กถกฬิ เป็นหนึ่งในการแสดงที่งดงามด้วยศิลปะการร่ายรำแบบเก่าแก่ ดินแดนที่มีการแสดงกถกฬินี้ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทางตอนใต้ของคาบสมุทรข่าน บริเวณแคว้นเกรฬ และดินแดนใกล้เคียงของอินเดีย โดยคำว่า “กถกฬิ” หมายถึง การเล่นเรื่องนิยาย มาจากการสมาสของคำสองคำ คือ “กถ” เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า นิยาย และ “กฬิ” เป็นคำในภาษามลยาลัม แปลว่า การเล่น ซึ่งเรื่องที่นิยมนำมาใช้ในการแสดงกถกฬิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในรามายณะ , มหาภารตะ และเรื่องสำคัญๆในคัมภีร์ปุราณะ การแสดง “กถกฬิ” ได้รับความนิยมจากคนทุกชนชั้นทั่วประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบดินแดนอินเดียทางตอนใต้ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกกถกฬิจะแสดงแต่เฉพาะในเทวสถาน หรือในราชสำนักเท่านั้น จนกระทั่งต่อมาได้รับอนุญาตให้แสดงนอกเทวสถาน เพื่อให้คนในชนชั้นอื่นๆได้มีโอกาสรับชมอย่างทั่วถึง สำหรับตัวละครสำคัญที่ปรากฏในการแสดงกถกฬิ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ จำพวก คือ ๑. สัตตวิก เป็นตัวละครที่เป็นเทพเจ้าผู้มีคุณธรรม เช่น พระนารายณ์ พระอินทร์ เป็นต้น ๒. รัชสิก เป็นตัวละครวีรบุรุษที่เป็นมนุษย์ เช่น พระราม พระลักษณ์ […]