เทวะตำนาน

ปาวาไฏรายัน

ปาวาไฏรายัน บุตรชายแห่ง อังกาลัมมัน (Pavadairayan The son of Ankalamman) ปาวาไฏรายัน (பாவாடைராயன் / Pavadairayan)นั้น ถือเป็น เทพท้องถิ่น หรือ เทพผู้พิทักษ์หมู่บ้าน และเทพประจำตระกูลองค์หนึ่งของชาวตมิฬ นับถือเป็นบุตรของอังกาลัมมัน ภายในวัดของพระอังกาละ ปรเมศวรี มักมีศาลของ ปาวาไฏรายันอยู่ทุกวัด ตำนานกล่าวถึงครั้งพระศิวะต้องคำสาปของพระสรัสวตี และประสบวิบากกรรมจากการตัดเศียรที่ห้าของพระพรหมา พระศิวะทรงระหกระเหินภิกขาจารไปทุกหนแห่ง จนกระทั่งมาถึงบ้านของ เปตตาณฑะวัน (பெத்தாண்டவன் / Petthandavan) […]

เกร็ดความรู้

“โกยิล” เทวสถานอันยิ่งใหญ่ แห่งอินเดียใต้ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.138

https://www.youtube.com/watch?v=Y-pgo-2pZeI ขอขอบพระคุณ “ประวัติศาสตร์ นอกตำรา” ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเผยแพร่

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระลลิตามพิกา รูปพลังอำนาจแห่งพระวิษณุผู้ตอบสนองซึ่งความสุขในวัตถุ

ในอัธยายแรกของคัมภีร์ ลลิโตปาขยานะ (श्री ललितोपाख्यान/Sri Lalitopakhyana) อันเป็นส่วนหนึ่งจาก พรหมาณฑะ มหาปุราณะ (श्री ब्रह्माण्ड महापुराण/Sri Brahmanda Mahapurana) ได้กล่าวถึงความโทมนัส ของ พระมหรรษิ อคัสตยะ (महर्षि अगस्त्य/Maharshi Agastya) ถึงบาป และความชั่วร้ายในกลียุค พระฤๅษีจึงออกจาริกแสวงบุญไปตามปุณยสถานต่างๆ เพื่อยังความสุขสงบในจิตใจจากความทุกข์นั้น และเมื่อจาริกมาถึง เทวสถาน ศรี วรทราช สามี (श्री […]

เกร็ดความรู้

ศรี ลลิตา ธยานะ มนตระ ประถมโศลก

บททำการสมาธิระลึกพระศรีลลิตา ปฐมโศลก सिन्दूरारुण-विग्रहां त्रिनयनां माणिक्यमौलि स्फुरत् तारानायक-शेखरां स्मितमुखी मापीन-वक्षोरुहाम्। पाणिभ्यामलिपूर्ण-रत्न-चषकं रक्तोत्पलं बिभ्रतीं सौम्यां रत्न-घटस्थ रक्तचरणां ध्यायेत् परामम्बिकाम्॥ สินฺทูรารุณ-วิคฺรหำ ตฺรินยนำ มาณิกฺยเมาลิ สฺผูรตฺ ตารานายก-เศขรำ สฺมิตมุขี มาปีน-วกฺโษรุหามฺ। ปาณิภฺยามลิปูรฺณ-รตฺน-จษกํ รกฺโตตฺปลํ วิภฺรตีํ เสามฺยำ รตฺน-ฆฏสฺฐ รกฺตจรณำ […]

Uncategorized

ศรี อาตตุกาล ภควตี

อาตตุกาลัมมะ (ആറ്റുകാലമ്മ/Aattukalamma) ทรงเป็นรูปปรากฏหนึ่งของพระภัทรกาลี (ഭദ്രകാളി/Bhadrakali) เพื่อปราบทรราช เนฏุญเจฬิยัน แห่งมธุราปุรี ตำนานกล่าวถึง พระภัทรกาลีทรงอวตารมาในรูปมนุษย์นาม กัณณกิ (കണ്ണകി/கண்ணகி/Kannagi) เป็นธิดาเศรษฐีในย่านปูมปุหาร ปากแม่น้ำกาเวริ ในแคว้นโจฬะ และได้วิวาห์กับ โกวลัน (കോവലൻ/கோவலன்/Kovalan) ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีเช่นกัน กล่าวว่า งานวิวาห์ของทั้งสองจัดอย่างยิ่งใหญ่และเป็นที่เลื่องลือของประชาชนในเมือง ในวันวิวาห์กษัตริย์แห่งแคว้นโจฬะยังได้ทรงประทาน วลัยบาทอันบรรจุอัญมณีไว้ให้แก่โกวลันสวมให้แก่กัณณกิในวันวิวาห์ด้วย ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขจนกระทั่งงานเทศกาลบูชาพระอินทร์ในราชธานีแห่งโจฬะมาถึง ซึ่งโกวลันได้ลากัณณกิไปร่วมงานในราชธานี ในราชธานีโกวลันได้พบกับ มาธวี หรือ มาธวิ (മാധവി)மாதவி/Madhavi) คณิกาอันเป็นที่เลื่องลือในความงาม […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ที่มาของพระนาม ขันธกุมาร ในประเทศไทย

อันว่านาม ขันธกุมาร ที่คนไทยนิยมคุ้นเคยกันนั้นมาจากคำว่า ขันธ์ หรือ ขันธะ ในภาษาปาลิ (ภาษาบาลี) ซึ่งคำนี้ในภาษาสันสกฤต คือ สกันธะ หมายถึง กอง,หมวดหมู่ ขันธกุมาร อาจหมายถึง กุมารผู้เป็นนายกอง นายหมู่? แต่แท้จริงแล้ว นามของพระองค์คือ สกันทะ อันหมายถึง ผู้ทำลาย ในภาษาสันสกฤต สฺกนฺท ยังหมายถึง การปะทุ,การทะลัก,การหกหล่น,การโจมตี,ผู้โจมตี ได้ด้วย ยังให้ความหมายเป็นนัยได้อีกว่า ผู้เกิดจากการปะทุของพระเดชานุภาพของพระศิวะ (ตามเทวปกรณ์ในปุราณะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

เหตุใดพระแม่มีนากชี และพระอุมารวมถึงอวตารต่างๆของพระองค์ถึงมีวรกายสีเขียว

เราทั้งหลายอาจคุ้นชินกับภาพจิตรกรรมหรือแม้แต่ปฏิมากรรมของพระอุมาในภาคต่างๆกันไปในชั้นต่างๆของโคปุรัม(Gopuram)เทวสถานของไศวะนิกายและแม้แต่มณฑป(Mandapa)ของพระเทวีในรัฐตมิฬนาฏุ (Tamil Naadu) และรัฐเกรละ(Kerala)ในอินเดียตอนใต้ซึ่งมักมีพระวรกายสีเขียว แต่เหตุใดเล่าพระฉวีวรรณของพระองค์จึงมีสีเขียว วันนี้ผมจึงจะขอกล่าวอธิบายถึงข้อสงสัยนี้ของพระสาวกผู้ศรัทธาหลายท่าน อันพระฉวีวรรณอันเขียวดังมรกตและหยกพม่าที่เราเห็นกันตามภาพจิตรกรรมในยุคต่างๆตั้งแต่โบราณนานมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระปฏิมาบนโคปุรัมและบนมณฑปพร้อมทั้งพระปฏิมาบนเสาภายในมณฑป(Mandapa Pillar Sculptures)ยุคใหม่นั้น แท้จริงแล้วมาจากฉวีวรรณอันคล้ำ หรือผิวคล้ำนั้นเอง ซึ่งหากกล่าวตามศาสนวิทยานั้นมาจากอิทธิพลของชนชาติ ซึ่งชาวทราวิฑในอินเดียตอนใต้นั้นมักมีผิวคล้ำ รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของหญิงสาวในอินเดียใต้(และเป็นวัฒนธรรมร่วมในเอเชียใต้และเอเชีบอาคเนย์อีกด้วย)ซึ่งมักชโลมผิวด้วยขมิ้น (Turmeric)อันมีกลิ่นหอมและเชื่อว่าเป็นมงคล ฉวีวรรณของสาวทั้งหลายซึ่งชโลมกายด้วยขมิ้นจึงมีสีออกมาในโทนเขียวดังมรกต(emerald)และหยกจักรพรรดิ(Imperial Jade)ดูงามตา ด้วยเหตุนี้พระเทวีและพระแม่อันเป็นที่ศรัทธาของเขาจึงมีฉวีวรรณเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงความพูกพันธ์กันระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ พร้อมกับเทวปกรณัมว่าพระเทวีได้ทรงอวตารลงมาเป็นพระมีนากชี จักรพรรดินีแห่งปาณฑยะอันเป็นหนึ่งในสี่ราชวงศ์/อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวตมิฬและมลยาลิในยุคต้น และความเชื่อว่า เทวปฏิมาของพระศรีมีนากชีแกะสลักมาจากหินเขียว จึงทำให้ในจิตรกรรมและปฏิมากรรมต่างๆของพระเทวีมีฉวีวรรณเขียวดังมรกตและหินหยกจักรพรรดิ และสีวรกายนี้ยังตัดกับพระภูษาสีแดงอันเป็นสีพระภูษาที่โปรดปรานของพระเทวี (ในภายหลังภาพโปสเตอร์พระมีนากชีในยุคหลังมักทรงภูษาสีเขียวเข้ากับสีพระวรกาย) เป็นที่สวยงามงดงามตา และด้วยการที่ทรงมีฉวีวรรณอันคล้ำดังมรกต จึงทรงนามว่า […]

เทวะตำนาน

พระศรีเทวี กรุมาริ แห่ง ติรุเวรกาฑุ

พระศรีเทวี กรุมาริ แห่ง ติรุเวรกาฑุ (Shree Devi Karumari of Thiruverkadu) พระกรุมาริอัมมันถือเป็นเจ้าแม่ท้องถิ่นอีกองค์หนึ่งของชาวตมิฬที่ลือนามในความศักดิ์สิทธิ์ และมีตำนานที่โดดเด่นและเป็นที่สักการะบูชาอย่างแพร่หลาย โดยตำนานกล่าวว่า พระกรุมาริทรงมีรูปเป็นกาฬะสรรปะ หรือ กรุปปุ นาคัม หมายถึงพญาอสรพิษสีดำ (คำว่า กรุ ก็มาจากคำว่า กรุปปุ อันหมายถึง สีดำ หรือ ผิวดำนี้เอง) ในจอมปลวก ซึ่งเป็นเครพศรัทธาของชาวบ้านจนกระทั่งคืนหนึ่งทรงไปในนิมิตของพระสาวก ทรงตรัสบอกให้พระสาวกสร้างเทวาลัยขึ้นในตำแหน่งของจอมปลวกนั้น วันต่อมาชาวบ้านได้พบองค์สยมภูของพระเทวีปรากฏขึ้นที่จอมปลวกดังกล่าว (กล่าวกันว่าเป็นองค์พระพักตร์) […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พระมีนากษี

श्रीमत्सुन्दरनायिकां भयहरां ज्ञानप्रदां निर्मलां श्यामाभां कमलासनार्चितपदां नारायणस्यानुजाम् । वीणावेणुमृदङ्गवाद्यरसिकां नानाविधामम्बिकां । मीनाक्षीं प्रणतोऽस्मि सन्ततमहं कारुण्यवारांनिधिम् ॥ ศฺรีมตฺสุนฺทรนายิกามฺ ภยหรำ ชฺญานปฺรทำ นิรฺมลำ ศฺยามาภำ กมลาสนารฺจิตปทำ นารายนสฺยานุชามฺฯ। วีณา-เวณุ-มฤทงฺควาทฺยรสิกำ นานาวิธามมฺพิกำ มีนากฺษีํ ปฺรณโตสฺมิ สนฺตตมหํ การุณฺยวารำนิธิมฺฯ। คำอ่าน […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

กุงกุมะ และ ซินดูร

กุงกุมัม หรือ กุมกุมะ และ ซินดูร เป็นผงสีแดงที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และมีสีแดงเช่นเดียวกัน จนบางท่านอาจใช้ปนกัน หรือผู้ขายบางท่านอาจไม่รู้จักถึงความแตกต่าง ก็อาจมีการขายซินดูรในชื่อของกุมกุมอยู่บ่อยครั้ง ถึงผงกุงกุมัม และซินดูรจะมีสีแดงคล้ายๆกัน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกัน และจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในบางประการ กุงกุมัม Kungumam กุงกุมะ (कुंकुम/Kunkuma) หรือ กุมกุม (कुमकुम/Kumkum) ในสำเนียงเสียงภาษาฮินดี และ กุงกุมัม (குங்குமம்/കുങ്കുമം/Kungumam) ในภาษาตมิฬและมลยาลำ เป็นผงสีแดง ค่อนข้างมีสีที่เข้ม จนถึงสีแดงเลือดหมู กุงกุมะในสมัยก่อนมักนำมาจากเกสรของดอกหญ้าฝรั่น […]