เทวะตำนาน

ติลไล กาลิอัมมัน

ติลไล กาลิอัมมัน (தில்லை காளியம்மன்/Thillai Kali Amman) หรือ พรหม จามุณฑีศวรี (பிரம்ம சாமுண்டீஸ்வரி/Brahma Chamundeshwari) เป็น เทวีท้องถิ่นองค์หนึ่ง ใน เมืองติลไล (தில்லை/Thillai) หรือ จิทัมพะรัม (சிதம்பரம்/Chidambaram) เทวสถานของพระนาง มีอายุราว 1000 – 2000 ปี

ตำนานกล่าวถึงเมื่อครั้ง พระศิวะ และ พระนางศิวกามสุนทรี ได้แข่งกันร่ายรำ การแข่งขันดำเนินจนถึง ท่าที่พระศิวะ ยกพระบาทขึ้นถึง ระดับพระเศียร แต่ พระนางศิวกามสุนทรี มิสามารถทำตามได้ จึงทำให้พระนางพิโรธจากการพ่ายแพ้ จึงปรากฏองค์ ในรูป อุคระกาลี (กาลีผู้ดุร้าย)
พระพรหมา เกรงว่า ความพิโรธของพระนางจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ จึงปรากฏองค์ต่อเบื้องพระพักตร์พระอัมพิกา และ กล่าวสรรเสริญต่อพระนาง ยกพระนางเป็น เวท นายกี (นายิกา แห่ง พระเวท) และ ภาวนาต่อพระเทวี ให้ปรากฏองค์ในฐานะ เวท นายกี
พระเทวี ทรงตอบรำคำขอ ของ พระพรหมา จึงปรากฏรูป ดังพรหม คือ มีสี่พระพักตร์ อันหมายถึง พระเวททั้งสี่ ปรากฏทรรศนะ ต่อพระพรหม และ เทวทั้งหลาย

มีอีกตำนานหนึ่ง เล่าไปอีกแบบว่า พระศิวะ และ พระนางปารวตี ทรงร่ายรำกันบนเขาไกลาส แต่เมื่อพระศิวะ ดำเนินถึงท่าดังกล่าว พระเทวีมิอาจทำตาม หรือ หาท่วงท่าที่เข้ากันได้ ทำให้พระนางทรงกริ้ว ทรงต่อว่า พระมหาเทวะด้วยโทษะ พระศิว ทรงพิโรธ สาปแช่งพระนางให้ปรากฏรูป ที่ดุร้ายน่ากลัว คือ อุคระกาลี เมื่อเหล่าเทวดา,นางอัปสร และ ภูตคณะ เห็นเช่นนั้นจึงพากันหนี พระนางทรงตกพระทัย และขอประทานอภัยแด่พระศิวะ พระศิวะจึงให้ พระนางกาลี คอยปกป้อง พระอินทร์,คณะเทวดา,มุนีทั้งปวง,มนุษย์ และ สรรพสัตว์ทั้งหลาย จากรากษสผู้ดุร้าย เมื่อสำเร็จภาระกิจ จึงให้ พระเทวี ไปพบพระองค์ ที่ ป่าติลไล พร้อมทั้ง ปตัญชลี มุนี และ วยาฆบาท ณ ที่แห่งนั้น พระองค์ทรงนิมิต สุวรรณศาลาขึ้น และ ประทานรูปอันงดงามดังเดิม แก่ พระเทวี และ ประทานนามว่า ศิวกามสุนทรี และ ร่ายรำกันอย่างมีความสุข
พระศิวะ ทรงตั้งพระนามให้สถานที่นี้ใหม่ว่า จิทัมพะรัม (சிதம்பரம்/Chidambaram) อันมาจากคำในภาษาสันสกฤตสองคำ คือ จิต และ อัมพร จิทัมพร จึงหมายถึง มีจิตเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือ การไม่ยึดติดในวัตถุ การเป็นหนึ่งเดียวกับจิต.

อ้างอิง http://temple.dinamalar.com/New.php?id=61

มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ
(กิตติกร อินทรักษา)