

Related Articles
ศรี อาตตุกาล ภควตี
อาตตุกาลัมมะ (ആറ്റുകാലമ്മ/Aattukalamma) ทรงเป็นรูปปรากฏหนึ่งของพระภัทรกาลี (ഭദ്രകാളി/Bhadrakali) เพื่อปราบทรราช เนฏุญเจฬิยัน แห่งมธุราปุรี ตำนานกล่าวถึง พระภัทรกาลีทรงอวตารมาในรูปมนุษย์นาม กัณณกิ (കണ്ണകി/கண்ணகி/Kannagi) เป็นธิดาเศรษฐีในย่านปูมปุหาร ปากแม่น้ำกาเวริ ในแคว้นโจฬะ และได้วิวาห์กับ โกวลัน (കോവലൻ/கோவலன்/Kovalan) ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีเช่นกัน กล่าวว่า งานวิวาห์ของทั้งสองจัดอย่างยิ่งใหญ่และเป็นที่เลื่องลือของประชาชนในเมือง ในวันวิวาห์กษัตริย์แห่งแคว้นโจฬะยังได้ทรงประทาน วลัยบาทอันบรรจุอัญมณีไว้ให้แก่โกวลันสวมให้แก่กัณณกิในวันวิวาห์ด้วย ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขจนกระทั่งงานเทศกาลบูชาพระอินทร์ในราชธานีแห่งโจฬะมาถึง ซึ่งโกวลันได้ลากัณณกิไปร่วมงานในราชธานี ในราชธานีโกวลันได้พบกับ มาธวี หรือ มาธวิ (മാധവി)மாதவி/Madhavi) คณิกาอันเป็นที่เลื่องลือในความงาม โกวลันหลงใหลในความงามของนางคณิกามาธวี และอยู่กินฉันสามีภรรยา จนกระทั่งมีธิดาหนึ่งคนนาม มณิเมขละ หรือ มณิเมขไล ในสำเนียงตมิฬ (മണിമേഖല/மணிமேகலை)(Manimekhala or Manimekalai in Tamil) ต่อมาโกวลันได้สำนึก นึกขึ้นได้ว่าตนทำผิดกับกัณณกิผู้รอคอยสามีกลับบ้านอยู่ทุกวันคืน และ นางนี้แลเป็นผู้จ่ายค่ารื่นรมย์กับมาธวีแก่เขา โดยมารดาของมาธวีนั้นเป็นผู้ไปรีดไถกับนาง แต่ทว่า กัณณกิ หาใช่ภรรยาทั่วไปไม่ นางเป็นผู้จงรักภักดีต่อภัสดาเป็นอย่างยิ่ง นางยึดถือความสุขของภัสดาคือความสุขของตน ด้วยเหตุนี้นางจึงยอมทุกอย่างเพื่อความสุขของภัสดา โกวลันสำนึกได้จึงละทิ้งมาธวีกลับไปหากัณณกิ กัณณกิมิความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นภัสดากลับมา […]
คัมภีร์ภควทฺคีตา
คัมภัร์ภควทฺคีตา • กฤษฺณไทฺวปายนวฺยาส [ปริวรรต: เกียรติขจร ชัยเธียร] คัมภีร์ภควทคีตาฉบับนี้สามารถดาวโหลดได้ที่ http://www.thungyai.org/_jayadhira/Books/BhagavadGita/Bhagavad-Gita.pdf ทั้งนี้ทั้งนั้นผมต้องขอบพระคุณท่านผู้ทำการแปลและนำมาเผยแพร่ โดยมีข้อแม้ที่ว่า สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๔๗ สำนวนฉบับแปลโดยผู้แปล ห้ามเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ *************************************************** คัมภีร์ “ศรีมทฺภควทฺคีตา” ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวได้ว่าเป็นอุปนิษทฺหนึ่งของฮินดู ที่ปัจจุบันยังไม่อาจได้ข้อยุติว่ารจนามาแต่ครั้งกาลใด. แต่สาระสำคัญนั้นอยู่ที่เนื้อหาที่รจนาไว้เหมือนสูตรที่รวบรวมปรัชญาฮินดู โยคะไว้ทั้งหมด. คนไทยโดยมากได้แต่รับรู้ว่าเป็นคำสนธนาระหว่างศรีกฤษฺณกับศรีอรชุนผ่านการ เล่าเรื่องของสญฺชย (มหาดเล็กของท้าวธฤฺตราษฺฏฺรที่มีพระเนตรบอดจึงมอบดวงตาทิพย์แก่สญฺชยเพื่อ ให้บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆให้ฟัง) ก่อนการเริ่มต้นสงครามมหาภารต ณ ทุ่งกุรุเกฺษตร โดยน้อยคนนักจะได้เคยอ่านโศฺลกต้นฉบับจริงๆว่ามีเนื้อหาอย่างไร. ความจริงแล้วเนื้อหาในคำภีร์ภควทฺคีตาทั้งหมดรจนาขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยทั้งสิ้น (หากเทียบของพุทธก็คงจะเทียบได้กับภาวะของพุทธองค์ขณะบำเพ็ญเพียรเพื่อเอาชนะมาร (มารวิชย) ก่อนที่พุทธองค์จะบรรลุนิพาน). ดังนั้นหากเราตัดความคิดในเชิงปุราณวิทยาที่เคยรับรู้มาเกี่ยวกับคำภีร์นี้ทิ้งไป จะเห็นสัจธรรมของปรัชญาฮินดูว่าลุ่มลึกและกว้างขวางมากมายอย่างเหลือคณา. จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมนักคิดนักเขียนของตะวันตกที่มีชื่อเสียงหลายๆคน ต่างได้รับอิทธิพลจากการอ่านคัมภีร์นี้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Herman Hesse, Friedrich Nietzsche, Leo Tolstoy, […]
พิธีนวราตรี วัดเทพมณเฑียร
Share via: Facebook Twitter LinkedIn Copy Link Print More