

Related Articles
เหตุใดพระแม่มีนากชี และพระอุมารวมถึงอวตารต่างๆของพระองค์ถึงมีวรกายสีเขียว
เราทั้งหลายอาจคุ้นชินกับภาพจิตรกรรมหรือแม้แต่ปฏิมากรรมของพระอุมาในภาคต่างๆกันไปในชั้นต่างๆของโคปุรัม(Gopuram)เทวสถานของไศวะนิกายและแม้แต่มณฑป(Mandapa)ของพระเทวีในรัฐตมิฬนาฏุ (Tamil Naadu) และรัฐเกรละ(Kerala)ในอินเดียตอนใต้ซึ่งมักมีพระวรกายสีเขียว แต่เหตุใดเล่าพระฉวีวรรณของพระองค์จึงมีสีเขียว วันนี้ผมจึงจะขอกล่าวอธิบายถึงข้อสงสัยนี้ของพระสาวกผู้ศรัทธาหลายท่าน อันพระฉวีวรรณอันเขียวดังมรกตและหยกพม่าที่เราเห็นกันตามภาพจิตรกรรมในยุคต่างๆตั้งแต่โบราณนานมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระปฏิมาบนโคปุรัมและบนมณฑปพร้อมทั้งพระปฏิมาบนเสาภายในมณฑป(Mandapa Pillar Sculptures)ยุคใหม่นั้น แท้จริงแล้วมาจากฉวีวรรณอันคล้ำ หรือผิวคล้ำนั้นเอง ซึ่งหากกล่าวตามศาสนวิทยานั้นมาจากอิทธิพลของชนชาติ ซึ่งชาวทราวิฑในอินเดียตอนใต้นั้นมักมีผิวคล้ำ รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของหญิงสาวในอินเดียใต้(และเป็นวัฒนธรรมร่วมในเอเชียใต้และเอเชีบอาคเนย์อีกด้วย)ซึ่งมักชโลมผิวด้วยขมิ้น (Turmeric)อันมีกลิ่นหอมและเชื่อว่าเป็นมงคล ฉวีวรรณของสาวทั้งหลายซึ่งชโลมกายด้วยขมิ้นจึงมีสีออกมาในโทนเขียวดังมรกต(emerald)และหยกจักรพรรดิ(Imperial Jade)ดูงามตา ด้วยเหตุนี้พระเทวีและพระแม่อันเป็นที่ศรัทธาของเขาจึงมีฉวีวรรณเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงความพูกพันธ์กันระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ พร้อมกับเทวปกรณัมว่าพระเทวีได้ทรงอวตารลงมาเป็นพระมีนากชี จักรพรรดินีแห่งปาณฑยะอันเป็นหนึ่งในสี่ราชวงศ์/อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวตมิฬและมลยาลิในยุคต้น และความเชื่อว่า เทวปฏิมาของพระศรีมีนากชีแกะสลักมาจากหินเขียว จึงทำให้ในจิตรกรรมและปฏิมากรรมต่างๆของพระเทวีมีฉวีวรรณเขียวดังมรกตและหินหยกจักรพรรดิ และสีวรกายนี้ยังตัดกับพระภูษาสีแดงอันเป็นสีพระภูษาที่โปรดปรานของพระเทวี (ในภายหลังภาพโปสเตอร์พระมีนากชีในยุคหลังมักทรงภูษาสีเขียวเข้ากับสีพระวรกาย) เป็นที่สวยงามงดงามตา และด้วยการที่ทรงมีฉวีวรรณอันคล้ำดังมรกต จึงทรงนามว่า ศยามา (Shyāmā),ศยามสุนทรี (Shyāmasundarī) อันหมายถึง พระนางผู้ทรงความงดงามด้วยพระฉวีวรรณอันคล้ำ และ มรกตวัลลี (Marakatavallī) ซึ่งหมายถึง พระนางผู้งดงามดังเถาวัลย์มรกต. เช่นเดียวกับ พระกาลีในอินเดียตอนเหนือซึ่งมักวาดสีพระวรกายในสีฟ้าในยุคกลางและภาพโปสเตอร์ในยุคหลัง ในขณะที่ในตมิฬนาฏุ และเกรละพระกาลีมักทรงวรกายสีเขียว และแดง (สีแดงก็มาจากกรณีเดียวกัน กับการสื่ออารมณ์สภาวะโกรธา) นอกจากนี้ พระศรีราม (Shree Rama) และ พระเทเวนทร์ (Devendra) ในตมิฬนาฏุ […]
รุทระ ศยามลตันตรัม ศรี มหามารี ธยานะ มนตรัม
(บทมนต์ทำการสมาธิระลึกถึง พระศรีมหามารี จากคัมภีร์รุทระ ศยามลตันตระ) क्षुत्क्षामा कोटराक्षी मसिमलिनमुखी मुक्तकेशी रुदन्ती नाहं तृप्ता वदन्ती जगदखिलमिदं ग्रासमेकं करोमि। हस्ताभ्यां धारयन्ती ज्वलदनलशिखासन्निभं पाशमुग्रम् दन्तैर्जम्बूफलाभैः परिहरतु भयं पातुमां भद्रकाली॥ กฺษุตกฺษามา โกฏรากฺษี มสิมลินมุขี มุกฺตเกศี รุทนฺตี นาหํ ตฤปฺตา วทนฺตี ชคทขิลมิทํ คฺราสเมกํ กโรมิฯ หสฺตาภฺยำ ธารยนฺตี ชฺวลทนลศิขาสนฺนิภํ ปาศมุคฺรมฺ ทนฺไตรฺชมฺพูผลาไภะ ปริหรตุ ภยํ ปาตุมำ ภทฺรกาลีฯ। คำอ่าน กษุตกษมา โกฏะรากษี มะสิมะลินะมุขี มุกตะเกศี รุทันตี นาฮัม ตฤปฺตา วะทันตี ชะคะทะขิละมิทัม คราสะเมกัม […]
ศรี มหาลักษมี อัษฏกัม สัปตมะ โศลก(ที่7)
(บทสรรเสริญพระศรีมหาลักษมี8บท บทคาถาที่7) पद्मासनस्थिते देवि परब्रह्मस्वरूपिणि। परमेशि जगन्मातर् महालक्ष्मि नमोऽस्तु ते॥ ปทฺมาสนสฺถิเต เทวิ ปรพฺรหฺมสฺวรูปิณิฯ ปรเมศิ ชคนฺมาตรฺ มหาลกฺษมิ นโม(อ)สฺตุ เตฯ। คำอ่าน ปัทมาสะนัสถิเต เทวิ ปะระพฺรหฺมะ-สฺวรูปิณิ ปะระเมศิ ชะคันมาตัร มะหาลักษมิ นะโมสตุ เต อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย ปัดมาสะนัสถิเต เดวิ ปะระบฺรฮฺมัสวะรูปิณิ ปะระเมชิ จะกันมาตัร มะฮาลักชมิ นะโมสตุ เต คำแปล พระนางเจ้าผู้ทรงประทับบนปัทมาสนะ (พระอาสน์รูปดอกบัว) พระเทวี พระผู้เป็นรูปแห่งบรมพรหม (พระเป็นเจ้าผู้เป็นนิรันดร์ ไร้ซึ่งจุดเริ่มต้น แลจุดสิ้นสุด) พระปรเมศี (พระนางเจ้าผู้เป็นใหญ่สุด) พระผู้มารดาแห่งโลกหล้า ข้าแต่พระมหาลักษมี ขอความนอบน้อมมีแด่พระองค์เทอญ. มุรุเกศัน โควรธนธารี ทาส (กิตติกร อินทรักษา) Share […]