เราทั้งหลายอาจคุ้นชินกับภาพจิตรกรรมหรือแม้แต่ปฏิมากรรมของพระอุมาในภาคต่างๆกันไปในชั้นต่างๆของโคปุรัม(Gopuram)เทวสถานของไศวะนิกายและแม้แต่มณฑป(Mandapa)ของพระเทวีในรัฐตมิฬนาฏุ (Tamil Naadu) และรัฐเกรละ(Kerala)ในอินเดียตอนใต้ซึ่งมักมีพระวรกายสีเขียว แต่เหตุใดเล่าพระฉวีวรรณของพระองค์จึงมีสีเขียว วันนี้ผมจึงจะขอกล่าวอธิบายถึงข้อสงสัยนี้ของพระสาวกผู้ศรัทธาหลายท่าน อันพระฉวีวรรณอันเขียวดังมรกตและหยกพม่าที่เราเห็นกันตามภาพจิตรกรรมในยุคต่างๆตั้งแต่โบราณนานมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระปฏิมาบนโคปุรัมและบนมณฑปพร้อมทั้งพระปฏิมาบนเสาภายในมณฑป(Mandapa Pillar Sculptures)ยุคใหม่นั้น แท้จริงแล้วมาจากฉวีวรรณอันคล้ำ หรือผิวคล้ำนั้นเอง ซึ่งหากกล่าวตามศาสนวิทยานั้นมาจากอิทธิพลของชนชาติ ซึ่งชาวทราวิฑในอินเดียตอนใต้นั้นมักมีผิวคล้ำ รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของหญิงสาวในอินเดียใต้(และเป็นวัฒนธรรมร่วมในเอเชียใต้และเอเชีบอาคเนย์อีกด้วย)ซึ่งมักชโลมผิวด้วยขมิ้น (Turmeric)อันมีกลิ่นหอมและเชื่อว่าเป็นมงคล ฉวีวรรณของสาวทั้งหลายซึ่งชโลมกายด้วยขมิ้นจึงมีสีออกมาในโทนเขียวดังมรกต(emerald)และหยกจักรพรรดิ(Imperial Jade)ดูงามตา ด้วยเหตุนี้พระเทวีและพระแม่อันเป็นที่ศรัทธาของเขาจึงมีฉวีวรรณเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงความพูกพันธ์กันระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ พร้อมกับเทวปกรณัมว่าพระเทวีได้ทรงอวตารลงมาเป็นพระมีนากชี จักรพรรดินีแห่งปาณฑยะอันเป็นหนึ่งในสี่ราชวงศ์/อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวตมิฬและมลยาลิในยุคต้น และความเชื่อว่า เทวปฏิมาของพระศรีมีนากชีแกะสลักมาจากหินเขียว จึงทำให้ในจิตรกรรมและปฏิมากรรมต่างๆของพระเทวีมีฉวีวรรณเขียวดังมรกตและหินหยกจักรพรรดิ และสีวรกายนี้ยังตัดกับพระภูษาสีแดงอันเป็นสีพระภูษาที่โปรดปรานของพระเทวี (ในภายหลังภาพโปสเตอร์พระมีนากชีในยุคหลังมักทรงภูษาสีเขียวเข้ากับสีพระวรกาย) เป็นที่สวยงามงดงามตา และด้วยการที่ทรงมีฉวีวรรณอันคล้ำดังมรกต จึงทรงนามว่า […]