เอลไล อัมมัน และ โปเลรัมมะ เจ้าแม่ผู้คุ้มครองหมู่บ้าน (Ellai Amman & Poleramma boundary Goddess) ในตมิฬนาฑุ เอลไล อัมมัน (எல்லையம்மன்/Ellai Amman) ถือ เป็นเจ้าแม่ผู้คุ้มครองดูแลเขตแดนหมู่บ้าน พระนางถือเป็นองค์เดียวกับ พระศรี เรณุกา ปรเมศวรี (ஸ்ரீ ரேணுகா பரமேஸ்வரி/Sri Renuka Parameshwari) และเกี่ยวข้องผนวกกับ มาริยัมมัน (மாரியம்மன்/Mariamman) […]
Author: Murugesan Devi Upasaka
พระเทวี กับ ใบสะเดา (เวปปิไล – Veppilai)
พระเทวี กับ ใบสะเดา ใบสะเดา (Neem leave) หรือ เวปปิไล (வேப்பிலை/Veppilai)ในภาษาตมิฬนั้นถือเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะแก่เจ้าแม่ท้องถิ่นทั้งหลายในอินเดียตอนใต้ โดยเชื่อกันว่า ใบสะเดาสามารถขจัดโรคผิวหนัง และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้ หนึ่งในที่มาของความเชื่อนี้ปรากฏอยู่ในตำนานของเทวสถาน ศรี เรณุกา ปรเมศวรี หรือ ศรี เรณุกามบาล แห่งปฏเวฑุ ดังนี้ กล่าวถึงเมื่อครั้งพระฤๅษีชมทัคนีผู้ภัสดาแห่งพระเรณุกาเทวีได้ถูกสังหารลงด้วยกษัตริย์ (บ้างว่า ท้าวการตวีรยารชุน บ้างว่า โอรสทั้งสามของท้าวเธอ) พระนางเรณุกาผู้ปดิวรัดาทรงเศร้าโศกเสียพระทัยยิ่ง อีกทั้งทรงตัดสินพระทัยที่จักปลงศพพระสวามี พร้อมกับตนเอง พระนางเรณุกาจึงทรงจัดเตรียมพิธีสังสการสุดท้ายแก่พระฤๅษีชมทัคนี […]
ปัจไจ อัมมัน – Pacchai Amman
ปัจไจ อัมมัน (பச்சையம்மன்/Pacchai Amman) หรือ เจ้าแม่เขียว (Green Goddess) ทรงเป็นเทพี หรือ เจ้าแม่ในระดับท้องถิ่นองค์หนึ่งที่ศรัทธากันอย่างแพร่หลายในตมิฬนาฑุ เทวสถานอันมีชื่อเสียงของพระนางตั้งอยู่ในเมืองติรุมุลไลวายัล (திருமுல்லைவாயல்/Thirumullaivayal) เขตปริมณฑลของเชนไน ตำนานของปัจไจ อัมมัน มักเกี่ยวโยงกับตำนานการเล่นหยอกล้อตามภาษาผู้หญิงของพระปารวตี ซึ่งพระนางได้แอบเข้ามาปิดพระเนตรของพระศิวะจากเบื้องหลัง ทำให้ทั่วสกลพิภพมืดมนไปขณะหนึ่ง เหตุนี้ทำให้พระศิวะทรงกริ้วเป็นอย่างยิ่ง จึงส่งพระนางไปยังพื้นพิภพเพื่อบำเพ็ญตนสำนึกตนและไถ่บาปจากการกระทำผิดนี้ บนพื้นพิภพพระปารวตีทรงบำเพ็ญตน และบำเพ็ญตบะอย่างหนักโดยการยืนบาทเดียวบนเข็ม โดยมีสัปตฤๅษี และ สัปตกัณณิยัร (สัปตมาตฤกา) เป็นผู้คอยพิทักษ์คุ้มครองพระนาง ด้วยเหตุนี้ภายในเทวสถานของพระนางในติรุมุลไลวายัล จึงประดิษฐานสัปตฤๅษี […]
มุนีศวรัน – Muneeshwaran
มุนีศวรัน (முனீஸ்வரன்/Muneeshwaran) เป็นหนึ่งในเทพผู้พิทักษ์ชุมชนของชาวตมิฬ นับถือเป็นอีกภาคหนึ่งของพระศิวะในฐานะเจ้าแห่งปราชญ์ทั้งปวง ผู้ให้การคุ้มครองชุมชนและการเดินทางออกนอกชุมชนในยามวิกาล พระองค์ทรงเป็นที่นับถือยิ่งของชาวตมิฬทั้งในอินเดียใต้ และในหมู่ชาวตมิฬผลัดถิ่น เช่นใน มาเลเซีย และสิงคโปร์ พระองค์ทรงเป็น กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval deivam) หรือ เทพผู้พิทักษ์ชุมชนที่ได้การเคารพบูชายิ่ง และโดดเด่นกว่า เทพผู้พิทักษ์ชุมชนองค์อื่นของชาวตมิฬ อย่าง กรุปปัน ซามิ,มทุไร วีรัน,กาตตวรายัน และอรวาน เป็นต้น และถือเป็นผู้นำของเทพเหล่านั้นอีกด้วย ตำนานขององค์มุนีศวรัน เป็นในแบบตำนานพื้นบ้าน มุขปาฐะ […]