คนทั้งหลายที่ได้กราบไหว้บูชาต่อพระศิวะเทพแล้วจะได้รับพรแห่งความผาสุกและ ความร่ำรวย มีฐานะสูงขึ้น บาปกรรมต่างๆ ไม่กล้ากล้ำกลายต่อคนเหล่านี้ ผู้ได้ท่องสวดถึงพระนามของพระศิวะเทพตลอดกาล เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าผลบุญ ที่ทำขึ้นจากการได้จาริกแสงบุญไปยังสถานที่ทาง ศาสนาทั้งหลายนำมาซึ่งความสดชื่น ยินดี ขจัดบาปทั้งหลาย การจุ่มตัวลงในแม่น้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ตริเวณี (เป็นสถานที่ซึ่งแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมนา แม่น้ำสรัสวตี ไหลมารวมกัน) พระนามของพระศิวะเทพ, ขี้เถ้าถ่าน และ เมล็ดรุทรากษะ ทั้งสามสิ่งนี้สำคัญยิ่งและมีผลเท่ากับการได้ไปชำระร่างกายในแม่น้ำ ตริเวณี ผู้ที่จะสามารถประกอบได้ทั้งสามสิ่งในเวลาเดียวกันนั้นยากที่จะได้เห็น พระพรหมทรงได้ตรัสไว้ว่า พระนามของพระศิวะเทพนั้นเท่าเทียมกับแม่น้ำคงคา เถ้าถ่านที่ใช้ทาถูกร่างกายนั้นเปรียบเหมือนแม่น้ำยมุนา เมล็ดรุทรากษะเท่ากับแม่น้ำ สรัสวตี บาปยิ่งใหญ่ ความทุกข์โศกต่าง ๆ ผลสำเร็จรวดเร็วแห่งการประกอบพิธีทางศาสนา สามารถขจัดให้หมดสิ้นไป และยังให้เกิดผลขึ้นได้ด้วยการท่องสวดถึงพระนามทั้งหลายของพระศิวะเทพ คนผู้ได้บูชาด้วยการท่องสวดพระนามของพระองค์ในโลก ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎแห่งพระเวทย์อย่างแท้จริง ด้วยมีวิญญาณที่มีคุณธรรม เป็นผู้คงแก่เรียนที่ดี น้ำอมฤตแห่งพระนามพระศิวะเทพนั้นต้องดื่มกิน เป็นประจำด้วยคนผู้มีความทุกข์แห่งบาปจะได้ข้ามมหาสมุทรบาปนี้ได้ คนผู้ได้ทาถูร่างกายให้บริสุทธิ์ด้วยการใช้ขี้เถ้าถ่านทางศาสนาและประกอบการ ท่องสวดถึงพระศิวะเทพหลายโกฏิ ครั้งแล้วจะหมดสิ้นความทุกข์ทรมาน ความยิ่งใหญ่ของขี้เถ้าถ่านทางศาสนา เถ้าถ่านแห่งธรรมชาติอันเป็นมงคลนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ มหาภัสมะ(ขี้เถ้ายิ่งใหญ่) […]
Author: Mathrey
บทสวดสรรเสริญพระศิวะ (วิมุกโตทัย )
บทสวดสรรเสริญพระศิวะ สันสกฤต-ไทย ศรีหริทาส อนุวาทก ศรีหริทาสแปลและให้อรรถาธิบาย คำนิยมโดย พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า ตาม ที่ผู้แปลได้นำ ” วิมุกโตทัย ” มาให้ได้อ่านดูแล้ว ได้เห็นถึงความมานะและอดทน ในการแปลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคัมภีร์ในศาสนา เพื่อจะได้มีคำสวดมนต์ถึงองค์เทพต่างๆ โดยเฉพาะองค์พระศิวะเป็นเจ้า การสวดมนต์ก็เป็นบทถึงความดีของมนุษย์ ที่กระทำความดีเพื่อให้จิตใจเบิกบาน สามารถที่จะนำวิญญาณให้ไปร่วมกับความดีสูงสุด ในการสวดมนต์ ก็เป็นการฝึกกายจิต ให้มีระเบียบของชีวิตที่จะกระทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป การสวดมนต์ ถ้าทำด้วยความไม่รู้ก็จะเรียกว่า หลงทาง ทำไปด้วยเสียเวลา ไม่สามารถนำจิตใจให้สูงจนถึงความดีสูงสุด เรียกว่างมงาย จากคัมภีร์ที่นำมาเป็นหลักในการแปลก็เป็นความปรารถนาดีของผู้แปล แต่ความดีจะได้สมบูรณ์ ก็จะต้องศึกษาถึงองค์เทพ ที่ท่านมีจริยวัตรอย่างใด จึงทำให้เราสามารถรู้ถึงธรรมะในอวตารต่างๆ ขอให้ผู้แปลจงมีแต่ความสุขศานติ ขอให้ผู้อ่านจงมีสติ ขอให้ผู้สวดจงไม่งมงาย ขอให้ความดีจงมีแด่ท่านที่ได้ศึกษา โอม ศานติ พระราชครูวามเทพมุนี ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แรมสิบค่ำ เดือนสาม คำนำโดย อ.ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ ” ครู […]