เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ

พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ (Shree Kamakshi of Jonnawada) เทวสถาน ศรี มัลลิการชุนะ สวามี – กามากษี ตัลลิ แห่ง ชนนวาฑะ ถือเป็นอีกหนึ่งปุณยสถานของชาวเตลุคุ ตั้งอยู่ในเมืองชนนวาฑะ (Jonnawada) เขตเนลลูรุ ( Nellooru,Nellore) รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) อินเดียตอนใต้ เทวตำนานของเทวสถานกล่าวถึง เมื่อครั้งพระกัศยปะ ประชาบดี (Kashyapa Prajapati) ได้มีเจตนารมณ์ที่จักทำพิธียัชญะขึ้น บนขุนเขาริมฝั่งแม่น้ำปินากินี หรือ เปนารุ (Pinaakini Nadi / Penaaru) โดยจัดโหมกุณฑ์ทั้งสามขึ้น พระศิวะทรงพึงพอพระทัยในพิธีมหายาคะนั้น จึงปรากฏรูปลึงค์จากกองกูณฑ์ และ ทรงประสงค์จักสถิตในที่แห่งนั้นในนาม ศรี มัลลิการชุนะ สวามี (Shree Mallikarjuna Swami) ในเพลานั้นพระปารวตี(Parvati)ทรงแปลกพระทัยต่อการอันตรธานหายไปของพระสทาศิวะ ผู้พระสวามีจึงเสด็จออกตามหา จนถึงปรำพิธีริมฝั่งแม่น้ำปินากินี ทางทักษิณทิศ จึงพบกับพระอีศวรผู้พระสวามี […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

กามากฺษี นาม รหสฺย

กามากฺษี นาม รหสฺย (ความลับแห่งนาม กามากษี) ใช่ครับ กามากษี (อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย คือ กามากชี) นามสันสกฤตนี้ตีได้หลายความหมาย ผมจึงตั้งชื่อหัวข้อบทความนี้เป็นภาษาสันสกฤตว่า กามากษี นามะ รหัสยะ อันหมายถึง ความลับแห่งนาม กามากษี กามากษี มีความหมายทั้งในด้านไวยากรณ์ และทางปรัชญา อันว่า เสียง กา คือ พระศรีมหาลักษมี และ เสียง มา คือ พระมหาสรัสวตี ร่วมกับคำว่า อักษี อันหมายถึง ดวงเนตร (นามสตรีลิงค์) จึงได้รูป กามากษี ซึ่งหมายถึง พระนางผู้ทรงมีดวงเนตรทั้งสองคือ พระลักษมี และ พระสรัสวตี ซึ่งพระลักษมี คือ อิจฉาศักติ (พลังอำนาจแห่งความปรารถนา) และพระสรัสวตี คือ ชญานะศักติ (พลังอำนาจแห่งความรู้) มีนัยว่า ดวงเนตรของพระเทวีทรงเป็นดังขุมพลัง ดวงเนตรแรกคือ อิจฉาศักติ […]