เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พิธีอุปนยนะ คืออะไร?

(คร่าวๆ ไม่ขอลงลึกนัก) พิธีอุปนยนะ ถือเป็นหนึ่งในพิธีสังสการสำคัญของชาวฮินดู โดยพิธีนี้ถือเป็นพิธีเริ่มเข้ารับการศึกษาอย่างเป็นทางการของฮินดูชน ไม่ว่าจะศึกษาในพระเวท ปุราณะ และศาสตร์ต่างๆ หากกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ การบวชเรียน การรับเป็นศิษย์-อาจารย์กัน และออกจากบ้านไปสู่สถานศึกษา หรือ คุรุกุล (ซึ่งเป็นอาศรมของคุรุ) พิธีนี้จะจัดขึ้นกับกุลบุตรของ พราหมณ์,กษัตริย์ และแพศย์ โดยแต่ละคัมภีร์กล่าวถึงช่วงอายุที่ควรประกอบพิธีนี้แตกต่างกันไป ไม่แน่นอนนัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ควรประกอบพิธีขณะยังวัยเยาว์ ไม่เกินอายุยี่สิบสี่ปี และจะทำได้เมื่อบุคคลมีความพร้อมที่จะเรียนรู้คัมภีร์ต่างๆ และผ่านการฝึกท่องโศลกต่างๆ และมีความรู้ในภาษาสันสกฤตมาพอสมควรแล้ว พิธีอุปนยนะ อาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยรวมแล้วยึดหลักพิธีจากคัมภีร์ พิธีนี้เป็นดังการกำเนิดครั้งที่สอง เมื่อได้ทำการปลงผม และเข้าพิธีซึ่งคุรุยอมรับผู้เยาว์เป็นศิษย์ โดยแสดงอาการต่างๆ (ซึ่งเรียกว่า ทีกษา) อันได้แก่ การแตะไปยังเหนือตำแหน่งหัวใจของกุลบุตรนั้น พร้อมกับการกล่าวมนตระ ซึ่งมีใจความว่า เราจะดึงใจเธอไปตามความต้องการของเรา จิตของเธอจะตามจิตของเรา ขอเธอจงคล้อยตามไปกับวจีของเรา ขอพระพฤหัสบดีจงผูกพันเธอไว้กับตัวเรา เปรียบดังการโอบอุ้มกุลบุตรนั้นไว้ในครรภ์ และให้กำเนิดอีกครั้ง และให้สายยัชโญปวีตะ หรือ อุปวีตะ แก่กุลบุตร ซึ่งยัชโญปวีตะนี้คือ องค์แทนแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตอยู่กับกุลบุตรนั้น โดยผาดจากไหล่ซ้าย พาดผ่านช่วงสรีระไปยังช่วงขวาของร่างกาย อีกทั้งแสดงพรหฺโมปเทศะ (พรหมะ […]