(บทสรรเสริญ10บทแห่งพระคุรุมรุตปุราธีศะ บทที่8)
वरहलायुधं रोहिणीसुतं गिरिधराग्रजं रामदैवतम्।
गजगणप्रियं धीमतां वरं गुरुमरुत्पुराधीशमाश्रये॥
วรหลายุธํ โรหิณีสุตํ คิริธราคฺรชํ รามไทวตมฺฯ
คชคณปฺริยํ ธีมตำ วรํ คุรุมรุตฺปุราธีศมาศฺรเยฯ।
คำอ่าน
วะระหะลายุธัม โรหิณีสุตัม คิริธะราคระชัม รามะไทวะตัม
คะชะคะณะ ปริยัม ธีมะตาม วะรัม คุรุมะรุตฺปุราธีศะมาศระเย
อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียโดยคร่าว
วะระฮะลายุธัม โรหิณีสุตัม กิห์ริธะรากระจัม รามะไดวะตัม
กห์ะจะกะณะ ปริยัม ธีมะตาม วะรัม กุรุมะรุตปุราธีชะมาชระเย
คำแปล
องค์รามผู้ทรงทิพยภาวะ พระผู้ทรงคันไถอันยอดเยี่ยม ผู้เป็นบุตรแห่งพระนางโรหิณี พระเชษฐาในองค์พระคิริธร
พระผู้เป็นที่รักไคร่ในโขลงช้าง พระผู้ทรงความปราดเปรื่อง แลทรงประเสริฐยิ่ง
ข้าแต่พระคุรุมรุตปุราธีศ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระองค์เป็นที่พึ่ง.
หมายเหตุ
คุรุมรุตปุระ หรือ คุรุวายุปุระ หมายถึง เมืองคุรุวายูร ในเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระคุรุวายุปุราธีศ หรือ คุรุวายูรัปปัน เทวรูปพระวิษณุที่พระอุทธวะ ผู้เป็นภารดา และสหายของพระกฤษณะ ได้รับมาจากกฤษณะ ให้รักษาดูแลก่อนในสิ้นยุค ซึ่งคลื่นยักษ์จะเข้าท่วมทวารกา โดยเทวรูปนี้เป็นสิ่งที่ตกทอดมาจาก วสุเทพ และเทวกี ซึ่งในชาติก่อนๆของทั้งสอง ก็ได้ปรนนิบัติบูชาซึ่งพระปฏิมานี้ซึ่งได้รับประทานมาจากพระพรหมา ต่อมาอุทธวะ ได้อาราธนาถึงพระพฤหัสปติ ผู้เป็นคุรุ ให้นำเทวปฏิมาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไปประดิษฐานยัง ปุณยสถาน อันควรแก่การบูชา โดยมีพระวายุเทพเป็นผู้ช่วย ซึ่งองค์เทวทั้งสองได้ประดิษฐานองค์มูรติ ณ ตอนใต้ของภารตวรรษ ที่ซึ่งพระเทวะทั้งสองได้พบกับพระศิวะ กับ พระไหมวตี ซึ่งกำลังร่ายรำบูชาอยู่ซึ่งพระวิษณุ และได้รับการชี้แนะจากพระมหาเทพให้ประดิษฐาน องค์ภควาน ณ ที่แห่งนั้น โดยทรงประทานนามแด่ ปุณยสถานนั้นว่า คุรุวายุปุระ อันมาจากพระนามของเทวะทั้งสอง
คิริธร หมายถึง ผู้ทรงขุนเขาไว้ในพระหัตถ์ หมายถึง พระกฤษณะ ผู้ทรงแสดงลีลาโดยการยกขุนเขาโควรรธนะ เพื่อปกป้องวฤชวาสี (ชาวเมืองวฤนทาวัน) จากการโจมตีของเมฆ สามวรตกะ (เมฆฝนที่เกิดขึ้นในช่วงประลย) อันถูกส่งมาจากพระอินทร์ผู้กำลังโกรธกริ้วด้วยทรงถูกครอบงำโดยอหังการ และอหังการนี้ได้ถูกทำลายลงโดยองค์ภควาน ผู้ทรงปรากฏรูป ในรูปลักษณ์ของเด็กเลี้ยงโค.
มุรุเกศัน โควรธนธารี ทาส
(กิตติกร อินทรักษา)