เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

เหตุใดพระเทวีจึงประทับบนร่างแห่งเทพบุรุษทั้งห้า?

ในภาพหรือบางประติมากรรมของ พระลลิตามพิกา หรือ โษฑศี และพระกาลี เราอาจพบเห็นพระเทวีประทับบนร่างของเทพทั้งห้า ซึ่งเรียกว่า ปัญจเปรตาสนะ (पंचप्रेतासन/Panchapretasana) (อาสนะร่างอันไร้วิญญาณทั้งห้า) ซึ่งคือ ปัญจพรหมะ (पंचब्रह्म/Panchabrahma) (เทพสูงสุด หรือ ความจริงสูงสุดทั้งห้า) คือ พรหมา(ब्रह्मा/Brahma),วิษณุ(विष्णु/Vishnu),อีศวร(ईश्वर/Eshwara),รุทระ(रुद्र/Rudra) และ สทาศิวะ (सदाशिव/Sadashiva) หรือ สัทโยชาตะ(सद्योजात/Sadyojata),วามเทพ(वामदेव/Vamadeva),ตัตปุรุษะ(तत्पुरुष/Tatpurusha),อโฆระ(अघोर/Aghora) และ อีศานะ(ईशान/Eshana) ซึ่งเป็นรูปและพระพักตร์ทั้งห้าของพระศิวะ ซึ่งบ้างปรากฏเป็นรูปและคุณที่ต่างกันทั้งห้า และบ้างปรากฏเป็นใบหน้าอันมีวรรณะอันต่างกันของพระศิวะ
และบ้างว่า พรหมา คือ สัทโยชาตะ, วิษณุ คือ วามเทวะ, อีศวร คือ ตัตปุรุษะ, รุทระ คือ อโฆระ และ สทาศิวะ คือ อีศานะ

ดังปรากฏในบท ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ (1000 นาม พระลลิตา) โศลกที่ 61 ดังนี้

पंचप्रेतासनासीना पंचब्रह्मस्वरूपिणी।
चिन्मयी परमानन्दा विज्ञानघनरूपिणी॥

Pancha-pretasanaaseena Panchabrahmasvaroopini

Chinmayee Paramanandaa Vijnaana-Ghanaroopini

She who sitting on the bench of five bodies, She who is the form of Panchabrahma (Five Supreme Knowledge)

She Who full of knowledge, She who is Supreme Happiness, She who is the form of all knowledge.

ปัญจะเปรตาสะนาสีนา ปัญจะพรหมัสวะรูปิณี
จินมยี ปะระมานันทา วิชญานะฆนะรูปิณี

พระนางผู้ประทับนั่งบนอาสนะจากร่างอันไร้วิญญานทั้งห้า พระนางผู้เป็นรูปแห่งพรหมทั้งห้า

พระนางผู้เปี่ยมด้วยความรู้ พระนางผู้เป็นความสุขสูงสุด พระนางผู้เป็นรูปแห่งมวลความรู้.

ซึ่งเทพเจ้าทั้งห้าดังที่กล่าวมาข้างต้นทรงคุณสมบัติ หรือ หน้าที่ต่างกันดังนี้

พระพรหมา หรือ สัทโยชาตะ ทรงเป็นผู้สร้าง รังสรรค์ทุกสิ่งสรรพ

พระนารายณ์ หรือ วามเทพ ทรงเป็นผู้ทนุบำรุง พิทักษ์รักษา

พระรุทระ หรือ อโฆระ ทรงเป็นผู้ทำลายล้าง

พระอีศวร หรือ ตัตปุรุษะ ทรงไว้ซึ่งความเร้นลับ

พระสทาศิวะ หรือ อีศานะ ทรงไว้ซึ่งความเมตตา เกื้อกูลแก่ทุกสิ่งสรรพ์

ซึ่งการที่ พระลลิตามพิกา หรือ พระมหากาลี ผู้เป็นรูปปรากฏแห่งพระอาทิศักติ ทรงประทับเหนือร่างแห่งเทพเจ้าทั้งห้านี้ หมายถึง ทรงดำรงและทรงควบคุมซึ่งคุณสมบัติ หรือ หน้าที่ทั้งห้านี้ และทรงอยู่เหนือคุณสมบัติทั้งห้านี้ด้วย
ดังปรากฏในบท ลลิตา สหัสรนามะ (1000นาม พระลลิตา) ในบาทที่2 ของโศลกที่ 63 และโศลกที่ 64 ดังนี้

सृष्टिकर्त्री ब्रह्मरूपा गोप्त्री गोविन्दरूपिणी

संहारिणी रुद्ररूपा तिरोधानकरीश्वरी
सदाशिवाऽनुग्रहदा पंचकृत्यपरायणा

Srishtikartree Brahmaroopa Goptree Govindaroopini

Samharinee Rudraroopa Tirothanakareeshwari
Sadashivaanugrahada Panchakritya-Parayana

She who is creator by the form of Brahma, She who is protector by the form of Govinda

She who is destroyer by the form of Rudra, Eshwari who make to conceal , Sadashivaa who giving of her grace, She who is essence of Panchakrityas (five duties)

สฤษฏิกรรตรี พรหมะรูปา โคปตรี โควินทะรูปิณี

สังหาริณี รุทระรูปา ติโรธานะกะรีศวรี
สทาศิวานุคระหะทา ปัณจะกฤตยะปะรายะณะ

พระนางผู้ทรงเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยรูปแห่งพรหม พระนางผู้ทรงเป็นผู้ทนุบำรุงด้วยรูปแห่งโควินทะ

พระนางผู้ทรงเป็นผู้ทำลายล้างด้วยรูปแห่งรุทระ อีศวรี พระนางผู้ทรงกระทำซึ่งความเร้นลับ สทาศิวา พระนางผู้ทรงประทานซึ่งการอนุเคราะห์ พระนางผู้ทรงเป็นแก่นสารปัญจกฤตยะ (หน้าที่ทั้งห้านี้)

จะเห็นได้ว่า พระเทวีทรงประทับเหนือปัญจเปรตาสนะนั้น หมายถึง ทรงเป็นผู้ควบคุมความเป็นไปในจักรวาลด้วยหน้าที่ทั้งห้าทั้งการสร้าง,การรักษา,การทำลาย,ความเร้นลับในจักรวาลทั้งปวง และการอนุเคราะห์ ด้วยรูปของเทพทั้งห้า คือ พระพรหม,พระโควินทะ (วิษณุเทพ),พระรุทระ,พระอีศวร และ พระสทาศิวะ และทรงเป็นหนึ่งเดียวกับเทพทั้งห้า คือ พรหมาณี (ब्रह्माणी/Brahmani), ไวษณวี หรือ นารายณี (वैष्णवी/Vaishnavi,नारायणी/Narayani), รุทราณี (रुद्राणी/Rudrani), อีศวรี (ईश्वरी/Eshwari) และ ศิวา(शिवा/Shivaa)/ ศิวาณี(शिवाणी /Shivani) หรือ สทาศิวา (सदाशिवा/Sadashivaa) ซึ่งตรงกับบทโศลกที่ยกมาข้างต้น.
นอกจากนี้ปัญจพรหม ยังมีนัยถึงสัมผัสทั้งห้าด้วยเช่นเดียวกับลูกศรทั้งห้าของพระลลิตามพิกา
รูป(พระอโฆระ),รส(วามเทวะ),กลิ่น(พระสัทโยชาตะ),เสียง(พระอีศานะ),สัมผัส(ตัตปุรุษะ)

นอกจากนี้ปัญจพรหมยังมีนัยถึงธาตุทั้งห้าด้วย

พรหมา คือ ธาตุดิน

นารายณ์ คือ ธาตุน้ำ

รุทระ คือ ธาตุไฟ

อีศวร คือ ธาตุลม

สทาศิวะ คือ อากาศธาตุ

ซึ่งสอดคล้องกับพระนามของพระเทวีที่ปรากฏใน บาทที่2 กับบาทที่1 ของโศลกที่ 174 และ 175 ของบทลลิตา สหัสรนามะ ดังนี้

पंचयज्ञप्रिया पंचप्रेतमंचाधिशायिनी

पंचमी पंचभूतेशी पंचसंख्योपचारिणी

Panchayajnapriya Panchapreta-Manchaadhishayini

Panchami Panchabhooteshi Panchasankhyopacharini

She who favour to the type of five yajnas, She who is great and she who flop on the bench of five bodies

She who is Shakti of the five forms of Shiva, She who is the Goddess of five elements, she who get the five steps worshipped.

ปัญจะยัชญะปริยา ปัญจะเปรตะมัญจาธิศายินี

ปัญจมี ปัญจะภูเตศี ปัญจะสังขโยปจาริณี

พระนางผู้ทรงโปรดปรานยัชญะทั้งห้ารูปแบบ พระนางผู้เป็นใหญ่ผู้ทรงประทับไสยาสน์บนพระแท่นจากร่างอันเฉื่อยชาทั้งห้า

พระนางผู้ทรงเป็นศักติของรูปแบบทั้งห้าของพระศิวะ พระนางผู้เป็นเจ้าเหนือธาตุทั้งห้า พระนางผู้ทรงได้รับการบูชาทั้งห้าขึ้นตอน.

และการที่พระเทวีทรงประทับเหนือเทพทั้งห้า ยังมีนัยถึงการดำรงอยู่ของ ศักติ ซึ่งหากเทพเหล่านั้นไม่มีศักติแล้วไซร้ ก็ดังร่างอันเฉื่อยชาไร้จิตวิญญาณ
ดังมีปรากฏในบทโศลกที่1ของบทกวี เสาน์ทรยะ ลหรี (Soundarya Lahari) อันเสริญถึงความงาม ความยิ่งใหญ่ของพระเทวี โดยพระอาทิศังกราจารย์ ว่า

“ศิวะ” จักสามารถสร้างสรรค์สรรพสิ่งได้ ก็ต่อเมื่อรวมเป็นหนึ่งกับ “ศักติ” หากมิเช่นนั้นแล้วก็มิสามารถทำสิ่งใดได้แม้แต่เคลื่อนไหว ดังนั้นผู้มิเคยประกอบกุศลจักสามารถบูชาหรือสรรเสริญพระองค์ผู้แม้แต่พระวิษณุ พระหระ พระพรหมาและเทวะทั้งหลายน้อมบูชาได้เยี่ยงไร

และบทโศลกที่ 92 ว่า

พระพรหมา พระวิษณุ พระรุทระแลพระอีศวร กลายเป็นที่รองพระแท่นทั้งสี่ แห่ง พระอาสน์ของพระองค์ พระศิวะผู้มีฉวีวรรณผุดผ่องกลายเป็นผ้าปูอยู่ด้านบน ด้วยแสงสะท้อนสีแดงดุจรุ่งอรุณอันเปล่งออกมาจากความรุ่งโรจน์ของพระองค์บนวรกายแห่งองค์พระศิวะ จึงทำให้พระศิวะเป็นดังรสแห่งความเสน่หาอันปรากฏเป็นรูปร่าง สิ่งนี้ยังสร้างความหฤหรรษ์ให้เกิดขึ้นต่อดวงเนตรทั้งหลายของพระองค์

*อิงคำแปลโศลกจาก เสาน์ทรยะ ลลหรี เกลียวคลื่นแห่งความงาม แปลโดย อ.ปู ไนร์มเลยะ

ซึ่งจากบทโศลกที่กล่าวมา ได้แสดงถึงตำแหน่งของเทพทั้งห้า ที่ได้กลายเป็นส่วนของพระอาสน์แห่งองค์พระมารดาผู้ทรงศรี

โดย พระสทาศิวะ ผู้มีฉวีวรรณผุดผ่องทรงเปรียบดังผ้าขาวสะอาดอยู่ด้านบน และพระพรหมา พระนารายณ์ พระรุทระ และพระอีศวร ได้กลายเป็นขาที่รองรับพระแท่นอาสน์ด้านบน

และในบางจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เราอาจพบเห็น พระกาเมศวรี (ลลิตามพิกา) ประทับบนพระเพลาแห่งองค์กาเมศวร (ปรมศิวะ)เหนือปัญจโปรตาสนะ
และ พระมหากาลี ประทับบนพระเพลาของพระมหากาล เหนือปัญจเป็นตาสนะ แต่ในจิตรกรรมของทางเบงกอล เราอาจพบเห็นพระมหากาล และพระมหากาลี ประทับเหนือรูปแห่งปรุษะ ถึงหกรูปแบบด้วยกัน.

อ้างอิง
https:// http://hinduism.stackexchange.com/…/who-are-pancha…

เรียบเรียงนำเสนอและแปลบทโศลกสันสกฤตโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ (กิตติกร อินทรักษา)

Sanskrit Slokas translated by Murugesan Devi Upasaka (Kittikorn Intharaksa)