ภารตนาฏยัมคืออะไร ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล (อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ศูนย์สันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง […]
Author: Mathrey
พระวิษณุทุรไค
พระวิษณุทุรไค ( ஸ்ரீ விஷ்ணு துர்க்கை ) ( Shree Vishnu Durgai) พระขนิษฐาแห่งพระวิษณุ และ ทรงเป็นพลังอำนาจแห่งพระวิษณุ กับ ตำนานการถือพรตในวันเอกาทศี ในกฤดายุคนั้นมีอสูรตนหนึ่งนามว่า มุระ (Demon Mura) มันทรงพละกำลังมาก มันได้สร้างความเดือดร้อนความวุ่นวายไปทั่วทั้งตรีภพ แม้กระทั้ง เทวราชอินทระ, พระกุเวรจอมยักษา, พระยมเทพ, พระวรุณ, พระอัคนี, พระวายุ และ คนธรรพ์ราช […]
กุเวร
ท้าวกุเวร หรือที่เรียกนามอีกด้วยว่า “เวสวัน” หรือ “ไพษรพน์” มีกำเนิดเป็นยักษ์และมีบริวารเป็นยักษ์ แต่เหตุใดจึงเข้าข้างฝ่ายเทวดาทุก ๆ คราวที่เทวดารบกับยักษ์? ข้อนี้ย่อมเป็นข้อฉงนของคนโดยมากแท้จริงในเรื่องรามเกียรติ์ก็มีแถลงประวัติของท้าวกุเวรแต่ในที่นั้นเรียกว่า “ท้าวกุเปรัน” จึงไม่มีใครสำเหนียกว่าเป็นตัวเดียวกันกับท้าวกุเวรรั้นเอง มีนามกลายเป็น “กุเปรัน” ไปนั้น ข้าพเจ้าสันนิฐานว่าคงเป็นไปโดยทางเดียวกับ “เซอร์ เจมส์ บรุก” กลายเป็น “ชีจำปลุ๊ก” เช่นที่กล่าวมาแล้วในคำอธิบายที่ ๑๔ กล่าวคือ พราหมณ์ผู้เป็นครูคงได้ออกนามว่า “กุเพร” ซึ่งตามสำเนียงสันสกฤตก็คล้าย “กุเบรัน” ผู้จดจึงจดลดลงตามที่ตนได้ยินแล้วเมื่อคัดลอกต่อกันมา หางตัว […]
ภารตนาฏยัม
ภารตนาฏยัมคืออะไร ภารตนาฏยัม (भरतनाट्यम्) ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น […]
สุทามา
ความเป็นมาของท่านสุทามามีพรรณาอยู่ในภควัตรปุราณะ ซึ่งถือเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาเล่มหนึ่งของฮินดู เรื่องมีอยู่ว่า สุทามานั้นเกิดมาในตระกูลพราหมณ์ที่ยากจน และได้มาเป็นสหายคนสนิทของพระกฤษณะ เมื่อครั้งเรียนอยู่ในอาศรมของท่านสัมทีปนี ครั้งหนึ่ง ภรรยาของท่านสัมทีปนีได้ใช้ให้สุทามาและพระกฤษณะไปเก็บไม้ในป่า ขณะที่ทั้งสองเก็บไม้อยู่นั้น ได้มีพายุใหญ่พัดผ่านมา ทำให้ไม้ที่สะสมไว้โดนพายุพัดหายไปทั้งหมด สุทามากลัวมากพระกฤษณะจับแขนของสุทามาไว้แน่น เพื่อให้สุทามารู้สึกปลอดภัย และเมื่อพายุสงบลง พวกเขาก็พบว่า พวกครับกลับมาอยู่ที่อาศรมของท่านสัมทีปนีนั่นเอง สุทามารู้สึกโล่งใจ และขอบคุณพระกฤษณะ ท่านสัมทีปนีผู้เป็นอาจารย์จึงได้ให้พรแก่ทั้งสองว่าให้มีชีวิตยื่นยาว และมีแต่ความสงบสุข หลังจากที่ทั้งสองเรียนจบ ทั้งสองต่างแยกย้ายไปทำตามหนทางที่ตนเองต้องการ โดยพระกฤษณะกลับไปปกครองนครทวารกา และ ทรงสยุมพรกับพระรุกขมินี(เทวีแห่งความรุ่งเรือง) ส่วนสุทามาก็แต่งงานกับนางพราหมณี และใช้ชีวิตอยู่เยี่ยงพราหมณ์ทั่วไป […]
กถกฬิ
กถกฬิ เป็นหนึ่งในการแสดงที่งดงามด้วยศิลปะการร่ายรำแบบเก่าแก่ ดินแดนที่มีการแสดงกถกฬินี้ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทางตอนใต้ของคาบสมุทรข่าน บริเวณแคว้นเกรฬ และดินแดนใกล้เคียงของอินเดีย โดยคำว่า “กถกฬิ” หมายถึง การเล่นเรื่องนิยาย มาจากการสมาสของคำสองคำ คือ “กถ” เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า นิยาย และ “กฬิ” เป็นคำในภาษามลยาลัม แปลว่า การเล่น ซึ่งเรื่องที่นิยมนำมาใช้ในการแสดงกถกฬิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในรามายณะ , มหาภารตะ และเรื่องสำคัญๆในคัมภีร์ปุราณะ การแสดง “กถกฬิ” ได้รับความนิยมจากคนทุกชนชั้นทั่วประเทศอินเดีย […]
พระสวามีอัยยัพปา
พระราชาศรีกาลา ทรงเป็นพระราชาที่เปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพ และความกล้าหาญ ทำให้พสกนิกรอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขและถือเป็นยุคทองแห่งราชอาณาจักร แต่อย่างไรก็ตามตัวของพระราชาก็ยังทรงกลุ้มพระทัยเนื่องจากไม่มีทายาทสืบราชบัลลังค์ ในทุกวันพระองค์จึงทรงไปขอพรจากพระศิวะเทพเพื่อให้ประทานบุตรให้ อีกด้านหนึ่งอสูรมหิงสาสุรัน บุตรแห่งรัมบัน เข้าพิธีทรมานตนเองอย่างหนัก จนกระทั่งร้อนไปถึงองค์พรหมเทพ จนกระทั่งมาปรากฎพระองค์เบื้องหน้าอสูร และให้พรแก่อสูรนั้น โดยพรข้อนั้น คือ ขอไม่ให้มนุษย์ใดในโลกสามารถทำร้ายและฆ่าตนได้ เมื่อได้รับพรแล้ว มหิงสาสุรัน ก็เริ่มนำกำลังทัพเข้ารุกราน และฆ่าคนบนโลกอย่างสยดสยอง ทำให้คนทั้งหลายทั้งโกรธทั้งกลัวต่างพากันวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง เหล่าเทวดาเห็นถึงความร้ายกาจของมหิงสาสุรันจึงได้ทูลขอให้พระจันธิกาช่วยปรามพระจันธิกาพยายามพูดให้มหิง สาสุรันให้ลดความอำมหิตลงโดยทรงบอกให้นำพรที่ได้จากพระพรหมไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร แต่มหิงสาสุรันไม่ฟัง ยังคงฆ่าคนต่อไป จนในท้ายที่สุดพระจันธิกาจบชีวิตมหิงสาสุรันลง มหิงสี บุตรตรีแห่งคารัม ซึ่งเป็นพี่ชายของรัมบัน […]
คัมภีร์ภควทฺคีตา
คัมภัร์ภควทฺคีตา • กฤษฺณไทฺวปายนวฺยาส [ปริวรรต: เกียรติขจร ชัยเธียร] คัมภีร์ภควทคีตาฉบับนี้สามารถดาวโหลดได้ที่ http://www.thungyai.org/_jayadhira/Books/BhagavadGita/Bhagavad-Gita.pdf ทั้งนี้ทั้งนั้นผมต้องขอบพระคุณท่านผู้ทำการแปลและนำมาเผยแพร่ โดยมีข้อแม้ที่ว่า สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๔๗ สำนวนฉบับแปลโดยผู้แปล ห้ามเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ *************************************************** คัมภีร์ “ศรีมทฺภควทฺคีตา” ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวได้ว่าเป็นอุปนิษทฺหนึ่งของฮินดู ที่ปัจจุบันยังไม่อาจได้ข้อยุติว่ารจนามาแต่ครั้งกาลใด. […]
พระกฤษณะ
พระกฤษณะเป็นหลานตาของกษัตริย์ ณ มถุรานคร พระกษัตริยมรมพระนามว่าอุคระเสน พระกษัตริย์มีบุตร 2 คน พญากงส์และนางเทวกี นางเทวกีได้สมรสกับพระวสุเทพ ต่อมาพญากงส์กบฎต่อพระบิดา ได้จับพระบิดาอุคระเสนและพี่สาวพี่เขยขังไว้ โหรทำนายว่าบุตรคนที่แปดของนางเทวกีจะฆ่าพญากงส์ พญากงส์จึงฆ่าลูกทุกคนของนางเทวกี หลังจากฆ่าหกคนแรกแล้ว คนที่เจ็ดแท้ง พระกฤษณะเป็นคนที่แปด พระวสุเทพสามารถลักลอบเอาพระกฤษณะไปฝากให้โคบาลชื่อนันทะและนางยโศธาเลี้ยง … ที่มาและกำเนิดพระกฤษณะ … พระวิษณุเทพ มีหลายภาคหลายอวตาน ซึ่งแต่ละอวตานนั้นพระองค์ลงมาเพื่อช่วยปราบอสูร และยุคเข็ญทั้งหลาย และ มีอยู่อวตานหนึ่งซึ่งพระองค์ถือกำเนิดจากพระวสุเทพ […]
พระอันนาปุราณะ
พระอันนาปุราณะเทวี ในภาษาสันสฤต อันนา หมายถึง อาหาร และ ปุระณะ หมายถึง ความสมบูรณ์พร้อม ดังนั้นพระอันนาปุราณะ จึงหมายถึงเทวีผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารการกิน โดยพระองค์ทรงมีพลังอำนาจที่จะสามารถประทานอาหารได้อย่างไม่มีวันหมด ดังนันแล้วพระองค์จึงเป็นที่เคารพและสักการะแก่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอาหาร (เป็นอีกภาคปางหนึ่งของพระปารวตี) เทวรูปหรือรูปเคารพของพระองค์จะถูกตั้งอยู่บนโต๊ะอาหาร, ร้านอาหารต่างๆ หรือแม้กระทั่งห้องครัว โดยก่อนที่จะลงมือทาน, ทำอาหาร รวมไปถึงก่อนเปิดกิจการร้านอาหารในแต่ละวัน ผู้ที่บูชาจะทำการบูชาพระองค์ก่อนเสมอ โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าใครบูชาพระแม่อันนาปุราณะ ตลอดชีวิตของผู้นั้นจะไม่เผชิญกับความอดอยาก และพรของพระองค์จะทำให้อาหารที่กินไปนั้นเป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ เมื่อได้ทานจะไม่เจ็บไม่ป่วย มีชีวิตเป็นอมตะ และมีพละกำลังมหาศาล […]