เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

รูป และที่ประทับแห่งองค์พระวิษณุ

อันที่จริงแล้วพระวิษณุทรงมีหลายรูปนับไม่ถ้วน หากแต่ในการณ์นี้เราจะขอกล่าวถึงรูปหลักของพระองค์สามรูป และที่ประทับของพระองค์ ซึ่งหลายคนมักจะสับสนระหว่าง ไวกุณฐะ และเกษียรสมุทร ในวันนี้จึงขอกล่าวถึงรูปแห่งพระปุรุษ และที่ประทับของพระองค์โดยคร่าว ดังต่อไปนี้ พระมหาวิษณุ , การโณทกศายี_วิษณุ พระมหาวิษณุ (महाविष्णु/Mahavishnu) ทรงประทับในไวกุณฐะ (वैकुण्ठ/Vaikuntha) อันเป็นทิพยสถาน อยู่เหนือโลกวัตถุ มีรูปเป็นราชมณเฑียร รายล้อมด้วยเหล่าบริวารหญิง-ชาย ซึ่งล้วนมีรูปลักษณ์เหมือน พระมหาวิษณุ แลพระมหาลักษมีเอง และในอีกฝากหนึ่งของโลกทิพย์นี้ พระองค์ทรงบรรทมเหนือ การณสมุทร หรือ ทะเลแห่งการสร้าง ด้วยเหตุนี้จึงมีนามว่า การโณทกศายี วิษณุ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระลลิตามพิกา รูปพลังอำนาจแห่งพระวิษณุผู้ตอบสนองซึ่งความสุขในวัตถุ

ในอัธยายแรกของคัมภีร์ ลลิโตปาขยานะ (श्री ललितोपाख्यान/Sri Lalitopakhyana) อันเป็นส่วนหนึ่งจาก พรหมาณฑะ มหาปุราณะ (श्री ब्रह्माण्ड महापुराण/Sri Brahmanda Mahapurana) ได้กล่าวถึงความโทมนัส ของ พระมหรรษิ อคัสตยะ (महर्षि अगस्त्य/Maharshi Agastya) ถึงบาป และความชั่วร้ายในกลียุค พระฤๅษีจึงออกจาริกแสวงบุญไปตามปุณยสถานต่างๆ เพื่อยังความสุขสงบในจิตใจจากความทุกข์นั้น และเมื่อจาริกมาถึง เทวสถาน ศรี วรทราช สามี (श्री […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ที่มาของพระนาม ขันธกุมาร ในประเทศไทย

อันว่านาม ขันธกุมาร ที่คนไทยนิยมคุ้นเคยกันนั้นมาจากคำว่า ขันธ์ หรือ ขันธะ ในภาษาปาลิ (ภาษาบาลี) ซึ่งคำนี้ในภาษาสันสกฤต คือ สกันธะ หมายถึง กอง,หมวดหมู่ ขันธกุมาร อาจหมายถึง กุมารผู้เป็นนายกอง นายหมู่? แต่แท้จริงแล้ว นามของพระองค์คือ สกันทะ อันหมายถึง ผู้ทำลาย ในภาษาสันสกฤต สฺกนฺท ยังหมายถึง การปะทุ,การทะลัก,การหกหล่น,การโจมตี,ผู้โจมตี ได้ด้วย ยังให้ความหมายเป็นนัยได้อีกว่า ผู้เกิดจากการปะทุของพระเดชานุภาพของพระศิวะ (ตามเทวปกรณ์ในปุราณะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ศรี โคเปศวร พระศิวะในรูปของโคปี

ศรี โคเปศวร มณเฑียร (श्री गोपेश्वर मंदिर/Sri Gopeshwar Mandir) เป็นหนึ่งในปุณยสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ อันตั้งอยู่ในวฤนทาวัน (वृन्दावन/Vrindavan) ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระกฤษณะ เป็นภูโลก วฤนทาวัน หรือ โคโลก ที่ได้มาตั้งอยู่ในโลกวัตถุนี้ และเป็นสถานที่พระกฤษณะ อวตารลงมาแสดงลีลาในวัยเด็กของพระองค์ พร้อมทั้ง ศรีมตี ราธา รานี อันเป็น หฺลาทินี ศักติ หรือ พลังอำนาจแห่งความสุขทิพย์ของพระองค์ ศรี โคเปศวรนั้นได้รับการบูชาในฐานะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

บทสดุดี พระโคเปศวร

ศรี โคเปศวร สตุติ वृन्दावनावनिपते जय सोम सोममौले सनक-सनन्दन-सनातन-नारदेय गोपीश्वर वृजविलासी युगाङ्घ्री पद्मे प्रेम प्रयच्छ निरुपाधि नमो नमस्ते วฤนฺทาวนาวนิปเต ชย โสม โสมเมาเล สนก-สนนฺทน-สนาตน-นารเทย โคปีศฺวร วฤชวิลาสี ยุคางฺฆฺรี ปทฺเม เปฺรม ปฺรยจฺฉ นิรุปาธิ นโม […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

บทสรรเสริญ พระโคเปศวร

ศรี โคเปศวร สตวะ श्रीमद्गोपीश्वर वन्दे शंकरं करुणामयम्। सर्वक्लेशहरणं देवं वृन्दयारणयं रतिप्रदे॥ ศฺรีมทฺโคปีศฺวร วนฺเท ศํกรํ กรุณามยมฺฯ สรฺวเกฺลศหรณํ เทวํ วฤนทยารณยํ รติปฺรเทฯ। คำอ่าน ศรีมัทโคปีศวะระ วันเท ศังกะรัม กะรุณามะยัม สัรวะ กเลศะ หะระณัม เทวัม วฤนทะยาระณะยัม ระติประเท […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

เหตุใดพระแม่มีนากชี และพระอุมารวมถึงอวตารต่างๆของพระองค์ถึงมีวรกายสีเขียว

เราทั้งหลายอาจคุ้นชินกับภาพจิตรกรรมหรือแม้แต่ปฏิมากรรมของพระอุมาในภาคต่างๆกันไปในชั้นต่างๆของโคปุรัม(Gopuram)เทวสถานของไศวะนิกายและแม้แต่มณฑป(Mandapa)ของพระเทวีในรัฐตมิฬนาฏุ (Tamil Naadu) และรัฐเกรละ(Kerala)ในอินเดียตอนใต้ซึ่งมักมีพระวรกายสีเขียว แต่เหตุใดเล่าพระฉวีวรรณของพระองค์จึงมีสีเขียว วันนี้ผมจึงจะขอกล่าวอธิบายถึงข้อสงสัยนี้ของพระสาวกผู้ศรัทธาหลายท่าน อันพระฉวีวรรณอันเขียวดังมรกตและหยกพม่าที่เราเห็นกันตามภาพจิตรกรรมในยุคต่างๆตั้งแต่โบราณนานมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระปฏิมาบนโคปุรัมและบนมณฑปพร้อมทั้งพระปฏิมาบนเสาภายในมณฑป(Mandapa Pillar Sculptures)ยุคใหม่นั้น แท้จริงแล้วมาจากฉวีวรรณอันคล้ำ หรือผิวคล้ำนั้นเอง ซึ่งหากกล่าวตามศาสนวิทยานั้นมาจากอิทธิพลของชนชาติ ซึ่งชาวทราวิฑในอินเดียตอนใต้นั้นมักมีผิวคล้ำ รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของหญิงสาวในอินเดียใต้(และเป็นวัฒนธรรมร่วมในเอเชียใต้และเอเชีบอาคเนย์อีกด้วย)ซึ่งมักชโลมผิวด้วยขมิ้น (Turmeric)อันมีกลิ่นหอมและเชื่อว่าเป็นมงคล ฉวีวรรณของสาวทั้งหลายซึ่งชโลมกายด้วยขมิ้นจึงมีสีออกมาในโทนเขียวดังมรกต(emerald)และหยกจักรพรรดิ(Imperial Jade)ดูงามตา ด้วยเหตุนี้พระเทวีและพระแม่อันเป็นที่ศรัทธาของเขาจึงมีฉวีวรรณเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงความพูกพันธ์กันระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ พร้อมกับเทวปกรณัมว่าพระเทวีได้ทรงอวตารลงมาเป็นพระมีนากชี จักรพรรดินีแห่งปาณฑยะอันเป็นหนึ่งในสี่ราชวงศ์/อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวตมิฬและมลยาลิในยุคต้น และความเชื่อว่า เทวปฏิมาของพระศรีมีนากชีแกะสลักมาจากหินเขียว จึงทำให้ในจิตรกรรมและปฏิมากรรมต่างๆของพระเทวีมีฉวีวรรณเขียวดังมรกตและหินหยกจักรพรรดิ และสีวรกายนี้ยังตัดกับพระภูษาสีแดงอันเป็นสีพระภูษาที่โปรดปรานของพระเทวี (ในภายหลังภาพโปสเตอร์พระมีนากชีในยุคหลังมักทรงภูษาสีเขียวเข้ากับสีพระวรกาย) เป็นที่สวยงามงดงามตา และด้วยการที่ทรงมีฉวีวรรณอันคล้ำดังมรกต จึงทรงนามว่า […]

เทวะตำนาน

พระศรีเทวี กรุมาริ แห่ง ติรุเวรกาฑุ

พระศรีเทวี กรุมาริ แห่ง ติรุเวรกาฑุ (Shree Devi Karumari of Thiruverkadu) พระกรุมาริอัมมันถือเป็นเจ้าแม่ท้องถิ่นอีกองค์หนึ่งของชาวตมิฬที่ลือนามในความศักดิ์สิทธิ์ และมีตำนานที่โดดเด่นและเป็นที่สักการะบูชาอย่างแพร่หลาย โดยตำนานกล่าวว่า พระกรุมาริทรงมีรูปเป็นกาฬะสรรปะ หรือ กรุปปุ นาคัม หมายถึงพญาอสรพิษสีดำ (คำว่า กรุ ก็มาจากคำว่า กรุปปุ อันหมายถึง สีดำ หรือ ผิวดำนี้เอง) ในจอมปลวก ซึ่งเป็นเครพศรัทธาของชาวบ้านจนกระทั่งคืนหนึ่งทรงไปในนิมิตของพระสาวก ทรงตรัสบอกให้พระสาวกสร้างเทวาลัยขึ้นในตำแหน่งของจอมปลวกนั้น วันต่อมาชาวบ้านได้พบองค์สยมภูของพระเทวีปรากฏขึ้นที่จอมปลวกดังกล่าว (กล่าวกันว่าเป็นองค์พระพักตร์) […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

ภาพพระคุรุวายูรัปปัน

มาในวันสิ้นปีพอดีวาดโดยน้องนะโม จากเพจ จิตฺรารฺจน चित्रार्चन พระฉวีวรรณสีคล้ำ สีทะมึน จากคติเรื่องฉวีวรรณขององค์ภควานตามยุค พระคุรุวายูรัปปัน ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์เหล่าสรรพสัตว์ในกลียุค ทรงรับบาปทั้งปวงของสาวกไว้ด้วยวรกายของพระองค์ แลคุรุวายูร ยังได้ชื่อว่า ภูโลกไวกุณฐะ เช่นเดียวกับ ติรุมะลา อันเป็นที่ประทับแห่งพระเวงกเฏศวร อีกทั้ง คุรุวายูร ยังมีอีกชื่อว่า ทักษิณะทวารกา (ทวารกาแห่งแดนใต้) พระนลาฏประดับตกแต่งด้วย อูรธวะ ปุณฑระ ซึ่งในที่นี้ได้ทำขึ้นในรูปแบบ มัธวะ สัมประทายะ ซึ่งเป็นไวษณวะ สัมประทายะที่แพร่หลายในทางตอนใต้ของอินเดีย และมัธวาจารย์ยังเป็นหนึ่งในคุรุปะรัมปรา […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

พระเคารี

เคาระ(गौर/Gaura)มิได้แปลว่า ขาว (White) เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง สีทอง (Golden) หรือ เหลืองสว่าง แบบ หมิงฮวง (明黃/míng huáng)(Bright yellow) ของจีนได้อีกด้วย นอกจากนี้เคาระ ยังหมายถึง สีเหลืองขมิ้น (Turmeric yellow colour) หรือ สีเหลืองหญ้าฝรั่น (Saffron yellow colour) ฉะนั้น เคารี (गौरी/Gauri) อาจมิได้หมายถึง […]