ทั้งสองเรียนจบ ทั้งสองต่างแยกย้ายไปทำตามหนทางที่ตนเองต้องการ โดยพระกฤษณะกลับไปปกครองนครทวารกา และ ทรงสยุมพรกับพระรุกขมินี(เทวีแห่งความรุ่งเรือง) ส่วนสุทามาก็แต่งงานกับนางพราหมณี และใช้ชีวิตอยู่เยี่ยงพราหมณ์ทั่วไป […]

Uncategorized

กถกฬิ

กถกฬิ เป็นหนึ่งในการแสดงที่งดงามด้วยศิลปะการร่ายรำแบบเก่าแก่ ดินแดนที่มีการแสดงกถกฬินี้ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทางตอนใต้ของคาบสมุทรข่าน บริเวณแคว้นเกรฬ และดินแดนใกล้เคียงของอินเดีย โดยคำว่า “กถกฬิ” หมายถึง การเล่นเรื่องนิยาย มาจากการสมาสของคำสองคำ คือ “กถ” เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า นิยาย และ “กฬิ” เป็นคำในภาษามลยาลัม แปลว่า การเล่น ซึ่งเรื่องที่นิยมนำมาใช้ในการแสดงกถกฬิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในรามายณะ , มหาภารตะ และเรื่องสำคัญๆในคัมภีร์ปุราณะ   การแสดง “กถกฬิ” ได้รับความนิยมจากคนทุกชนชั้นทั่วประเทศอินเดีย […]