เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ศรีวิฐฐละ แห่ง ปัณฒรปูร

พระวิฐฐละ (विठ्ठल/Vitthala) หรือ วิโฐพา (विठोबा/Vithoba) และในอีกพระนาม ปาณฑุรังคะ (पांडुरंग/Panduranga)
ทรงเป็นภาคปรากฏหนึ่ง ของ ศรีกฤษณะ (श्रीकृष्ण/Sri Krishna) ในเมือง ปัณฒรปูร (पंढरपूर/Pandharpur)ในเขต โสลาปูร (सोलापूर/Solapur)ของรัฐมหาราษฏร ( महाराष्ट्र/Maharashtra) หรือ เขตของชาว มราฐา (मराठा/Maratha) *ผู้พูดภาษามราฐี (मराठी/Marathi)

พระวิฐฐละ ทรงเป็นที่เครพศรัทธากันในหมู่ชาวอินเดีย(เฉพาะที่เป็นฮินดูนะครับ)ทางตอนใต้ ตั้งแต่ มหาราษฏร ในอินเดียตอนกลาง เตลังคณา ลงมายัง อานธรประเทศ ของชาวเตลุคุ และ กรรนาฏกะ ของชาวกันนฑิคะ และทางตอนเหนือของรัฐตมิฬนาฑุ ของชาวตมิฬ

ตำนานท้องถิ่นกล่าวว่า พระกฤษณะ (श्रीकृष्ण/Sri Krishna) ทรงมาพบกับ สาวกรูปหนึ่งนาม ปุณฑริก (भक्त पुंडलिक/ Bhakta Pundalik)
ปุณฑริก เป็นหนุ่มยากจน อาศัยอยู่ในบ้านไม้เล็กๆ กับ บิดา-มารดาซึ่งป่วยอยู่เนืองๆ
ในขณะนั้นเอง กฤษณะได้มาพบเขาที่หน้าประตูบ้าน ซึ่งขณะนั้นเขากำลังปรนิบัติดูแล บิดา-มารดาที่ป่วยอยู่ ปุณฑริก จึงนำอิฐมาให้กฤษณะประทับรอ และ กล่าวกับ กฤษณะว่า “ขอทรงรอข้าพเจ้าปรนิบัติรับใช้ บิดา-มารดาของข้าให้เรียบร้อยก่อน แล้วข้าจะจัดเตรียมดูแลสถานที่ และ รับใช้พระองค์”

ศรีกฤษณะทรงประทับยืนรอบนก้อนอิฐ ในอิริยาบถเท้าเอว
ศรีกฤษณะทรงพึงพอพระทัย กับ พฤติกรรม หรือ การปรนิบัติของ พระสาวกปุณฑริก จึงมีความประสงค์จะประทับอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ (ปัณฒรปูร) กับ พระมเหสี คือ พระนางรุกมิณี หรือ รขุมาอี (श्री रुक्मिणी/श्री रखुमाई – Sri Rukmini/Sri Rakhumai) เพื่อเฝ้าดู พระสาวก
ทั้งสองพระองค์จึงปรากฏรูป เป็นพระปฏิมา อยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น.

มุรุเกศัน โควรทนธารี ทาส
(กิตติกร อินทรักษา)