ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ร่วมบุญปูพื้นกระเบื้องโรงทาน วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการก่อสร้างและยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ตามจิตศรัทธา ร่วมบุญ ๕๐๐ บาท ขึ้นไป ทางวัดขอมอบเหรียญองค์พระพิฆเนศ ซึ่งผ่านพิธีเทวาภิเษกหลายวาระให้หนึ่งเหรียญ มีจำนวนจำกัด ร่วมบุญได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 055-1-82178-9 ไกรวัล คลองแห้ง/กรินทร์ทยาวัต จิตจำนงค์/ สมชาย ยวงลำใย ธนาคารกสิกรไทย 071-1-31162-9 ไกรวัล คลองแห้ง/กรินทร์ทยาวัต จิตจำนงค์/ สมชาย ยวงลำใย ขออนุโมทนาบุญนี้แด่ผู้มีบุญทุกท่านครับ อานิสงส์ 10 ประการ ของการทำโรงทาน 1. ไม่อดหรือขาดเเคลนอาหารการกินตลอดชีวิตในปัจจุบันเเละภพหน้า (สร้างเหตุใดย่อมได้เหตุนั้น) 2. มีผู้อุปถัมภ์เรื่องอาหารเสมอ (สร้างเหตุใดย่อมได้เหตุนั้น) 3. เป็นผู้ไม่ตระหนีในทรัพย์อันเป็นบ่อเกิดให้ความโลภเบาบาง (จิตโลภเบาบางยิ่งให้ก็ยิ่งไม่อยาก) 4. เป็นผู้บริบูรณ์สมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์คือทรัพย์ที่ต้องใช้สอยในปัจจุบัน 5.ไม่เป็นคนยากเเคลนยากจนในชีวิต (ผู้ให้ทานย่อมได้โภคทรัพย์) 6. เป็นผู้เจริญรุ่งเรืองในการประอาชีพ (บุญคือความสำเร็จ) 7. มีความสุขเกิดขึ้นจากการเสียสละ (บุญจากการชนะใจตัวเอง) 8. สำเร็จได้ตามปรารถนา (บุญย่อมส่งผลตามที่เราต้องการจริง) 9. […]
เรื่องทั่วไป
ขอเรียนเชิญร่วมพิธี คเณศ จตุรถี
ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมพิธี วันประสูติพระพิฆเณศ ณ วัดพระศรีมหาอาทิปราศักติภควตีเทวี (วัดแขกมวกเหล็ก)ทอ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2565 กำหนดการ เวลา ๘.๑๙ น. เริ่มประกอบพิธี คเณศ จตุรถี -พิธี บูชาครู (กูรูปูจา) -พิธี บูชาขอความสำเร็จแด่องค์พระพิคเณศ (วิกเณศวาราปูจา) -พิธี บูชาแสงสว่างดวงประทีบ (ดีปาลักษมีปูจา) -พิธี ปุณยากาวาจาณัม (กุมบา วรุณาปูจา) -พิธี ปัญจควยัม -พิธี สุทธิความบริสุทธิ์ ชำระมณฑลพิธี -พิธี มหากุมบามหาคณปติสถาปนา บูชา อัญเชิญองค์มหาพิคเณศสู่มณฑนพิธี -พิธี สังข์สถาปนาบูชา (พิธีบูชามหาสังข์ ๑๐๘ ขอน) -พิธี มหาคณปติ โหมัม (พิธีบูชาไฟถวายแด่องค์พระพิคเณศ) -พิธี มหาอบิเชกรัม (พิธีสรงน้ำมงคลต่างๆแด่องค์พระพิคเณศ) -พิธี กุมบาอบิเชกรัม (พิธีสรงน้ำพระพิคเณศด้วยน้ำจากกาลาซัม) -พิธี […]
พระมีนากษี
श्रीमत्सुन्दरनायिकां भयहरां ज्ञानप्रदां निर्मलां श्यामाभां कमलासनार्चितपदां नारायणस्यानुजाम् । वीणावेणुमृदङ्गवाद्यरसिकां नानाविधामम्बिकां । मीनाक्षीं प्रणतोऽस्मि सन्ततमहं कारुण्यवारांनिधिम् ॥ ศฺรีมตฺสุนฺทรนายิกามฺ ภยหรำ ชฺญานปฺรทำ นิรฺมลำ ศฺยามาภำ กมลาสนารฺจิตปทำ นารายนสฺยานุชามฺฯ। วีณา-เวณุ-มฤทงฺควาทฺยรสิกำ นานาวิธามมฺพิกำ มีนากฺษีํ ปฺรณโตสฺมิ สนฺตตมหํ การุณฺยวารำนิธิมฺฯ। คำอ่าน ศรีมัตสุนทะระนายิกาม ภะยะหะราม ชฺญานะประทาม นิรมะลาม ศฺยามาภาม กะมะลาสะนารจิตะปะทาม นารายะณัสยานุชาม วีณา เวณุ มฤทังคะ วาทยะระสิกาม นานา วิธามัมพิกาม มีนากษีม ประณะโตสมิ สันตะตะมะฮัม การุณยะวารานนิธิม คำแปล ข้าพเจ้าขอประณตน้อมอยู่เป็นนิจซึ่งพระมีนากษี ผู้ทรงเป็นดังมหาสมุทรแห่งความการุณย์ นายิกาผู้สง่างาม แลทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ พระผู้ทรงขจัดซึ่งความกลัว พระผู้ทรงความบริสุทธิ์ แลประทานซึ่งความรู้ […]
พระฤๅษีครรคะ เปิดเผยฐานะที่แท้จริงของกฤษณะ
श्रीगर्ग उवाच आसन् वर्णास्त्रयो ह्यस्य गृह्णतोऽनुयुगं तनू:। शुक्लो रक्तस्तथा पीत इदानीं कृष्णतां गत:॥ प्रागयं वसुदेवस्य क्वचिज्जातस्तवात्मज:। वासुदेव इति श्रीमानभिज्ञा: सम्प्रचक्षते॥ बहूनि सन्ति नामानि रूपाणि च सुतस्य ते। गुणकर्मानुरूपाणि तान्यहं वेद नो जना:॥ ศฺรีครฺค อุวาจ อาสนฺ วรฺณาสฺตฺรโย หฺยสฺย คฤหฺณโต(อ)นุยุคํ ตนุะฯ ศุกฺโล รกฺตสฺตถา ปีต อิทานีํ กฤษฺณตำ คตะฯ। ปฺราคยํ วสุเทวสฺย กฺวจิชฺชาตสฺตฺวาตฺมชะฯ วาสุเทว อิติ ศฺรีมานภิชฺญาะ สมฺปฺรจกฺษเตฯ। พหูนิ สนฺติ นามานิ […]
พิธีอุปนยนะ คืออะไร?
(คร่าวๆ ไม่ขอลงลึกนัก) พิธีอุปนยนะ ถือเป็นหนึ่งในพิธีสังสการสำคัญของชาวฮินดู โดยพิธีนี้ถือเป็นพิธีเริ่มเข้ารับการศึกษาอย่างเป็นทางการของฮินดูชน ไม่ว่าจะศึกษาในพระเวท ปุราณะ และศาสตร์ต่างๆ หากกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ การบวชเรียน การรับเป็นศิษย์-อาจารย์กัน และออกจากบ้านไปสู่สถานศึกษา หรือ คุรุกุล (ซึ่งเป็นอาศรมของคุรุ) พิธีนี้จะจัดขึ้นกับกุลบุตรของ พราหมณ์,กษัตริย์ และแพศย์ โดยแต่ละคัมภีร์กล่าวถึงช่วงอายุที่ควรประกอบพิธีนี้แตกต่างกันไป ไม่แน่นอนนัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ควรประกอบพิธีขณะยังวัยเยาว์ ไม่เกินอายุยี่สิบสี่ปี และจะทำได้เมื่อบุคคลมีความพร้อมที่จะเรียนรู้คัมภีร์ต่างๆ และผ่านการฝึกท่องโศลกต่างๆ และมีความรู้ในภาษาสันสกฤตมาพอสมควรแล้ว พิธีอุปนยนะ อาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยรวมแล้วยึดหลักพิธีจากคัมภีร์ พิธีนี้เป็นดังการกำเนิดครั้งที่สอง เมื่อได้ทำการปลงผม และเข้าพิธีซึ่งคุรุยอมรับผู้เยาว์เป็นศิษย์ โดยแสดงอาการต่างๆ (ซึ่งเรียกว่า ทีกษา) อันได้แก่ การแตะไปยังเหนือตำแหน่งหัวใจของกุลบุตรนั้น พร้อมกับการกล่าวมนตระ ซึ่งมีใจความว่า เราจะดึงใจเธอไปตามความต้องการของเรา จิตของเธอจะตามจิตของเรา ขอเธอจงคล้อยตามไปกับวจีของเรา ขอพระพฤหัสบดีจงผูกพันเธอไว้กับตัวเรา เปรียบดังการโอบอุ้มกุลบุตรนั้นไว้ในครรภ์ และให้กำเนิดอีกครั้ง และให้สายยัชโญปวีตะ หรือ อุปวีตะ แก่กุลบุตร ซึ่งยัชโญปวีตะนี้คือ องค์แทนแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตอยู่กับกุลบุตรนั้น โดยผาดจากไหล่ซ้าย พาดผ่านช่วงสรีระไปยังช่วงขวาของร่างกาย อีกทั้งแสดงพรหฺโมปเทศะ (พรหมะ […]
ศรี คุรุวายุปุเรศ ธยานะ มนตรัม
(บททำการสมาธิระลึกถึงพระคุรุวายุปุเรศ) पीताम्बरं करविराजितशङ्ख-चक्र-कौमोदकीसरसिजं करुणासमुद्रम्। राधासहायमतिसुन्दरमन्दहासं वातालयेशमनिशां हृदि भावयामि ॥ คำอ่านไทย ปีตามพะรัม กะระวิราชิตะศังขะ-จักระ-เกาโมทกี-สะระสิชัม กะรุณาสะมุทรัม ราธา สะหายะมะติ สุนทะระมันทะหาสัม วาตาละเยศะมะนิศาม หฤทิ ภาวะยามิ อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียโดยคร่าว ปีตามบะรัม กะระวิราจิตะซังคะ จักระ เกาโมดะกี สะระสิจัม กะรุณาสะมุดรัม ราธา สะฮายะมะติ ซุนดะระมันดะฮาซัม วาตาละเยซะมะนิชาม หริดิ ภาวะยามิ คำแปล ข้าพเจ้าระลึกด้วยใจถึงซึ่งพระผู้เป็นเจ้าแห่งวาตาลัย (เมืองคุรุวายูร ในเกรละ) พระผู้ไม่มีที่สิ้นสุด พระผู้ทรงอาภรณ์สีเหลืองอร่าม พระกรรุ่งโรจน์ด้วยสังข์ จักร คทาเกาโมทกี แลปทุมชาติ พระผู้ทรงความกรุณาดังห้วงสมุทร พระผู้ทรงเป็นสหายทางจิตวิญญาณของพระนางราธา พระผู้ทรงมีรอยแย้มสรวลอันสง่างาม มุรุเกศัน โควรธนธารี ทาส (กิตติกร อินทรักษา)
ภาพพระคุรุวายูรัปปัน
มาในวันสิ้นปีพอดีวาดโดยน้องนะโม จากเพจ จิตฺรารฺจน चित्रार्चन พระฉวีวรรณสีคล้ำ สีทะมึน จากคติเรื่องฉวีวรรณขององค์ภควานตามยุค พระคุรุวายูรัปปัน ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์เหล่าสรรพสัตว์ในกลียุค ทรงรับบาปทั้งปวงของสาวกไว้ด้วยวรกายของพระองค์ แลคุรุวายูร ยังได้ชื่อว่า ภูโลกไวกุณฐะ เช่นเดียวกับ ติรุมะลา อันเป็นที่ประทับแห่งพระเวงกเฏศวร อีกทั้ง คุรุวายูร ยังมีอีกชื่อว่า ทักษิณะทวารกา (ทวารกาแห่งแดนใต้) พระนลาฏประดับตกแต่งด้วย อูรธวะ ปุณฑระ ซึ่งในที่นี้ได้ทำขึ้นในรูปแบบ มัธวะ สัมประทายะ ซึ่งเป็นไวษณวะ สัมประทายะที่แพร่หลายในทางตอนใต้ของอินเดีย และมัธวาจารย์ยังเป็นหนึ่งในคุรุปะรัมปรา ของเคาฑียะไวษณวะ ในเบงกอลด้วย บนพระอุระ ทรงไว้ซึ่งสร้อยแก้วมณีเกาสฺตุภะ ทรงภูษาภรณ์สีเหลืองสว่าง และแดง (สีแห่งพลังอำนาจ ชนชั้นปกครอง ตามคติอินเดีย และจีน) มงกุฎ ประดับด้วยมรกต (อิงจาก ข่าวไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่มีผู้สร้างมงกุฎทองคำถวายพระองค์ ซึ่งประดับด้วยมรกต) และขนนกยูง
พระเคารี
เคาระ(गौर/Gaura)มิได้แปลว่า ขาว (White) เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง สีทอง (Golden) หรือ เหลืองสว่าง แบบ หมิงฮวง (明黃/míng huáng)(Bright yellow) ของจีนได้อีกด้วย นอกจากนี้เคาระ ยังหมายถึง สีเหลืองขมิ้น (Turmeric yellow colour) หรือ สีเหลืองหญ้าฝรั่น (Saffron yellow colour) ฉะนั้น เคารี (गौरी/Gauri) อาจมิได้หมายถึง นางผู้มีฉวีวรรณขาวเพียงอย่างเดียว ยังคงหมายถึง นางผู้มีฉวีวรรณดังทอง หรือ เหลืองอาร่ามจากการชโลมผงขมิ้น ได้อีกด้วย ซึ่งนามเคารีนี้เป็นนาม หรือฉายาหนึ่งของพระปารวตี ซึ่งสอดคล้องกับพระนาม อุมา (उमा/Uma) ที่แปลว่า ส่องสว่าง (Light/Bright) หรือ เหลืองขมิ้น (Turmeric yellow) อีกด้วย เข่นเดียวกับนาม เคาระ (गौर/Gaura) หรือ เคารางคะ (गौराङ्ग/Gauranga) […]
กุงกุมะ และ ซินดูร
กุงกุมัม หรือ กุมกุมะ และ ซินดูร เป็นผงสีแดงที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และมีสีแดงเช่นเดียวกัน จนบางท่านอาจใช้ปนกัน หรือผู้ขายบางท่านอาจไม่รู้จักถึงความแตกต่าง ก็อาจมีการขายซินดูรในชื่อของกุมกุมอยู่บ่อยครั้ง ถึงผงกุงกุมัม และซินดูรจะมีสีแดงคล้ายๆกัน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกัน และจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในบางประการ กุงกุมัม Kungumam กุงกุมะ (कुंकुम/Kunkuma) หรือ กุมกุม (कुमकुम/Kumkum) ในสำเนียงเสียงภาษาฮินดี และ กุงกุมัม (குங்குமம்/കുങ്കുമം/Kungumam) ในภาษาตมิฬและมลยาลำ เป็นผงสีแดง ค่อนข้างมีสีที่เข้ม จนถึงสีแดงเลือดหมู กุงกุมะในสมัยก่อนมักนำมาจากเกสรของดอกหญ้าฝรั่น (saffron) แต่ด้วยมีราคาค่อนข้างสูง ในปัจจุบันจึงใช้ ผงขมิ้น (Turmeric powder) กับ ผงปูนขาว (Slaked lime) ในการทำกุงกุมะ กุงกุมะ เป็นผงศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู กุงกุมะเป็นตัวแทนของพลังชีวิต โดยสีแดงของกุงกุมะนั้นเปรียบกับ เลือด ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในร่ายกายสิ่งมีชีวิต กุงกุมะนั้นมักเป็นเครื่องถวายต่อพระศักติ กล่าวว่า การทำอรรจนาด้วยกุงกุมะ หรือ กุงกุมารจนา ต่อพระเทวี (พระอุมา,พระลักษมี)จะให้ผลที่ดีมาก เชื่อว่าพระเทวีทรงโปรดปรานการทำกุงกุมารจนา […]
อัษฏภารยา พระมเหสีทั้งแปดนางของพระวาสุเทพ กฤษณะ
อัษฏภารยา (अष्टभार्या/Ashtabharya) หรือ พระมเหสีทั้งแปดนางของพระวาสุเทพ กฤษณะ (8 consorts of Vasudeva Krishna) ซึ่งทั้งแปดนางล้วนแต่เป็นขัตติยธิดา จากราชวงศ์ต่างๆ อันทั้งแปดนางนั้นล้วนแต่เป็นผู้ภักดีต่อพระกฤษณะโดยการพัฒนาภักติจากการมีความรักให้แก่พระมาธวะเอง อันพระชคันโมหนะ(ผู้ทรงยังให้ทั้งพิภพหลงใหล)นั้น ทรงเป็นผู้มีความกรุณาดุจสาคร ทรงตอบสนองต่อทุกความปรารถนาของผู้ภักดี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงรับขัตติยกันยาทั้งแปดเป็นพระมเหสี อันคอยปรนนิบัติรับใช้แทบเบื้องบาทบงกชแห่งองค์พระทวารกาทีศะอยู่เสมอ อัษฏภารยา กอปรด้วยขัตติยกันยาทั้งแปดเหล่านี้ อันได้แก่ 1.พระนางรุกมิณี (रुक्मिणी/Rukmini) พระนางรุกมิณี ทรงเป็นพระธิดาของ ท้าวภีษมกะ (भीषमक/Bhishmaka) พระมหาราชแห่ง แคว้นวิทรรภ (विदर्भ/Vidarbha) *(ปัจจุบันคือ เขตนาคปูร และ อมราวตีในตอนบนของรัฐมหาราษฏร) ทรงมีพระเชษฐาพระนามว่า รุกมิณ (रुक्मिण/Rukmin) พระนางนั้นทรงเป็นอวตาร แห่ง พระศรีมหาลักษมี (श्री महालक्ष्मी/Sri Mahalakshmi) ทรงหลงรักพระกฤษณะ แม้ได้ยินเพียงแค่พระนาม และ เกียรติยศ ของพระองค์เท่านั้น แต่ทว่า พระเชษฐารุกมิณทรงไม่เห็นดีเห็นงาม เพราะทรงเป็นพันธมิตร กับ ชราสันธ์ ราชาแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศัตรูร้ายกาจของพระกฤษณะ […]