ส่วนหนึ่งของบทโศลกอันงดงาม อันกล่าวถึงความงดงามของพระพักตร์แห่งพระเทวี จากบท ศรี ลลิตา สหัสรนามะ (พันนามพระลลิตา)
วทนสฺมร มางฺคลฺย-คฺฤหโตรณ จิลฺลิกา।
วกฺตฺรลกฺษมี ปรีวาห จลนฺมีนาภ-โลจนา॥
#คำอ่าน
วะทะนัสมะระ มางคัลยะ คฤหะโตระณะ จิลลิกา
วักตระลักษมี ปะรีวาหะ จะลันมีนาภะโลจะนา
#คำแปล
พระนางผู้ทรงมีพระขนง(คิ้ว)ดังประตูทางเข้าสู่คฤห(เรือนที่อาศัย)แห่งความงามแลความมงคลบนพระพักตร์อันทรงเสน่ห์.
พระนางผู้ทรงมีดวงเนตรดุจดังมัจฉาอันงดงามซึ่งแวกว่ายบนกระแสแห่งความงดงามบนพระพักตร์.
-ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6
แปลโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ
(กิตติกร อินทรักษา)
Related Articles
ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี
ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่าปาลี (पाली) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า กัลยาณะ(कल्याण – Kalyana) กับภรรยาของเขาที่มีชื่อว่าอินทุมตี (इन्दुमती – Indumati) ได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า “พัลลาฬะ (बल्लाळ – Ballal)” แล้วในวันหนึ่งพัลลาฬะซึ่งเป็นบุตรของทั้งสองนี้ ก็ได้นำเหล่าเพื่อน ๆ ของเขานั้นไปทำการบูชาโดยใช้ก้อนหินก้อนหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง ซึ่งพวกเขานั้นสมมุติให้เป็นองค์มูรติของพระเคณศ อีกทั้งพวกเขายังเพียรบูชาซึ่งมูรติของพระเคณศนี้จนลืมความหิวกระหายและจนไม่รู้วันรู้คืน (ไม่ยอมกลับบ้าน) ในช่วงนั้นเองผู้ปกครองของบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายในหมู่บ้านก็มุ่งไปยังเรือนของกัลยาณะ และทำการต่อว่าเกี่ยวกับการนำไปของพัลลาฬะเช่นนี้ […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 54-57
มหารูปา มหาปูชฺยา มหาปาตะกะนาศินีมหามายา มหาสัตวา มหาศักติร-มหาระติฮิพระนางพระผู้ทรงรูปอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงความน่าเคารพนับถือยิ่ง พระนางผู้ทรงขจัดซึ่งบาปหนาทั้งปวงพระมหามายา พระมหาสัตว์ พระผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ พระนางผู้ทรงมหาฤดี.มหาโภคา มไหศฺวรรยาร-มหาวีรยาร-มหาพะลามหาพุทธิร-มหาสิทธิร-มหาโยเคศวะเรศวะรีพระนางผู้ทรงทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงมหาไอศูรย์ (อำนาจและสมบัติ) พระนางผู้ทรงความองอาจยิ่ง พระผู้ทรงมหาพล (พลกำลังอันยิ่งใหญ่)พระมหาพุทธิ (ผู้ทรงปัญญายิ่ง) พระมหาสิทธิ (ความสำเร็จ) พระนางผู้ทรงเป็นเจ้าเหนือมหาโยคีทั้งปวง.มหาตันตรา มหามันตรา มหายันตรา มหาสะนามหายาคะกระมาราธยา มหาไภระวะปูชิตาพระนางผู้ทรงเป็นมหาตันตระ พระนางผู้ทรงเป็นมหามนตร์ พระผู้ทรงมหายันต์ พระผู้ทรงอาวุโสยิ่งพระผู้ทรงเป็นรูปแบบแห่งยาคะ พระนางผู้ทรงได้รับการบูชาจากพระมหาไภรพ.มะเหศวะระ-มหากัลปะ-มหาตาณฑวะสากษิณีมหากาเมศะมหิษี มหาตริปุระสุนทะรีพระนางผู้ทรงเป็นสักขีพยานต่อการร่ายรำด้วยท่วงท่าอันรุนแรง(ตาณฑวะ) แห่งพระมเหศวร […]
เหตุใดพระเทวีจึงประทับบนร่างแห่งเทพบุรุษทั้งห้า?
ในภาพหรือบางประติมากรรมของ พระลลิตามพิกา หรือ โษฑศี และพระกาลี เราอาจพบเห็นพระเทวีประทับบนร่างของเทพทั้งห้า ซึ่งเรียกว่า ปัญจเปรตาสนะ (पंचप्रेतासन/Panchapretasana) (อาสนะร่างอันไร้วิญญาณทั้งห้า) ซึ่งคือ ปัญจพรหมะ (पंचब्रह्म/Panchabrahma) (เทพสูงสุด หรือ ความจริงสูงสุดทั้งห้า) คือ พรหมา(ब्रह्मा/Brahma),วิษณุ(विष्णु/Vishnu),อีศวร(ईश्वर/Eshwara),รุทระ(रुद्र/Rudra) และ สทาศิวะ (सदाशिव/Sadashiva) หรือ สัทโยชาตะ(सद्योजात/Sadyojata),วามเทพ(वामदेव/Vamadeva),ตัตปุรุษะ(तत्पुरुष/Tatpurusha),อโฆระ(अघोर/Aghora) และ อีศานะ(ईशान/Eshana) ซึ่งเป็นรูปและพระพักตร์ทั้งห้าของพระศิวะ ซึ่งบ้างปรากฏเป็นรูปและคุณที่ต่างกันทั้งห้า และบ้างปรากฏเป็นใบหน้าอันมีวรรณะอันต่างกันของพระศิวะและบ้างว่า พรหมา คือ […]