นวารณะ มนตร์ (นวารฺณมนฺตฺร – नवार्णमन्त्र – Navarna Mantra) มนตร์นี้จะเป็นพืชมนตร์ของพระเทวีจามุณฑา ซึ่งจะมีด้วยกัน 9 พยางค์ (โดยไม่นับคำว่า “โอม”) คือ ॐ … ऐं ह्रीं क्लीं चामुण्डायै विच्चे Om … Aim Hrim Klim Chamundaye Vichche โอม […]
เรื่องทั่วไป
การถวายใบไม้พระคเณศและข้อห้ามตามหลักศาสนา
มีหลายท่านถามมาเรื่องการบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือ ใบไม้ทั้ง 21 ชนิด ว่าตกลงห้ามบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือบูชาได้กันแน่ ทั้งนี้ผมขอตอบตามความรู้ที่มีว่า การบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ(เรียกว่า “เอกวึศตีปตฺรปูชา” (เอกะวิมศะติปัตระปูชา)) เป็นความนิยมของบางท้องถิ่นในอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นมหาราษฏร์ ที่มีการบูชาพระคเณศอย่างแพร่หลาย และทางอินเดียใต้บางแห่ง ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่พอดีว่าหนังสือหรือข้อมูลเกี่ยวกับการบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ เป็นข้อมูลแรกๆอันหนึ่งที่เราได้รับ เกี่ยวกับการบูชาตามแบบอินเดียเราจึงได้กระทำตามๆกันว่า ซึ่ง ตามที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น การบูชาพระคเณศมักจะบูชาด้วยใบไม้สามอย่าง คือ 1.ทูรวา หรือหญ้าแพรก ซึ่งถือเป้นใบไม้ที่พระคเณศโปรดที่สุด 2.ใบศมี 3.ใบมะตูม […]
พราหมณ์ กับ บัณฑิต ต่างกันอย่างไร ?
คำว่าบัณฑิต มาจากคำสันสกฤต ว่า ปณฺฑิต (ปัณ ฑิ ตะ) แปลว่า ผู้รู้ ชาวอินเดีย ใช้คำนี้ยกย่อง ผู้รู้ รวมถึงบรรดาพราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมในวัดด้วย คือในอินเดีย ถ้าบอกว่า พราหมณ์ เขาจะหมายถึง “ผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์” ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ที่เกิดในวรรณพราหมณ์ ดังนั้นคำนี้จึงคล้ายๆเป็นคำบอก สถานภาพของการเกิดทางสังคมมากกว่าตำแหน่งของตัว และผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ในอินเดีย อาจประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมก็ได้ เช่น สอนหนังสือ ทำงานราชการ หรือ […]
เรื่องพระตรีมูรติที่เวิร์ลเทรด
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเรื่องตรีมูรติก่อนนะครับ ตรีมูรตินั้นแปลว่า สามรูป ซึ่งมิใช่ชื่อของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ แต่เป็นทฤษฎ๊การแบ่งหน้าที่ ของเทพเจ้าสูงสุด(อีศวรหรือสคุณพรหมัน)ซึ่งในปรัชญาอินเดีย ถือว่า พระเจ้าสูงสุดนั้น ได้ปรากฏออกมาในสามลักษณธ เพื่อกระทำหน้าที่ สามอย่าง คือ สรรค์สร้าง รักษา และทำลาย คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ และพระศิวะ ตามลำดับ ตรีมูรติ จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นรูปเคารพ แบบสามองค์รวมกัน แต่จะแยกเป็นสามองค์เลยก็ได้ หรือในบางครั้ง ก็มีคการ เอารูปเคารพทั้งสามองค์มารวมเป้นองค์เดียวซึ่งปรากฏในหลายลักษณะ เช่นในอินเดียที่มีสามพระเศียร หรือพระศิวเอกบาทในไศวนิกาย […]
สุริยุปราคาแบบวงแหวน
ในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09:29:53 น. ถึง 15:05:40 น. (ตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพฯ) จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ขึ้นในโลก (โดยจุดศูนย์กลางของคราสจะอยู่ในเวลา 12:17:46 น.) แล้วข้าพเจ้าก็ได้พูดคุยกับอาจารย์ 2 ท่านที่เป็นมิตรกันว่า เราสามคนมาเขียนเรื่องอุปราคากันตามความเข้าใจของแต่ละคนเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะชนกันสักหน่อยไหม แล้วก็เป็นไปตามนั้นโดยอาจารย์เก้า (ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว) นั้นได้เขียนโพสขึ้นก่อนเป็นท่านแรก ส่วนข้าพเจ้าเองก็จะขอพูดเรื่องคราสนี้เช่นกันในอีกมิติหนึ่ง และจะพยายามเขียนให้ท่านผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์หรือวิชาโหราศาสตร์ได้เข้าใจได้ง่ายพอสังเขป […]