อาตตุกาลัมมะ (ആറ്റുകാലമ്മ/Aattukalamma) ทรงเป็นรูปปรากฏหนึ่งของพระภัทรกาลี (ഭദ്രകാളി/Bhadrakali) เพื่อปราบทรราช เนฏุญเจฬิยัน แห่งมธุราปุรี ตำนานกล่าวถึง พระภัทรกาลีทรงอวตารมาในรูปมนุษย์นาม กัณณกิ (കണ്ണകി/கண்ணகி/Kannagi) เป็นธิดาเศรษฐีในย่านปูมปุหาร ปากแม่น้ำกาเวริ ในแคว้นโจฬะ และได้วิวาห์กับ โกวลัน (കോവലൻ/கோவலன்/Kovalan) ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีเช่นกัน กล่าวว่า งานวิวาห์ของทั้งสองจัดอย่างยิ่งใหญ่และเป็นที่เลื่องลือของประชาชนในเมือง ในวันวิวาห์กษัตริย์แห่งแคว้นโจฬะยังได้ทรงประทาน วลัยบาทอันบรรจุอัญมณีไว้ให้แก่โกวลันสวมให้แก่กัณณกิในวันวิวาห์ด้วย ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขจนกระทั่งงานเทศกาลบูชาพระอินทร์ในราชธานีแห่งโจฬะมาถึง ซึ่งโกวลันได้ลากัณณกิไปร่วมงานในราชธานี ในราชธานีโกวลันได้พบกับ มาธวี หรือ มาธวิ (മാധവി)மாதவி/Madhavi) คณิกาอันเป็นที่เลื่องลือในความงาม โกวลันหลงใหลในความงามของนางคณิกามาธวี และอยู่กินฉันสามีภรรยา จนกระทั่งมีธิดาหนึ่งคนนาม มณิเมขละ หรือ มณิเมขไล ในสำเนียงตมิฬ (മണിമേഖല/மணிமேகலை)(Manimekhala or Manimekalai in Tamil) ต่อมาโกวลันได้สำนึก นึกขึ้นได้ว่าตนทำผิดกับกัณณกิผู้รอคอยสามีกลับบ้านอยู่ทุกวันคืน และ นางนี้แลเป็นผู้จ่ายค่ารื่นรมย์กับมาธวีแก่เขา โดยมารดาของมาธวีนั้นเป็นผู้ไปรีดไถกับนาง แต่ทว่า กัณณกิ หาใช่ภรรยาทั่วไปไม่ นางเป็นผู้จงรักภักดีต่อภัสดาเป็นอย่างยิ่ง นางยึดถือความสุขของภัสดาคือความสุขของตน ด้วยเหตุนี้นางจึงยอมทุกอย่างเพื่อความสุขของภัสดา โกวลันสำนึกได้จึงละทิ้งมาธวีกลับไปหากัณณกิ กัณณกิมิความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นภัสดากลับมา […]
Uncategorized
เอลไล อัมมัน และ โปเลรัมมะ เจ้าแม่ผู้คุ้มครองหมู่บ้าน
เอลไล อัมมัน และ โปเลรัมมะ เจ้าแม่ผู้คุ้มครองหมู่บ้าน (Ellai Amman & Poleramma boundary Goddess) ในตมิฬนาฑุ เอลไล อัมมัน (எல்லையம்மன்/Ellai Amman) ถือ เป็นเจ้าแม่ผู้คุ้มครองดูแลเขตแดนหมู่บ้าน พระนางถือเป็นองค์เดียวกับ พระศรี เรณุกา ปรเมศวรี (ஸ்ரீ ரேணுகா பரமேஸ்வரி/Sri Renuka Parameshwari) และเกี่ยวข้องผนวกกับ มาริยัมมัน (மாரியம்மன்/Mariamman) เจ้าแม่ที่ได้รับการบูชาในหลายหมู่บ้านในท้องถิ่นตมิฬ ทรงเป็นเทวีผู้ให้การคุ้มครองชุมชน และประทานฟ้าฟน สมบูรณ์ อีกทั้งขจัดโรคภัยต่างๆ ในขณะเดียวกัน ชาวเตลุคุในรัฐอานธร ประเทศ และ เตลังคณะก็มี โปเลรัมมะ (పోలేరమ్మ/Poleramma) เป็นเจ้าแม่ผู้ให้การคุ้มครองเขตแดนหมู่บ้าน ชุมชนต่างๆ และขจัดโรคภัยไข้เจ็บ เป็นเจ้าแม่ท้องถิ่นดั้งเดิมที่ผนวกเป็อวตารพระกาลี (కాళీ/Kali) ที่ชาวเตลุคุให้การเคารพนับถือ. มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ
ภารตนาฏยัม
ภารตนาฏยัมคืออะไร ภารตนาฏยัม (भरतनाट्यम्) ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น ศิลปะการร้องเพลงและเต็นรำ เป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กัน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ในแต่ละชนชาติและลักษณะที่เป็นสากลทั้งหลาย โดยธรรมชาติ และธรรมชาติคือ ครูที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงที่สุดของมนุษย์ เป็นผู้สนให้มนุษย์ รู้จักการจังหวะ และความไพเราะ ดังเช่น เสียงของลม เสียงของสายฝน เสียงของน้ำไหล ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นจังหวะดนตรี และดนตรีในที่สุด สัญนิฐานว่า ณ เวลาที่ดนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ในทันทีการเต็นรำก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย โดยการเต้นรำที่พัฒนาในแต่ละท้องถิ่น นั้นคือการเต้นรำส่วนการเต็นรำที่ถือได้ว่ามีแบบแผน และเป็นนาฏศิลป์ร่วมสมัย นั้นคือ […]
สุทามา
ความเป็นมาของท่านสุทามามีพรรณาอยู่ในภควัตรปุราณะ ซึ่งถือเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาเล่มหนึ่งของฮินดู เรื่องมีอยู่ว่า สุทามานั้นเกิดมาในตระกูลพราหมณ์ที่ยากจน และได้มาเป็นสหายคนสนิทของพระกฤษณะ เมื่อครั้งเรียนอยู่ในอาศรมของท่านสัมทีปนี ครั้งหนึ่ง ภรรยาของท่านสัมทีปนีได้ใช้ให้สุทามาและพระกฤษณะไปเก็บไม้ในป่า ขณะที่ทั้งสองเก็บไม้อยู่นั้น ได้มีพายุใหญ่พัดผ่านมา ทำให้ไม้ที่สะสมไว้โดนพายุพัดหายไปทั้งหมด สุทามากลัวมากพระกฤษณะจับแขนของสุทามาไว้แน่น เพื่อให้สุทามารู้สึกปลอดภัย และเมื่อพายุสงบลง พวกเขาก็พบว่า พวกครับกลับมาอยู่ที่อาศรมของท่านสัมทีปนีนั่นเอง สุทามารู้สึกโล่งใจ และขอบคุณพระกฤษณะ ท่านสัมทีปนีผู้เป็นอาจารย์จึงได้ให้พรแก่ทั้งสองว่าให้มีชีวิตยื่นยาว และมีแต่ความสงบสุข หลังจากที่ทั้งสองเรียนจบ ทั้งสองต่างแยกย้ายไปทำตามหนทางที่ตนเองต้องการ โดยพระกฤษณะกลับไปปกครองนครทวารกา และ ทรงสยุมพรกับพระรุกขมินี(เทวีแห่งความรุ่งเรือง) ส่วนสุทามาก็แต่งงานกับนางพราหมณี และใช้ชีวิตอยู่เยี่ยงพราหมณ์ทั่วไป คือ สวดมนต์ อ่านพระคัมภีร์ สวดมนต์ ละทิ้งความสุขทางโลกทั้งหมด อยู่อย่างสมถะ ทำให้ทุกคนต่างรักและนับถือในตัวของสุทามาเป็นอย่างยิ่ง เขาและนางพราหมณีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข จนกระทั่งนางพราหมณีได้ให้กำเนิดลูกสองคน และด้วยความสมถะของทั้งสองทำให้ชีวิตต้องเผชิญกับภาวะยากแค้น จากที่เคยเลี้ยงตนแค่พอกินก็ต้องหาให้ลูก ทำให้อาหารที่มีก็ไม่เพียงพอ ลูกไม่มีเสื้อผ้าใส่ แม้นางพราหมณีจะเทิดทูนการปฎิบัติตนของสามีเยี่ยงใดแต่ก็ไม่คลายกังวลเรื่องลูก จนคืนวันหนึ่งอากาศหนาวมาก นางพราหมณีเห็นลูกทั้งสองไม่มีแม้ผ้าห่มให้ห่มนอน นางจึงเข้าไปคุยกับสามีอย่างอ้อนน้อม ว่า ” ท่านกับพระกฤษณะกษัตริย์แห่งทวารกาเป็นเพื่อนกันใช่หรือไม่? และ พระกฤษณะทรงเข้าพิธีสยุมพรกับพระรุกขมินี […]
กถกฬิ
กถกฬิ เป็นหนึ่งในการแสดงที่งดงามด้วยศิลปะการร่ายรำแบบเก่าแก่ ดินแดนที่มีการแสดงกถกฬินี้ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทางตอนใต้ของคาบสมุทรข่าน บริเวณแคว้นเกรฬ และดินแดนใกล้เคียงของอินเดีย โดยคำว่า “กถกฬิ” หมายถึง การเล่นเรื่องนิยาย มาจากการสมาสของคำสองคำ คือ “กถ” เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า นิยาย และ “กฬิ” เป็นคำในภาษามลยาลัม แปลว่า การเล่น ซึ่งเรื่องที่นิยมนำมาใช้ในการแสดงกถกฬิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในรามายณะ , มหาภารตะ และเรื่องสำคัญๆในคัมภีร์ปุราณะ การแสดง “กถกฬิ” ได้รับความนิยมจากคนทุกชนชั้นทั่วประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบดินแดนอินเดียทางตอนใต้ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกกถกฬิจะแสดงแต่เฉพาะในเทวสถาน หรือในราชสำนักเท่านั้น จนกระทั่งต่อมาได้รับอนุญาตให้แสดงนอกเทวสถาน เพื่อให้คนในชนชั้นอื่นๆได้มีโอกาสรับชมอย่างทั่วถึง สำหรับตัวละครสำคัญที่ปรากฏในการแสดงกถกฬิ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ จำพวก คือ ๑. สัตตวิก เป็นตัวละครที่เป็นเทพเจ้าผู้มีคุณธรรม เช่น พระนารายณ์ พระอินทร์ เป็นต้น ๒. รัชสิก เป็นตัวละครวีรบุรุษที่เป็นมนุษย์ เช่น พระราม พระลักษณ์ […]
คัมภีร์ภควทฺคีตา
คัมภัร์ภควทฺคีตา • กฤษฺณไทฺวปายนวฺยาส [ปริวรรต: เกียรติขจร ชัยเธียร] คัมภีร์ภควทคีตาฉบับนี้สามารถดาวโหลดได้ที่ http://www.thungyai.org/_jayadhira/Books/BhagavadGita/Bhagavad-Gita.pdf ทั้งนี้ทั้งนั้นผมต้องขอบพระคุณท่านผู้ทำการแปลและนำมาเผยแพร่ โดยมีข้อแม้ที่ว่า สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๔๗ สำนวนฉบับแปลโดยผู้แปล ห้ามเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ *************************************************** คัมภีร์ “ศรีมทฺภควทฺคีตา” ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวได้ว่าเป็นอุปนิษทฺหนึ่งของฮินดู ที่ปัจจุบันยังไม่อาจได้ข้อยุติว่ารจนามาแต่ครั้งกาลใด. แต่สาระสำคัญนั้นอยู่ที่เนื้อหาที่รจนาไว้เหมือนสูตรที่รวบรวมปรัชญาฮินดู โยคะไว้ทั้งหมด. คนไทยโดยมากได้แต่รับรู้ว่าเป็นคำสนธนาระหว่างศรีกฤษฺณกับศรีอรชุนผ่านการ เล่าเรื่องของสญฺชย (มหาดเล็กของท้าวธฤฺตราษฺฏฺรที่มีพระเนตรบอดจึงมอบดวงตาทิพย์แก่สญฺชยเพื่อ ให้บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆให้ฟัง) ก่อนการเริ่มต้นสงครามมหาภารต ณ ทุ่งกุรุเกฺษตร โดยน้อยคนนักจะได้เคยอ่านโศฺลกต้นฉบับจริงๆว่ามีเนื้อหาอย่างไร. ความจริงแล้วเนื้อหาในคำภีร์ภควทฺคีตาทั้งหมดรจนาขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยทั้งสิ้น (หากเทียบของพุทธก็คงจะเทียบได้กับภาวะของพุทธองค์ขณะบำเพ็ญเพียรเพื่อเอาชนะมาร (มารวิชย) ก่อนที่พุทธองค์จะบรรลุนิพาน). ดังนั้นหากเราตัดความคิดในเชิงปุราณวิทยาที่เคยรับรู้มาเกี่ยวกับคำภีร์นี้ทิ้งไป จะเห็นสัจธรรมของปรัชญาฮินดูว่าลุ่มลึกและกว้างขวางมากมายอย่างเหลือคณา. จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมนักคิดนักเขียนของตะวันตกที่มีชื่อเสียงหลายๆคน ต่างได้รับอิทธิพลจากการอ่านคัมภีร์นี้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Herman Hesse, Friedrich Nietzsche, Leo Tolstoy, […]
บทสวดสรรเสริญพระศิวะ (วิมุกโตทัย )
บทสวดสรรเสริญพระศิวะ สันสกฤต-ไทย ศรีหริทาส อนุวาทก ศรีหริทาสแปลและให้อรรถาธิบาย คำนิยมโดย พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า ตาม ที่ผู้แปลได้นำ ” วิมุกโตทัย ” มาให้ได้อ่านดูแล้ว ได้เห็นถึงความมานะและอดทน ในการแปลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคัมภีร์ในศาสนา เพื่อจะได้มีคำสวดมนต์ถึงองค์เทพต่างๆ โดยเฉพาะองค์พระศิวะเป็นเจ้า การสวดมนต์ก็เป็นบทถึงความดีของมนุษย์ ที่กระทำความดีเพื่อให้จิตใจเบิกบาน สามารถที่จะนำวิญญาณให้ไปร่วมกับความดีสูงสุด ในการสวดมนต์ ก็เป็นการฝึกกายจิต ให้มีระเบียบของชีวิตที่จะกระทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป การสวดมนต์ ถ้าทำด้วยความไม่รู้ก็จะเรียกว่า หลงทาง ทำไปด้วยเสียเวลา ไม่สามารถนำจิตใจให้สูงจนถึงความดีสูงสุด เรียกว่างมงาย จากคัมภีร์ที่นำมาเป็นหลักในการแปลก็เป็นความปรารถนาดีของผู้แปล แต่ความดีจะได้สมบูรณ์ ก็จะต้องศึกษาถึงองค์เทพ ที่ท่านมีจริยวัตรอย่างใด จึงทำให้เราสามารถรู้ถึงธรรมะในอวตารต่างๆ ขอให้ผู้แปลจงมีแต่ความสุขศานติ ขอให้ผู้อ่านจงมีสติ ขอให้ผู้สวดจงไม่งมงาย ขอให้ความดีจงมีแด่ท่านที่ได้ศึกษา โอม ศานติ พระราชครูวามเทพมุนี ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แรมสิบค่ำ เดือนสาม คำนำโดย อ.ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ ” ครู […]