1.อาทิ ศังกราจารย์ ชคัทคุรุ ศรี อาทิ ศังกราจารย์ (जगद्गुरु श्री आदि शङ्कराचार्य/Jagad Guru Shri Adi Shankaracharya) ท่านถือกำเนิดขึ้นที่แคว้นเจระ (ปัจจุบันคือ เกรละ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ท่านเป็นผู้เผยแพร่หลักปรัชญาอัทไวตะ เวทานตะ (अद्वैत वेदान्त/Advaita Vedanta) ซึ่งกล่าวถึง พรหมัน เป็นความจริงแท้ ความจริงหนึ่งเดียวสูงสุด ไร้รูป ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลเป็นเพียงมายาของพรหมัน กล่าวกันว่า ชคัทคุรุ ศรีอาทิ ศังกราจารย์นั้นเป็นอวตารของพระทักษิณามูรติ (श्रीदक्षिणामूर्ति/Shri Dakshinamurti) หรือ พระศิวะในภาคของปรมคุรุ (บรมครู)(ภาพที่ปรากฏอยู่ในโคปุรัมทางเข้าวัดแขกสีลม) และอยู่ในโลกนี้เพียงแค่ 32ชันษา เท่านั้น ก็บรรลุนิรวาณ ซึ่งท่านนั้นได้เข้าบวชเป็นสันยาสี ตั้งแต่มีอายุเพียง 8ชันษา. 2.รามานุชาจารย์ ชคัทคุรุ ศรี รามานุชาจารย์ (जगद्गुरु श्री रामानुजाचार्य/Shri Ramanujacharya) ท่านถือกำเนิดที่ ติรุเปรุมบุดูร […]
Tag: คุรุ
พราหมณ์ กับ บัณฑิต ต่างกันอย่างไร ?
คำว่าบัณฑิต มาจากคำสันสกฤต ว่า ปณฺฑิต (ปัณ ฑิ ตะ) แปลว่า ผู้รู้ ชาวอินเดีย ใช้คำนี้ยกย่อง ผู้รู้ รวมถึงบรรดาพราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมในวัดด้วย คือในอินเดีย ถ้าบอกว่า พราหมณ์ เขาจะหมายถึง “ผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์” ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ที่เกิดในวรรณพราหมณ์ ดังนั้นคำนี้จึงคล้ายๆเป็นคำบอก สถานภาพของการเกิดทางสังคมมากกว่าตำแหน่งของตัว และผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ในอินเดีย อาจประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมก็ได้ เช่น สอนหนังสือ ทำงานราชการ หรือ ค้าขาย ฯลฯ เมื่อเกิดในวรรณะพราหมณ์แล้ว บางคนจึงเข้าเรียนในระบบอาศรม หรือคุรุกุล เพื่อเรียนพระเวท และกัลปะพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเรียนจบแล้ว คนก็ยกย่องว่าเป็นผู้รู้ มีความรู้ในพระเวท คัมภีร์สำคัญ และกัลปะพิธีกรรมต่างๆ ดังนั้นชาวอินเดีย จึงยกย่องเรียกพราหมณ์ที่ประกอบพิธี ซึ่งหมายความว่าได้ผ่านการเล่าเรียนมาแล้ว ว่าบัณฑิต หมายถึงผู้รู้ แต่คำๆนี้อาจหมายถึง ผู้รู้อื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมในวัดก็ได้ เป้นศาสนิกชนฮินดูแต่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่ามีความรู้ความสามารถ เช่น บัณฑิตยาวหลาล […]