จากบทความก่อนเราได้พูดถึง พระนางสุภัทรากันไป ถึงตำนานความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับการกำเนิดของพระนาง ยังรวมถึงตำนานโดยคร่าวของ เอกานังศา (एकानंसा/Ekanamsha) อวตารของพระอัมพิกาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่มาเป็นตัวตาย ตัวแทนกฤษณาวตาร และ พระนางวินธยวาสินี (विन्ध्यवासिनी/Vindhyavasini) ซึ่งมิใช่ผู้ใดอื่น นอกจากพระภวานี หรือ เอกานังศาเอง ในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึงเรื่องราวของ พระแม่วินธยวาสินี ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (ที่จริงที่ลงไปในเรื่องของ พระนางสุภัทราก็ชัดเจนแล้ว แต่มีความประสงค์มาแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง) อ่านเรื่อง สุภัทรา ปูรวชนมะ รหัสยะ ได้ตามลิงก์นี้ https://hindumeeting.com/สุภัทรา-ปูรวชนมะ-รหัสยะ/ อันขุนเขาวินธยาจล (विन्ध्याचल/Vindhyachala) นั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ตอนกลางส่วนบนของอนุทวีปอินเดีย ในสมัยโบราณเทือกเขาวินธยนี้ได้เป็นที่กำหนดเขตแดนทางวัฒนธรรมระหว่าง อินเดียใต้ และอินเดียเหนือ และมีตำนานผูกว่า ขุนเขานี้เคยยิ่งใหญ่จนบดบังดวงตะวัน ยังให้พระฤๅษีอคัสตยะ (ऋषि अगस्तय/Rishi Agastya) ต้องมาแก้ปัญหานี้ ด้วยอุบายให้เจ้าแห่งขุนเขาวินธัยเปิดทางให้ตนไปดินแดนทราวิฑ ในทิศทักษิณ จนกว่าพระฤๅษีจะกลับมา ซึ่งจากนั้นเป็นต้นมา พระฤๅษีอคัสตยะก็พำนักอยู่ในดินแดนทักษิณ ไม่ได้กลับมาอีกเลย นอกจากนี้วินธยาจลยังเป็นหนึ่งในปุณยเกษตร หรือ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อของชาวฮินดูอีกด้วย ด้วยเชื่อว่า ณ ที่แห่งนี้เป็นที่พำนักของพระชคัทรักษกี (जगत्रक्षकी/Jagatrakshaki)(พระนางผู้คุ้มครองโลก)ในกลียุค […]