ความลับของลูกศรทั้งห้า มโนรูเปกฺษุโกทณฺฑา ปญฺจตนฺมาตฺรศายกา। ( มโนรูเปกษุโกทัณฑา ปัญจะตันมาตระ ศายะกา) ข้อความข้างต้นคือ บาทแรกของ ศรีลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่3 ซึ่งมีความหมายดังนี้ พระนางผู้ทรงเกาทัณฑ์อ้อยอันเป็นรูปของจิตใจ พระนางผู้ทรงลูกกุทัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า อันปัญจตันมาตระ พาณะ หรือ ลูกศรอันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า ของพระลลิตา ปรเมศวรี คัมภีร์ตันตระหลายเล่มก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างกล่าวว่า ลูกศรทั้งห้าเป็นองค์แทนของจิตสัมผัสทั้งห้าได้แก่ สปรรศะ (สัมผัส) รูป รส คัณธะ(กลิ่น) และศัพทะ (เสียง) บ้างว่า ลูกเกาทัณฑ์ทั้งห้าเป็นองค์แทนของมหาปัญจภูต หรือ ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ปฤถวี (ดิน),ชล(น้ำ),วายุ(ลม),อัคนี(ไฟ) และอากาศ ส่วนคัมภีร์ชญานารนวะ ตันตระ กล่าวว่า ลูกกุทัณฑ์ทั้งห้านั้นเป็นองค์แทนของ กโษภณะ (การเร้าอารมณ์) ทราวณะ (ความเวทนา) อากรรษณะ (การจูงใจ) วาสยะ (การอ่อนน้อมถ่อมตน,การเชื่อฟัง) และ อุนมธะ (ความลุ่มหลงมัวเมา) ทางด้านคัมภีร์ตันตระ […]
เทวะตำนาน
นักปรัชญา และชคัทคุรุทั้งสามจากอินเดียตอนใต้
1.อาทิ ศังกราจารย์ ชคัทคุรุ ศรี อาทิ ศังกราจารย์ (जगद्गुरु श्री आदि शङ्कराचार्य/Jagad Guru Shri Adi Shankaracharya) ท่านถือกำเนิดขึ้นที่แคว้นเจระ (ปัจจุบันคือ เกรละ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ท่านเป็นผู้เผยแพร่หลักปรัชญาอัทไวตะ เวทานตะ (अद्वैत वेदान्त/Advaita Vedanta) ซึ่งกล่าวถึง พรหมัน เป็นความจริงแท้ ความจริงหนึ่งเดียวสูงสุด ไร้รูป ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลเป็นเพียงมายาของพรหมัน กล่าวกันว่า ชคัทคุรุ ศรีอาทิ ศังกราจารย์นั้นเป็นอวตารของพระทักษิณามูรติ (श्रीदक्षिणामूर्ति/Shri Dakshinamurti) หรือ พระศิวะในภาคของปรมคุรุ (บรมครู)(ภาพที่ปรากฏอยู่ในโคปุรัมทางเข้าวัดแขกสีลม) และอยู่ในโลกนี้เพียงแค่ 32ชันษา เท่านั้น ก็บรรลุนิรวาณ ซึ่งท่านนั้นได้เข้าบวชเป็นสันยาสี ตั้งแต่มีอายุเพียง 8ชันษา. 2.รามานุชาจารย์ ชคัทคุรุ ศรี รามานุชาจารย์ (जगद्गुरु श्री रामानुजाचार्य/Shri Ramanujacharya) ท่านถือกำเนิดที่ ติรุเปรุมบุดูร […]
ศรี รามานุชาจารย์ – Shri Ramanujacharya
ท่านรามานุชะ (रामानुज/Ramanuja) หรือ รามานุจัร (ராமானுஜர்/Ramanujar)ในสำเนียงเรียกของชาวตมิฬ เดิมนามว่า อิไลยาฬวาร (இளையாழ்வார்/Ilaiyazhvar) ท่านกำเนิดที่ ศรีเปรุมบุดูร (ஸ்ரீபெரும்புதூர்/Sriperumbudur) ในสมัยเยาว์วัยท่านได้ศึกษาปรัชญาเวทานตะกับอาจารย์ ยาทวประกาศ (यादव प्रकाश/யாதவ பிரகாசர்/Yadava Prakasha) ที่กาญจีปุรัม แต่ศึกษาอยู่ได้ไม่นานก็ทะเลาะกับอาจารย์เกี่ยวกับการตีความบางตอนในคำสอนอุปนิษัท จึงถูกขับไล่ออกจากสำนัก ท่านจึงไปอยู่กับลุงนาม มหาปูรณะ หรือ เปริยะ นัมบิ (பெரிய நம்பி /Periya Nambi) ซึ่งเป็นพี่ของมารดา ต่อมามหาปูรณะได้พาท่านไปหา ยามุนาจารย์ (यमुनाचार्य/யமுனாசார்யர்/Yamunacharya) หัวหน้าสำนักแห่งศรีรังคัม เพื่อไปอาศัยที่นั่น แม้ยามุนาจารย์เองก็ได้ทราบถึงกิตติศัพท์ความปราดเปรื่องของรามานุชะ จึงปรารถนาที่จะแต่งตั้งรามานุชะให้เป็นหัวหน้าสำนักแทนตนที่ชรามากแล้ว แต่ความปรารถนาของยามุนาจารย์ยังไม่ทันสัมฤทธิผลก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่รามานุชะจะเดินทางไปถึง ตามที่กล่าวขานกันนั้น กล่าวว่า เมื่อรามานุชะเดินทางมาถึงที่เผาศพของยามุนาจารย์ ก็ได้เห็นนิ้ว 3 นิ้วในมือขวาของยามุนาจารย์กำไว้แน่น จึงสันนิษฐานว่า ยามุนาจารย์มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าอยู่ สามประการที่ยังทำมิสำเร็จ และหนึ่งในนั้นคือ การปรารถนาที่จะรจนาอรรถกถาพรหมสูตรที่ถูกต้องขึ้นมา ต่อมารามานุชะช่วยสนองความปรารถนาของยามุนาจารย์ได้สำเร็จ โดยได้รจนาอรรถกถาพรหมสูตรขึ้นมาฉบับหนึ่งให้นามว่า ศรีภาษยะ (श्रीभाष्य/Sri Bhashya) ตามที่กล่าวขานกันนั้น […]
ความลับแห่งการอุบัติขึ้นของชคัทคุรุ ศังกร
ชคัทคุรุ ศังกร ชนมะ รหัสยะ เมื่อ 1,322 ปีก่อน เมื่อครั้นศีลธรรมเสื่อมลง อีกทั้งคัมภีร์และหลักคำสอนทางศาสนาต่างๆถูกบิดเบือน เหล่าเศราตะพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในศรุติ คือพระเวท และอุปนิษัท หรือเวทานตะ อันเป็นคัมภีร์ชั้นต้น) และสมารตะพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์สมฤติ คือ ปุราณะ และวรรณกรรมทางศาสนาต่างๆ อันเป็นคัมภีร์ชั้นรอง) ต่างเสื่อมโทรมลง เหล่าลัทธินอกระบบไวทิกะเจริญขึ้น เหล่าทวยเทพ แลฤๅษีมุนี ต่างพากันเข้าเฝ้ากราบทูลความแก่ พระศรีทักษิณามูรติ (श्री दक्षिणामूर्ति/Shri Dakshinamurti) อันทรงเป็นรูปปรากฏแห่งองค์พระศิวศังกร ในฐานะปรมคุรุ (บรมครู) อีกทั้งอาราธนาให้เสด็จอวตารลงไปเพื่อฟื้นฟูธรรมะ และจารีตต่างๆ พระองค์ทรงตอบรับคำอาราธนานั้น ขณะเดียวกัน ในภูโลก (พื้นพิภพที่เราอาศัยอยู่) ณ หมูบ้านกลาฑี แคว้นเจระ (ปัจจุบันคือ รัฐเกรละ) มีสองสามี ภรรยาใวรรณะพราหมณ์นัมบูติรี(นัมบูติรี เป็นวรรณะพราหมณ์ของชาวมลยาลิ)คู่หนึ่ง นามว่า ศิวคุรุ (शिवगुरु/ശിവഗുരു/Shivaguru) และ อารยามพา (आर्याम्बा/ആര്യാംബാ/Aryamba) เป็นผู้ภักดียิ่งต่อพระศังกร ดำรงตนอยู่อย่างสมถะ […]
ไจตันยะ มหาประภุ
ไจตันยะ มหาประภุ (चैतन्य महाप्रभु/Chaitanya Mahaprabhu) หรือ เคาราจารย์ (गौराचार्य/Gauracharya) ท่านนั้นเป็นคุรุในเคาฑียะ ไวษณวะ (गौडीय वैष्णव/Gaudiya Vaishnava) และผู้เผยแพร่ปรัชญา อจินตยะ-เภทาเภทะ (अचिन्त्य-भेदाभेद/Achintaya-Bheda-Abheda) อันมีใจความว่า ชีวาตมันนั้นไม่แตกต่างไปจาก พรหมัน (องค์อภิวิญญาณ คือ กฤษณะ) แต่ในขณะเดียวกันก็แตกต่างกัน เคาราจารย์ ท่านสมภพเมื่อ 536 ปีที่แล้ว (ค.ศ.1486) ที่นพทวีป (नवद्वीप/नबद्वीप,Navadwip/Nabadwip) ในรัฐสุลต่านเบงกอล (ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก) โดยมีนามแต่เดิมว่า วิศวัมภร มิศระ (विश्वम्भर मिश्र/Vishvambhar Mishra) ถือกำเนิดแด่บิดาชคันนาถ มิศระ และ มารดาศจี เทวี โดยท่านได้ถือกำเนิดในวันผาลคุนี ปูรณิมา (फाल्गुनी पूर्णिमा/Phalguni Purnima) หรือ วันเพ็ญในเดือนผาลคุณี ใต้ต้นสะเดา (निम्बवृक्ष/Nimba Vriksha) ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีฉายา หรือ […]
ชคัทคุรุ ศรี อาทิ ศังกราจารย์
ชคัทคุรุ ศรี อาทิ ศังกราจารย์ (जगद्गुरु श्री आदि शङ्कराचार्य/Jagad Guru Shri Adi Shankaracharya) ท่านถือกำเนิดขึ้นที่หมู่บ้านกาลฑี ในแคว้นเจระ (ปัจจุบันคือ เกรละ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ท่านเป็นผู้เผยแพร่หลักปรัชญาอัทไวตะ เวทานตะ (अद्वैत वेदान्त/Advaita Vedanta) ซึ่งกล่าวถึง พรหมัน เป็นความจริงแท้ ความจริงหนึ่งเดียวสูงสุด ไร้รูป ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลเป็นเพียงมายาของพรหมัน เชื่อกันว่า ชคัทคุรุ ศรีอาทิ ศังกราจารย์นั้นเป็นอวตารของพระทักษิณามูรติ (श्रीदक्षिणामूर्ति/Shri Dakshinamurti) หรือ พระศิวะในภาคของปรมคุรุ (บรมครู)(ภาพที่ปรากฏอยู่ในโคปุรัมทางเข้าวัดแขกสีลม) และอยู่ในโลกนี้เพียงแค่ 32ชันษา เท่านั้น ก็บรรลุนิรวาณ ซึ่งท่านนั้นได้เข้าบวชเป็นสันยาสี ตั้งแต่มีอายุเพียง 8ชันษา หลังจากการละสังขารของ ศิวคุรุผู้บิดา กล่าวกันว่า พระทักษิณามูรติ รูปปรากฏของพระศิวะในฐานะปรมคุรุ ทรงอวตารลงมายังพิภพนี้เมื่อ 1,321ปีก่อน (พ.ศ.1243) ตามคำอาราธนาของพระพรหมา และเหล่าทวยเทพ พร้อมทั้งเหล่าฤๅษีมุนีทั้งหลาย […]
รูป และที่ประทับแห่งองค์พระวิษณุ
อันที่จริงแล้วพระวิษณุทรงมีหลายรูปนับไม่ถ้วน หากแต่ในการณ์นี้เราจะขอกล่าวถึงรูปหลักของพระองค์สามรูป และที่ประทับของพระองค์ ซึ่งหลายคนมักจะสับสนระหว่าง ไวกุณฐะ และเกษียรสมุทร ในวันนี้จึงขอกล่าวถึงรูปแห่งพระปุรุษ และที่ประทับของพระองค์โดยคร่าว ดังต่อไปนี้ พระมหาวิษณุ , การโณทกศายี_วิษณุ พระมหาวิษณุ (महाविष्णु/Mahavishnu) ทรงประทับในไวกุณฐะ (वैकुण्ठ/Vaikuntha) อันเป็นทิพยสถาน อยู่เหนือโลกวัตถุ มีรูปเป็นราชมณเฑียร รายล้อมด้วยเหล่าบริวารหญิง-ชาย ซึ่งล้วนมีรูปลักษณ์เหมือน พระมหาวิษณุ แลพระมหาลักษมีเอง และในอีกฝากหนึ่งของโลกทิพย์นี้ พระองค์ทรงบรรทมเหนือ การณสมุทร หรือ ทะเลแห่งการสร้าง ด้วยเหตุนี้จึงมีนามว่า การโณทกศายี วิษณุ (कारणोदकशायी विष्णु/Karanodakasayi Vishnu) เป็นผู้ให้กำเนิดจักรวาลวัตถุทั้งหมดจากอณูแห่งพระวรกายของพระองค์ขณะกระทำซึ่งโยคนิทรา พระครรโภทกศายี_วิษณุ พระครรโภทกศายี วิษณุ (गर्भोदकशायी विष्णु/Garbhodakasayi Vishnu) ทรงเป็นรูปแห่งพระวิษณุ ที่เข้าไปในจักรวาลวัตถุทั้งปวง อันกำเนิดออกมาจากพระวรกายของพระการโณทกศายี วิษณุ ขณะกำลังหายพระทัยออกมา ครรโภทกศายี วิษณุ ทรงประทับเหนือ ครรโภท สาคร (गर्भोद सागर/Garbhoda Sagara) หรือ ทะเลแห่งการกำเนิด […]
พระลลิตามพิกา รูปพลังอำนาจแห่งพระวิษณุผู้ตอบสนองซึ่งความสุขในวัตถุ
ในอัธยายแรกของคัมภีร์ ลลิโตปาขยานะ (श्री ललितोपाख्यान/Sri Lalitopakhyana) อันเป็นส่วนหนึ่งจาก พรหมาณฑะ มหาปุราณะ (श्री ब्रह्माण्ड महापुराण/Sri Brahmanda Mahapurana) ได้กล่าวถึงความโทมนัส ของ พระมหรรษิ อคัสตยะ (महर्षि अगस्त्य/Maharshi Agastya) ถึงบาป และความชั่วร้ายในกลียุค พระฤๅษีจึงออกจาริกแสวงบุญไปตามปุณยสถานต่างๆ เพื่อยังความสุขสงบในจิตใจจากความทุกข์นั้น และเมื่อจาริกมาถึง เทวสถาน ศรี วรทราช สามี (श्री वरदराज स्वामी देवस्थानम्/Sri Varadaraja Swami Devasthanam) ในมหานคร กาญจี (काञ्ची महानगर/Kanchi Mahanagara) อันเป็นหนึ่งในเจ็ดมหานครศักดิ์สิทธิ์ พระหยครีวะ (श्री हयग्रीव/Sri Hayagriva) ผู้ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพระวิษณุเอง ได้ปรากฏองค์แก่ พระมหรรษิ อคัสตยะ จากนั้น พระมหรรษิ อคัสตยะ ได้ตรัสถามพระหยครีวะ ถึงหนทางหลุดพ้นจากอำนาจมายา […]
ความลับของลูกศรทั้งห้า
ปัญจพาณะ รหัสยะ มโนรูเปกฺษุโกทณฺฑา ปญฺจตนฺมาตฺรศายกา। ( มโนรูเปกษุโกทัณฑา ปัญจะตันมาตระ ศายะกา) ข้อความข้างต้นคือ บาทแรกของ ศรีลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่3 ซึ่งมีความหมายดังนี้ พระนางผู้ทรงเกาทัณฑ์อ้อยอันเป็นรูปของจิตใจ พระนางผู้ทรงลูกกุทัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า อันปัญจตันมาตระ พาณะ หรือ ลูกศรอันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า ของพระลลิตา ปรเมศวรี คัมภีร์ตันตระหลายเล่มก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างกล่าวว่า ลูกศรทั้งห้าเป็นองค์แทนของจิตสัมผัสทั้งห้าได้แก่ สปรรศะ (สัมผัส) รูป รส คัณธะ(กลิ่น) และศัพทะ (เสียง) บ้างว่า ลูกเกาทัณฑ์ทั้งห้าเป็นองค์แทนของมหาปัญจภูต หรือ ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ปฤถวี (ดิน),ชล(น้ำ),วายุ(ลม),อัคนี(ไฟ) และอากาศ ส่วนคัมภีร์ชญานารนวะ ตันตระ กล่าวว่า ลูกกุทัณฑ์ทั้งห้านั้นเป็นองค์แทนของ กโษภณะ (การเร้าอารมณ์) ทราวณะ (ความเวทนา) อากรรษณะ (การจูงใจ) วาสยะ (การอ่อนน้อมถ่อมตน,การเชื่อฟัง) และ อุนมธะ (ความลุ่มหลงมัวเมา) […]
ที่มาของพระนาม ขันธกุมาร ในประเทศไทย
อันว่านาม ขันธกุมาร ที่คนไทยนิยมคุ้นเคยกันนั้นมาจากคำว่า ขันธ์ หรือ ขันธะ ในภาษาปาลิ (ภาษาบาลี) ซึ่งคำนี้ในภาษาสันสกฤต คือ สกันธะ หมายถึง กอง,หมวดหมู่ ขันธกุมาร อาจหมายถึง กุมารผู้เป็นนายกอง นายหมู่? แต่แท้จริงแล้ว นามของพระองค์คือ สกันทะ อันหมายถึง ผู้ทำลาย ในภาษาสันสกฤต สฺกนฺท ยังหมายถึง การปะทุ,การทะลัก,การหกหล่น,การโจมตี,ผู้โจมตี ได้ด้วย ยังให้ความหมายเป็นนัยได้อีกว่า ผู้เกิดจากการปะทุของพระเดชานุภาพของพระศิวะ (ตามเทวปกรณ์ในปุราณะ พระองค์เกิดจากพีชะของพระศิวะ) และ ผู้โจมตี ยังมีนัยถึง สถานะเทวมหาเสนา ของพระองค์ สกันทะ อันหมายถึง ผู้ทำลายนั้นมีความหมายเช่น เดียวกับ หน้าที่ของพระรุทระผู้บิดรเทพ คือ ทำลายบาป ความเลวทรามชั่วช้าทั้งปวง ตามตำนานในปุราณะ พระองค์บังเกิดขึ้นเพื่อปราบตารกาสุระ ผู้ได้รับพรจากพระพรหมาว่า ให้ตนตายด้วยโอรสของพระศิวะ หลังจากการวิวาห์ของ พระศิวะ และพระปารวตี พระองค์ทั้งสองได้ใช้เวลาร่วมกัน แต่การร่วมกันของพระองค์ทั้งสองยังทำให้ทั้งจักรวาลสั่นสะเทือน เหล่าเทวะจึงต่างมาเข้าเฝ้าพระองค์ทั้งสอง ซึ่งเป็นเพลาอันไม่สมควร […]