อาตตุกาลัมมะ (ആറ്റുകാലമ്മ/Aattukalamma) ทรงเป็นรูปปรากฏหนึ่งของพระภัทรกาลี (ഭദ്രകാളി/Bhadrakali) เพื่อปราบทรราช เนฏุญเจฬิยัน แห่งมธุราปุรี ตำนานกล่าวถึง พระภัทรกาลีทรงอวตารมาในรูปมนุษย์นาม กัณณกิ (കണ്ണകി/கண்ணகி/Kannagi) เป็นธิดาเศรษฐีในย่านปูมปุหาร ปากแม่น้ำกาเวริ ในแคว้นโจฬะ และได้วิวาห์กับ โกวลัน (കോവലൻ/கோவலன்/Kovalan) ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีเช่นกัน กล่าวว่า งานวิวาห์ของทั้งสองจัดอย่างยิ่งใหญ่และเป็นที่เลื่องลือของประชาชนในเมือง ในวันวิวาห์กษัตริย์แห่งแคว้นโจฬะยังได้ทรงประทาน วลัยบาทอันบรรจุอัญมณีไว้ให้แก่โกวลันสวมให้แก่กัณณกิในวันวิวาห์ด้วย
ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขจนกระทั่งงานเทศกาลบูชาพระอินทร์ในราชธานีแห่งโจฬะมาถึง ซึ่งโกวลันได้ลากัณณกิไปร่วมงานในราชธานี
ในราชธานีโกวลันได้พบกับ มาธวี หรือ มาธวิ (മാധവി)மாதவி/Madhavi) คณิกาอันเป็นที่เลื่องลือในความงาม
โกวลันหลงใหลในความงามของนางคณิกามาธวี และอยู่กินฉันสามีภรรยา จนกระทั่งมีธิดาหนึ่งคนนาม มณิเมขละ หรือ มณิเมขไล ในสำเนียงตมิฬ (മണിമേഖല/மணிமேகலை)(Manimekhala or Manimekalai in Tamil)
ต่อมาโกวลันได้สำนึก นึกขึ้นได้ว่าตนทำผิดกับกัณณกิผู้รอคอยสามีกลับบ้านอยู่ทุกวันคืน และ นางนี้แลเป็นผู้จ่ายค่ารื่นรมย์กับมาธวีแก่เขา โดยมารดาของมาธวีนั้นเป็นผู้ไปรีดไถกับนาง แต่ทว่า กัณณกิ หาใช่ภรรยาทั่วไปไม่ นางเป็นผู้จงรักภักดีต่อภัสดาเป็นอย่างยิ่ง นางยึดถือความสุขของภัสดาคือความสุขของตน ด้วยเหตุนี้นางจึงยอมทุกอย่างเพื่อความสุขของภัสดา
โกวลันสำนึกได้จึงละทิ้งมาธวีกลับไปหากัณณกิ
กัณณกิมิความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นภัสดากลับมา แต่ทว่าก็สายไปเสียแล้ว ทรัพย์สินทั้งหมดได้หมดไปกับความสุขสำราญรื่นรมย์กับคณิกามาธวี ทั้งสองจึงออกจากปูมปุหาร ไปตามสายนทีมุ่งหน้าไปมธุราปุรี หรือ มทุไร (മധുരാപുരി /മദുരൈ) (Madhurapuri or Madurai) ราชธานีแห่งแคว้นปาณฑิยะ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ ธุรกิจใหม่
ในมธุราปุรีทั้งสองอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งตามคำแนะนำของแม่เฒ่าผู้เป็นนักบวชในศาสนาไชนะ ซึ่งทั้งสองได้พบกับแม่เฒ่าบนเรือระหว่างทางมามธุราปุรี
กัณณกิได้ถอดวลัยบาทบรรจุอัญมณีข้างหนึ่งซึ่งได้มาจากกษัตริย์แห่งแคว้นโจฬะเมื่อครั้งวิวาห์มอบแก่โกวลันผู้ภัสดา เพื่อนำไปขายนำปัจจัยมาลงทุนกิจการ โกวลันรับวลัยบาทจากกัณณกิผู้ภรรยาถึงแม้มิอยากทำตามคำแนะของนางที่ต้องเสียของมีค่าในเมื่อครั้งวิวาห์จากการกระทำของตนก็ตาม
โกวลันเดินเสนอขายวลัยบาททองตามตลาดในราชธานี และ คฤหาสน์ของเศรษฐี แต่โชคร้ายนัก ขณะเดียวกันในพระราชวังช่างทองได้ขโมย วลัยบาทบรรจุไข่มุกของ โกปเปรุณเทวี มหารานีแห่งปาณฑิยะไป ซึ่งวลัยบาทของพระนางนั้นเหมือนกับวลัยบาทของกัณณกิผู้ภรรยาของโกวลัน
ต่อมาโกวลันได้เสนอขายวลัยบาทกับช่างทอง ช่างทองจึงได้โอกาสจับโกวลันไปเป็นแผะรับบาป
เนฏุญเจฬิยัน ผู้ทรราช ได้สังประหารโกวลันโดยมิได้สืบสวนไตร่ตรอง และได้นำวลัยบาทไปมอบแก่รานีเพื่อให้นางพึงพอใจ
เมื่อเรื่องทราบถึงกัณณกิ กัณณกิรีบไปยังลานประหารและได้พบศพภัสดาในสภาพที่น่าอนาถ กัณณกิตกอยู่ในความโศกเศร้า แต่จากความเศร้าโศกกลับกลายเป็นความโกรธแค้น กัณณกิมุ่งสู่พระราชวังแห่งมธุราปุรีพร้อมกับวลัยบาทอีกข้างในมือ ในสภากัณณกิได้กล่าวต่อกษัตริย์ด้วยความดุดัน และ ประณามการกระทำขององค์เนฏุญเจฬิยัน และนางได้ยืนยันว่า วลัยบาทนั้นเป็นของนางหาใช่ของที่ถูกขโมยมาไม่ พระราชาจึงทดสอบด้วยการนำวลัยบาทขององค์รานีทุบลงกับพื้น ปรากฏว่า วลัยบาทแรกแตกออกมาเป็นไข่มุก แต่วลัยบาทที่สองแตกออกมาเป็นอัญมณีส่องแสงแวบวาว เช่นเดียวกับดวงตาของกัณณกิที่ลุกโชติช่วงดังเพลิงอัคนีบรรลัยกัลป์
กัณณกิชูวลัยบาททองขึ้นและเขวี้ยงลงกับพื้น วลัยบาทนั้นแตกออกเป็นอัญมณี
ด้วยเพลิงแห่งความแค้น กัณณกิกล่าววิพากษ์วิจารณ์ และ สาปแช่งองค์กษัตริย์ จนองค์กษัตริย์เนฏุญเจฬิยันตกอยู่ในความอัปยศจนสิ้นพระหทัยลงบนบรรลังก์ เมื่อองค์รานีเห็นเช่นนั้นก็ตกพระทัยจนสิ้นพระหทัยลงตาม
ความแค้นของกัณณกิดังเพลิงบรรลัยกัลป์ นางได้ระเบิดมันออกมาด้วยการสาปแช่งมธุราปุรีให้วอดวาย ด้วยบารมีจากการเป็นปดิวรัดาของนาง บัดนั้น มธุราปุรีได้ตกอยู่ในกองเพลิงดังจมอยู่ในเพลิงนรก ผู้คนต่างแตกตื่นหนีตายและมอดไหม้ในเพลิงแห่งความแค้นและล้างผาญอธรรม
ในตำนานของทางเกรละกล่าวว่า หลังจากนางได้เผาผลาญชำระล้างมธุราปุรีแล้ว เทวีแห่งมธุราปุรี (พระศรีมีนากชี)ได้ปรากฏขึ้นต่อนาง และได้ประทานมุกติต่อนางทำให้นางหลุดพ้นจากพันธะในมนุษย์โลกทั้งปวง และทรงชี้แนะว่า กษัตริย์แห่งเจระนั้นทรงเป็นผู้อยู่ในธรรม และควรได้รับพรจากปดิวรัดาผู้ทรงธรรมเช่นนาง พระนางกัณณกิผู้อยู่ในความสงบสุขได้สดับฟังเช่นนั้นจึงมีความประสงค์สถิตในแคว้นเจระ จึงมุ่งหน้าสู่ตำบลโกฏุงงัลลูร แคว้นเจระเพื่อละทิ้งร่างมนุษย์นี้ ในขณะมุ่งหน้าสู่แคว้นเจระ พระนางกัณณกิได้ทรงเลือกตำบลอาตตุกาลเป็นที่พำนักระหว่างทาง
ในขณะพำนักที่อาตตุกาล ในวนาบนริมฝั่งลำธารพระนางได้พบกับชายชราผู้หนึ่ง พระนางได้ปรากฏรูปดังบาลิกาต่อชายชรา และทรงตรัสว่า พ่อเฒ่าสามารถช่วยฉันข้ามฝั่งไปได้หรือไม่?
ชายชราแปลกใจที่ได้เห็นบาลิกาในป่า จึงชวนบาลิกาน้อยไปอาศัยอยู่ที่บ้าน ขณะที่คนในบ้านเตรียมตัวทำการต้อนรับบาลิกาน้อย พระนางในรูปบาลิกาก็หายตัวไป
ในราตรีนั้นเอง พระนางในรูปบาลิกาได้มาปรากฏในนิมิตของชายชรา พระนางขอให้ชายชราสร้างศาล หรือ เทวสถานแก่พระนาง พระนางทรงชี้แนวทางแก่ชายชรา โดยการขีดเส้นสามขีดบนที่ซึ่งพระนางต้องการพำนักอยู่
ในวันต่อมา ชายชราได้พบเส้นที่พระนางขีดไว้ตามนิมิตในป่านั้น พวกเขาจึงสร้างรูปเครพและศาลถวายแก่พระนาง ซึ่งต่อมาก็ได้รับการบูรณะสร้างใหม่เลื่อยมาจนเป็น เทวสถาน ศรี อาตตุกาล ภควติ ในปัจจุบัน.
อันคำว่า ภควตี หมายถึง เทพี หรือ Goddess ในภาษาอังกฤษ เทียบได้กับ ภควาน (พระเจ้า) ซึ่งเป็นนามบุรุษเพศ
รากศัพท์หมายถึง ผู้มั่งคั่ง
ผู้ที่ได้รับการเรียกขานว่า ภควาน / ภควตี ได้นั้นจะต้องมีความมั่งคั่ง หกประการด้วยกัน คือ มั่งคั่งในโภคทรัพย์,มั่งคั่งด้วยอำนาจ,มั่งคั่งด้วยชื่อเสีย,มั่งคั่งด้วยความสง่างาม,มั่งคั่งด้วยปัญญา และ มั่งคั่งด้วยความเสียสละ
ภควตี จึงไม่ใช่นามเทวีองค์ใดองค์หนึ่ง แต่เป็นคำเรียกเทวี หรือ เทพสตรี รวมๆว่า ภควตี ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกขานกันในเกรละ.
รูปเครพ
รูปเครพของพระนาง มักเป็นเทวีมีสี่กรประทับบนเวตาลี ซึ่งเป็นภูตผีปีศาจจำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพาหนะประจำองค์พระภัทรกาลี
พระกรขวาล่างทรงตรีศูล พระกรขวาบนทรงดาบเคียว พระกรซ้ายล่างทรงถือถ้วย พระกรซ้ายบนทรงโล้
อาตตุกาล ปงกาละ มโหตสะวำ (ആറ്റുകാൽ പൊങ്കാല മഹോത്സവം) (Aattukal Pongala Mahotsavam)
เทศกาล อาตตุกาล ปงกาละ หรือ อาตตุกาล ปงกาละ มโหตสะวำ เป็นเทศกาลทำข้าวปงกาละ (പൊങ്കാല)(Pongala in Malayalam) หรือที่ชาวตมิฬเรียกว่า ปงกัล (பொங்கல்) (Pongal in Tamil) แก่ ภควตี แห่ง อาตตุกาล จัดขึ้นในเดือน กุมภำ (കുംഭം) (Kumbham month) เดือนที่เจ็ดทางปฏิทินของชาวมลยาลิในเกรละ ในช่วงกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม ในปฏิทินสากล ในเทศกาลนี้สาวกผู้หญิงนับล้านคนจะมาร่วมงาน เรียงแถวกันทำปงกาละเป็นแถวยาว
ที่ตั้ง
เทวสถาน อาตตุกาล ภควติ ตั้งอยู่ในย่านอาตตุกาล (ആറ്റുകാൽ) (Aattukal) ในเมือง ติรุวนันตะปุรัม (തിരുവനന്തപുരം) (Thiruvananthapuram) เมืองหลวงของรัฐเกรละ
ศรี มาธวะ โสทรี เสวกะ กิตติกร
(กิตติกร อินทรักษา)
อ้างอิง https://en.m.wikipedia.org/wiki/Attukal_Temple
ศุภมสฺตุ