มีหลายท่านถามมาเรื่องการบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือ ใบไม้ทั้ง 21 ชนิด ว่าตกลงห้ามบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือบูชาได้กันแน่
ทั้งนี้ผมขอตอบตามความรู้ที่มีว่า
การบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ(เรียกว่า “เอกวึศตีปตฺรปูชา” (เอกะวิมศะติปัตระปูชา))
เป็นความนิยมของบางท้องถิ่นในอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นมหาราษฏร์ ที่มีการบูชาพระคเณศอย่างแพร่หลาย และทางอินเดียใต้บางแห่ง ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่พอดีว่าหนังสือหรือข้อมูลเกี่ยวกับการบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ เป็นข้อมูลแรกๆอันหนึ่งที่เราได้รับ เกี่ยวกับการบูชาตามแบบอินเดียเราจึงได้กระทำตามๆกันว่า ซึ่ง
ตามที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น
การบูชาพระคเณศมักจะบูชาด้วยใบไม้สามอย่าง คือ
1.ทูรวา หรือหญ้าแพรก ซึ่งถือเป้นใบไม้ที่พระคเณศโปรดที่สุด
2.ใบศมี
3.ใบมะตูม
ส่วนใบกระเพราห้ามถวายบูชา
ผมขอยกโศลกสันสกฤตในปุราณะมาเป็นหลักฐานดังนี้
นากฺษไตรรฺจเยทฺวิษณุมฺ น ตุลสฺยา คณาธิปมฺ
น ทูรฺยา ยเชทฺ ทุรคำ วิลฺวปตฺเรศฺจ ภาสฺกรมฺ
ทิวากรํ ทุนฺตหีไนรฺวิลฺลปตฺระ สมรฺจเยตฺ“พึงจดจำไว้ว่า ไม่บูชาพระวิษณุด้วยอักษัต(ข้าวสาร/ข้าวสารย้อมด้วยผงจันทน์ที่ใช้ในพิธี) ไม่ถวายตุลสีแด่พระคณาธิปติ(พระคเณศ)
ไม่ถวายทูรวา(หญ้าแพรก)แด่พระแม่ทุรคา ไม่ถวายใบพิลวะ (มะตูม )แด่พระภาสกร (พระอาทิตย์/สุริยเทพ)”
ข้อห้ามนี้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปครับ พราหมณ์บัณฑิตทั้งหลายแห่งวัดเทพมณเฑียร ถือปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด
ข้อห้ามอื่นๆที่พึงทราบและปฏิบัตินะครับ ขอยกโศลกสันสกฤตมาดังนี้
คฤเห ลิงฺคทฺวยํ นารฺจฺยํ คเณศตฺริตยํ ตถา
ศงฺขทฺวยํ ตถา สูรฺโย นารฺจฺยํ ศกฺติตฺรยํ ตถา
ทฺเว จกฺเร ทฺวารกายาสฺตุ ศาลครามศิลาทฺวยมฺ
เตษำ ตุ ปูชเนไนว อุทเวคํ ปฺราปฺนุยาทฺ คฤหีในบ้านไม่พึงบูชา พระศิวลึงค์สององค์ และ พระคเณศสามองค์
สังข์ 2 ขอน พระอาทิตย์ 2 องค์ พระแม่ศักติ 3 องค์
จักร 2 องค์ หินทวารกาศิลา 2องค์ และพระศาลิครามศิลา 2 องค์
คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ผู้ไม่ปฏิบัติตามนี้ ย่อมได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
(กฏนี้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนต้องปฏิบัติตามเว้นแต่นักบวช คือ สันยาสีไม่ต้องถือปฏิบัติตามนี้)
อีกกฏที่สำคัญมากครับ คือกฏเรื่องการตั้งเทวรูป
คฤเห จลารฺจา วิชฺเญยา ปฺราสาเท สฺถิรสํชฺญิตา
อิตฺเยเต กถิตา มารฺคา มุนิภิะ กรฺมวิทิภิะในบ้านพึงประดิษฐานและบูชาเทวรูปที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (จลมูรติ) ในปราสาท(วัดหรือมณเฑียรสถาน)พึงประดิษฐานเทวรูปให้มั่นคง(สถิร/เคลื่อนย้ายไม่ได้) หนทางนี้ได้แสดงไว้โดยบรรดามุนีทั้งหลายผู้ทรงความรู้ในกรรม(วิธีปฏิบัติ)
นอกจากนี้เทวรูปในบ้านไม่ควรใหญ่เกินไป บางตำราว่า เกินหนึ่งศอกของเจ้าของ อันนี้ขอไปค้นก่อนนะครับ แต่ถือกันว่าเทวรูปในบ้านถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญได้เช่นเดียวกัน