ขอขอบพระคุณ “ประวัติศาสตร์ นอกตำรา” ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเผยแพร่
Tag: พราหมณ์
พราหมณ์ กับ บัณฑิต ต่างกันอย่างไร ?
คำว่าบัณฑิต มาจากคำสันสกฤต ว่า ปณฺฑิต (ปัณ ฑิ ตะ) แปลว่า ผู้รู้ ชาวอินเดีย ใช้คำนี้ยกย่อง ผู้รู้ รวมถึงบรรดาพราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมในวัดด้วย คือในอินเดีย ถ้าบอกว่า พราหมณ์ เขาจะหมายถึง “ผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์” ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ที่เกิดในวรรณพราหมณ์ ดังนั้นคำนี้จึงคล้ายๆเป็นคำบอก สถานภาพของการเกิดทางสังคมมากกว่าตำแหน่งของตัว และผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ในอินเดีย อาจประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมก็ได้ เช่น สอนหนังสือ ทำงานราชการ หรือ ค้าขาย ฯลฯ เมื่อเกิดในวรรณะพราหมณ์แล้ว บางคนจึงเข้าเรียนในระบบอาศรม หรือคุรุกุล เพื่อเรียนพระเวท และกัลปะพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเรียนจบแล้ว คนก็ยกย่องว่าเป็นผู้รู้ มีความรู้ในพระเวท คัมภีร์สำคัญ และกัลปะพิธีกรรมต่างๆ ดังนั้นชาวอินเดีย จึงยกย่องเรียกพราหมณ์ที่ประกอบพิธี ซึ่งหมายความว่าได้ผ่านการเล่าเรียนมาแล้ว ว่าบัณฑิต หมายถึงผู้รู้ แต่คำๆนี้อาจหมายถึง ผู้รู้อื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมในวัดก็ได้ เป้นศาสนิกชนฮินดูแต่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่ามีความรู้ความสามารถ เช่น บัณฑิตยาวหลาล […]