เกร็ดความรู้

ศีตลา เทวี ธฺยานะ มนตระ ตถา ศีตลา เทวี สตุติ

(บทสมาธิระลึกถึงพระศีตลาเทวี และบทสดุดี) वन्देऽहं शीतलां-देवीं रासभस्थां दिगम्बराम्। मार्जनी कलशोपेतां शूर्पालङ्कृतमस्तकाम्॥ วันเท(อ)หํ ศีตลำ เทวีํ ราสภสฺถำ ทิคมฺพรามฺฯ มารฺชนี กลโศเปตำ ศูรฺปาลํกฤตมสฺตกามฺฯ। คำอ่าน วันเทฮัม ศีตะลาม เทวีม ราสะภัสถาม (ราสะภะ-สฺถาม) ทิคัมพะราม มารชะนี กะละโศเปตาม ศูรปาลังกฤตะ มัสตะกาม อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย วันเดฮัม ชีตะลาม เดวีม ราสะภะ สฺถาม ดิกัมบะราม มารจะนี กะละโชเปตาม ชูรปาลังกริตะ มัสตะกาม คำแปล ข้าพเจ้าขอน้อมไหว้ซึ่ง พระศีตลาเทวี (พระเทวีผู้ทรงความเยือกเย็น คือ ธาตุเย็นในการบรรเทา ปัดเป่าซึ่งอาการของโรค อันเกิดจากความร้อนในร่างกาย) พระผู้ทรงประทับบนลา พระนางผู้ทรงนุ่งลมห่มทิศ (ทรงเปลือยเปล่า) พระผู้ทรงถือซึ่งกลศ (หม้อน้ำ) แลพัด/ไม้กวาด พระผู้ทรงมีบุ้งกี๋ประดับไว้อยู่เหนือพระเศียร หมายเหตุ […]

เทวะตำนาน

พระแม่ศีตลา พระเทวีผู้ขจัดโรคด้วยความเย็น

พระแม่ศีตลา (शीतला / Sheetala) ทรงเป็นเทวีท้องถิ่นของอินเดียภาคเหนือ และมีการเคารพสักการะอยู่บ้างทางตอนใต้ของอินเดีย ทรงเป็นเทวีแห่งโรคผิวหนังต่างๆ มีความเชื่อว่า ทรงเป็นผู้ก่อเกิดโรคด้วยความโกรธกริ้วของพระนาง และเป็นผู้รับรักษาโรคเอง เช่นเดียวกับความเชื่อเจ้าแม่ท้องถิ่นต่างๆของอินเดียใต้ ตำนานของพระนางมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ชวราสุระ (ज्वरासुर / Jwarasura) อสูรแห่งความเจ็บไข้ได้ป่วย (ชวระ -การเจ็บไข้ได้ป่วย) ได้สร้างความเดือดร้อนไปทั่วปฐพี่ เหล่ามุนี นักสิทธิ์ทั้งหลายจึงสวดภาวนาถึง พระทุรคา (दुर्गा / Durga) หรือ กาตยายนี (कात्यायनी / Katyayani)ให้ทรงขจัดโรคภัยทั้งปวงที่กำลังระบาด จากชวราสูร พระทุรคาจึงทรงอวตารมาในนาม ศีตลา อันหมายถึง พระนางผู้ทรงความเยือกเย็น โดยพระนามมาจากศัพท์สันสกฤตว่า ศีตละ หมายถึง ความหนาว,ความเย็น ทรงขจัดปัดเป่าโรคร้าย และทรงกำราบชวระลงได้. ส่วนตำนานท้องถิ่นกล่าวว่า พระนางศีตลา ทรงอุบัติขึ้นจากกองเพลิงยัชญะขององค์พรหมา (ब्रह्मा / Brahma) พระพรหมาทรงประทานเมล็ดถั่วแก่พระนาง และอำนวยพรแก่พระนางให้เป็นที่เครพศรัทธา พระนางทรงตรัสขอมิตรสหายจากพระพรหมา พระพรหมาทรงให้ ชวระ ผู้กำเนิดจากพระเสโทของพระศิวะเป็นมิตรสหาย […]