เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

ศฺรี ลกฺ​ษ​มี​ ชยนฺตี – ปงฺคุนิ อุตฺติรมฺ

“ศฺรี ลกฺ​ษ​มี​ ชยนฺตี – ปงฺคุนิ อุตฺติรมฺ” (มีนา อุตฺตร ผาลฺคุนี)” ชย ศรีมนฺนารายณ! “ปังคุนิ อุตติรัม” เป็นวันสำคัญ​ทางศาสนาของศาสนิกชน​ชาวฮินดู​ โดยเฉพาะชาวทมิฬในอินเดีย​ทางตอนใต้​ ปังคุนิ อุตติรัม เป็น​วันที่เชื่อกันว่าพระศรีลักษมีทรงปรากฏขึ้นจากการกวนทะเลน้ำนมเกษียรสมุทร ซึ่งเชื่อกันว่าในช่วงเวลาขณะนั้นพระจันทร์ปรากฏอยู่ในดิถี ปุรณิมา(คืนจันทร์เพ็ญ)อีกทั้งยังปรากฏ”กลุ่มดาวนักษัตร อุตตระ ผาลคุนี”อีกด้วย ซึ่งเหตุการนี้เกิดขึ้นในเดือน”ปังคุนิ” ซึ่งเป็น​ชื่อเดือนลำดับที่ 12 (ลำดับสุดท้าย)​ของปฏิทินตามระบบสูรยคติของชาวทมิฬ (ชื่อเดือน”ปังคุนิ”ตรงกับชื่อเดือน”ผาลคุนะ”ในภาษาสันสกฤต)​ ตามความเชื่อของศรีไวษณวะ ศรีสัมประทายะ ปาญจาราตราคมะ […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

อาฏิมาสัม สำคัญยังไง

“อาฏิมาสัม-เดือนทมิฬตามปฏิทินสูรยคติ!!!”สำคัญยังไง? ทำไมต้องมู?????ชัย ศรีมันนารายณะ!… ในปีปัจจุบันนี้ เวลาก็ได้ล่วงเลยมาจนถึงครึ่งปีหลังแล้ว ในครึ่งเดือนแรกของครึ่งปีหลังก็ กาลของเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์และการอุทิศตน อันมีความสำคัญยิ่งต่อทุกนิกายและสายสัมประทายะ นั่นคือช่วง…”อาฏิมาสัม”… ก็ได้กลับมาเยือนอีกครา..ในช่วงอาฏิมาสัมนี่ ผู้ศรัทธาทุกหมู่เหล่าทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยของเราก็ต่างเฝ้ารอที่จะได้ทำการบูชาและอุทิศตนต่อพระเป็นเจ้าผู้เป็นที่รักในรูปนามต่าง ๆ ที่ตนศรัทธากันแต่แล้วทำไม? เพราะอะไร? เดือน”อาฏิ”ถึงได้สำคัญนัก และเดือนนี้มีความพิเศษยังไง? แล้วมีอะไรต้องทราบบ้างเกี่ยวกับอาฏิมาสัม? ติดตามแต่ละหัวข้อได้ ในบทความนี้เลยยยย!…○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○…”อาฏิมาสัม – #Ādi_Māsam“…ในบรรดาเดือนทั้งสิบสองเดือนตามปฏิทินแบบสูรยคติของชาวทมิฬนั้น เดือน”อาฏิ”นับเป็นเดือนลำดับที่ 4 และหากนับตามปฏิทินสากลแล้ว จะเข้าสู่ช่วงเดือนอาฏิมาสัมประมาณช่วงกลางเดือนกรกฏาคมและจะไปสิ้นสุดลงในช่วงกลางเดือนสิงหาคมแม้ว่าในคัมภีร์อาคมะและบทประพันธ์ศักดิ์สิทธิ์”ติรุมุไร”ของชาวทมิฬจะไม่ได้กล่าวถึงความโดดเด่น หรือ กำเนิด ความเป็นมาและความสำคัญของเดือนอาฏิไว้โดยตรง ไม่เหมือนเช่นเดือน”จิตติไร”ที่ถูกนับเป็นช่วงปีใหม่ และเดือน”ไท”ที่เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ยังไงก็ตามชนชาวทมิฬก็ยังเฉลิมฉลองและทำการอุทิศตนเพื่อการบูชาปรนนิบัติพระเป็นเจ้าในเดือนนี้อย่างเสมอมา…เพราะเดือน […]

เรื่องทั่วไป

ร่วมบุญปูพื้นกระเบื้องโรงทาน วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี

 ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ร่วมบุญปูพื้นกระเบื้องโรงทาน วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการก่อสร้างและยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก  ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ตามจิตศรัทธา  ร่วมบุญ ๕๐๐ บาท ขึ้นไป ทางวัดขอมอบเหรียญองค์พระพิฆเนศ ซึ่งผ่านพิธีเทวาภิเษกหลายวาระให้หนึ่งเหรียญ มีจำนวนจำกัด ร่วมบุญได้ที่  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 055-1-82178-9 ไกรวัล คลองแห้ง/กรินทร์ทยาวัต จิตจำนงค์/ สมชาย ยวงลำใย  ธนาคารกสิกรไทย 071-1-31162-9 ไกรวัล คลองแห้ง/กรินทร์ทยาวัต จิตจำนงค์/ สมชาย ยวงลำใย  ขออนุโมทนาบุญนี้แด่ผู้มีบุญทุกท่านครับ อานิสงส์ 10 […]

เรื่องทั่วไป

ขอเรียนเชิญร่วมพิธี คเณศ จตุรถี

ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมพิธี   วันประสูติพระพิฆเณศ ณ วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี (วัดแขกมวกเหล็ก)ทอ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี  วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2565 กำหนดการ เวลา ๘.๑๙ น. เริ่มประกอบพิธี คเณศ จตุรถี -พิธี บูชาครู (กูรูปูจา) -พิธี บูชาขอความสำเร็จแด่องค์พระพิคเณศ (วิกเณศวาราปูจา) -พิธี บูชาแสงสว่างดวงประทีบ (ดีปาลักษมีปูจา) -พิธี ปุณยากาวาจาณัม (กุมบา วรุณาปูจา) […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พระมีนากษี

श्रीमत्सुन्दरनायिकां भयहरां ज्ञानप्रदां निर्मलां श्यामाभां कमलासनार्चितपदां नारायणस्यानुजाम् । वीणावेणुमृदङ्गवाद्यरसिकां नानाविधामम्बिकां । मीनाक्षीं प्रणतोऽस्मि सन्ततमहं कारुण्यवारांनिधिम् ॥ ศฺรีมตฺสุนฺทรนายิกามฺ ภยหรำ ชฺญานปฺรทำ นิรฺมลำ ศฺยามาภำ กมลาสนารฺจิตปทำ นารายนสฺยานุชามฺฯ। วีณา-เวณุ-มฤทงฺควาทฺยรสิกำ นานาวิธามมฺพิกำ มีนากฺษีํ ปฺรณโตสฺมิ สนฺตตมหํ การุณฺยวารำนิธิมฺฯ। คำอ่าน […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พระฤๅษีครรคะ เปิดเผยฐานะที่แท้จริงของกฤษณะ

श्रीगर्ग उवाच आसन् वर्णास्त्रयो ह्यस्य गृह्णतोऽनुयुगं तनू:। शुक्लो रक्तस्तथा पीत इदानीं कृष्णतां गत:॥ प्रागयं वसुदेवस्य क्‍वचिज्जातस्तवात्मज:। वासुदेव इति श्रीमानभिज्ञा: सम्प्रचक्षते॥ बहूनि सन्ति नामानि रूपाणि च सुतस्य ते। गुणकर्मानुरूपाणि तान्यहं वेद […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พิธีอุปนยนะ คืออะไร?

(คร่าวๆ ไม่ขอลงลึกนัก) พิธีอุปนยนะ ถือเป็นหนึ่งในพิธีสังสการสำคัญของชาวฮินดู โดยพิธีนี้ถือเป็นพิธีเริ่มเข้ารับการศึกษาอย่างเป็นทางการของฮินดูชน ไม่ว่าจะศึกษาในพระเวท ปุราณะ และศาสตร์ต่างๆ หากกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ การบวชเรียน การรับเป็นศิษย์-อาจารย์กัน และออกจากบ้านไปสู่สถานศึกษา หรือ คุรุกุล (ซึ่งเป็นอาศรมของคุรุ) พิธีนี้จะจัดขึ้นกับกุลบุตรของ พราหมณ์,กษัตริย์ และแพศย์ โดยแต่ละคัมภีร์กล่าวถึงช่วงอายุที่ควรประกอบพิธีนี้แตกต่างกันไป ไม่แน่นอนนัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ควรประกอบพิธีขณะยังวัยเยาว์ ไม่เกินอายุยี่สิบสี่ปี และจะทำได้เมื่อบุคคลมีความพร้อมที่จะเรียนรู้คัมภีร์ต่างๆ และผ่านการฝึกท่องโศลกต่างๆ และมีความรู้ในภาษาสันสกฤตมาพอสมควรแล้ว พิธีอุปนยนะ อาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยรวมแล้วยึดหลักพิธีจากคัมภีร์ พิธีนี้เป็นดังการกำเนิดครั้งที่สอง […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

ศรี คุรุวายุปุเรศ ธยานะ มนตรัม

(บททำการสมาธิระลึกถึงพระคุรุวายุปุเรศ) पीताम्बरं करविराजितशङ्ख-चक्र-कौमोदकीसरसिजं करुणासमुद्रम्। राधासहायमतिसुन्दरमन्दहासं वातालयेशमनिशां हृदि भावयामि ॥ คำอ่านไทย ปีตามพะรัม กะระวิราชิตะศังขะ-จักระ-เกาโมทกี-สะระสิชัม กะรุณาสะมุทรัม ราธา สะหายะมะติ สุนทะระมันทะหาสัม วาตาละเยศะมะนิศาม หฤทิ ภาวะยามิ อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียโดยคร่าว ปีตามบะรัม กะระวิราจิตะซังคะ จักระ เกาโมดะกี สะระสิจัม กะรุณาสะมุดรัม ราธา สะฮายะมะติ ซุนดะระมันดะฮาซัม วาตาละเยซะมะนิชาม […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

ภาพพระคุรุวายูรัปปัน

มาในวันสิ้นปีพอดีวาดโดยน้องนะโม จากเพจ จิตฺรารฺจน चित्रार्चन พระฉวีวรรณสีคล้ำ สีทะมึน จากคติเรื่องฉวีวรรณขององค์ภควานตามยุค พระคุรุวายูรัปปัน ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์เหล่าสรรพสัตว์ในกลียุค ทรงรับบาปทั้งปวงของสาวกไว้ด้วยวรกายของพระองค์ แลคุรุวายูร ยังได้ชื่อว่า ภูโลกไวกุณฐะ เช่นเดียวกับ ติรุมะลา อันเป็นที่ประทับแห่งพระเวงกเฏศวร อีกทั้ง คุรุวายูร ยังมีอีกชื่อว่า ทักษิณะทวารกา (ทวารกาแห่งแดนใต้) พระนลาฏประดับตกแต่งด้วย อูรธวะ ปุณฑระ ซึ่งในที่นี้ได้ทำขึ้นในรูปแบบ มัธวะ สัมประทายะ ซึ่งเป็นไวษณวะ สัมประทายะที่แพร่หลายในทางตอนใต้ของอินเดีย และมัธวาจารย์ยังเป็นหนึ่งในคุรุปะรัมปรา […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

พระเคารี

เคาระ(गौर/Gaura)มิได้แปลว่า ขาว (White) เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง สีทอง (Golden) หรือ เหลืองสว่าง แบบ หมิงฮวง (明黃/míng huáng)(Bright yellow) ของจีนได้อีกด้วย นอกจากนี้เคาระ ยังหมายถึง สีเหลืองขมิ้น (Turmeric yellow colour) หรือ สีเหลืองหญ้าฝรั่น (Saffron yellow colour) ฉะนั้น เคารี (गौरी/Gauri) อาจมิได้หมายถึง […]