เทวปกรณ์การอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร หรือ พระพิฆเนศวร ที่ชาวไทยรู้จักกันนั้นมีมากมายหลายตำนานตามคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ทั้งนี้ผมจะขอยกตำนานที่ผู้คนมิค่อยทราบกันเสียเท่าไร และไม่มีกล่าวถึงในประเทศไทยเลย คือ ตำนานการอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร ในลลิโตปาขยานะ (Lalitopakhyana) ส่วนหนึ่งของพรหมาณฑะมหาปุราณะ (Brahmanda Mahapurana)ในการนี้จะขอเริ่มกล่าวจาก ในช่วงสงครามของ พระลลิตามพิกา (Lalitambika) และ ภัณฑาสุระ (Bhandasura) หลังจากพระบาลามพิกา (Balambika) พระธิดาของพระลลิตา ตริปุรสุนทรี ทรงสังหารซึ่งโอรสทั้ง 30ตนของภัณฑะลงแล้ว ภัณฑะได้ส่งอสูรนาม วิศุกระ(Vishukra)สู่สนามรบ ภายใต้ความมืดของราตรีกาล วิศุกระได้จัดพิธีลึกลับขึ้นที่สนามรบ ด้วยการสถาปนายันตระลึกลับและการใช้มนตร์ดำ […]
Tag: โศลก
เหตุใดพระเทวีจึงประทับบนร่างแห่งเทพบุรุษทั้งห้า?
ในภาพหรือบางประติมากรรมของ พระลลิตามพิกา หรือ โษฑศี และพระกาลี เราอาจพบเห็นพระเทวีประทับบนร่างของเทพทั้งห้า ซึ่งเรียกว่า ปัญจเปรตาสนะ (पंचप्रेतासन/Panchapretasana) (อาสนะร่างอันไร้วิญญาณทั้งห้า) ซึ่งคือ ปัญจพรหมะ (पंचब्रह्म/Panchabrahma) (เทพสูงสุด หรือ ความจริงสูงสุดทั้งห้า) คือ พรหมา(ब्रह्मा/Brahma),วิษณุ(विष्णु/Vishnu),อีศวร(ईश्वर/Eshwara),รุทระ(रुद्र/Rudra) และ สทาศิวะ (सदाशिव/Sadashiva) หรือ สัทโยชาตะ(सद्योजात/Sadyojata),วามเทพ(वामदेव/Vamadeva),ตัตปุรุษะ(तत्पुरुष/Tatpurusha),อโฆระ(अघोर/Aghora) และ อีศานะ(ईशान/Eshana) ซึ่งเป็นรูปและพระพักตร์ทั้งห้าของพระศิวะ ซึ่งบ้างปรากฏเป็นรูปและคุณที่ต่างกันทั้งห้า และบ้างปรากฏเป็นใบหน้าอันมีวรรณะอันต่างกันของพระศิวะและบ้างว่า พรหมา คือ […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6
ส่วนหนึ่งของบทโศลกอันงดงาม อันกล่าวถึงความงดงามของพระพักตร์แห่งพระเทวี จากบท ศรี ลลิตา สหัสรนามะ (พันนามพระลลิตา)วทนสฺมร มางฺคลฺย-คฺฤหโตรณ จิลฺลิกา।วกฺตฺรลกฺษมี ปรีวาห จลนฺมีนาภ-โลจนา॥#คำอ่านวะทะนัสมะระ มางคัลยะ คฤหะโตระณะ จิลลิกาวักตระลักษมี ปะรีวาหะ จะลันมีนาภะโลจะนา#คำแปลพระนางผู้ทรงมีพระขนง(คิ้ว)ดังประตูทางเข้าสู่คฤห(เรือนที่อาศัย)แห่งความงามแลความมงคลบนพระพักตร์อันทรงเสน่ห์.พระนางผู้ทรงมีดวงเนตรดุจดังมัจฉาอันงดงามซึ่งแวกว่ายบนกระแสแห่งความงดงามบนพระพักตร์.-ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6แปลโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ(กิตติกร อินทรักษา)
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 94
บทโศลกอันกล่าวถึงพระเทวีในฐานะมารดาของพระกุมารสวามี (ขันทกุมาร) และพระพิฆเนศ จาก ศรี ลลิตา สหัสรนามกุมาร-คณนาถามฺพา ตุษฺฏิะ ปุษฏิรฺ มติรฺ ธฤติะ।ศานฺติะ สฺวสฺติมตี กานฺติร นนฺทินี วิฆฺนนาศินี॥#คำอ่านกุมาระ-คะณะนาถามพา ตุษฏิห์ ปุษฏิร มะติร ธฤติห์ศานติห์ สวัสติมะตี กานติร นันทินี วิฆนะนาศินี#อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียกุมาระ-กห์ะณะนาถามบา ตุชติฮิ ปุชติร มะติร ธริติฮิชานติฮิ สฺวัสติมะตี กานติร นันดินี […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 54-57
มหารูปา มหาปูชฺยา มหาปาตะกะนาศินีมหามายา มหาสัตวา มหาศักติร-มหาระติฮิพระนางพระผู้ทรงรูปอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงความน่าเคารพนับถือยิ่ง พระนางผู้ทรงขจัดซึ่งบาปหนาทั้งปวงพระมหามายา พระมหาสัตว์ พระผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ พระนางผู้ทรงมหาฤดี.มหาโภคา มไหศฺวรรยาร-มหาวีรยาร-มหาพะลามหาพุทธิร-มหาสิทธิร-มหาโยเคศวะเรศวะรีพระนางผู้ทรงทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงมหาไอศูรย์ (อำนาจและสมบัติ) พระนางผู้ทรงความองอาจยิ่ง พระผู้ทรงมหาพล (พลกำลังอันยิ่งใหญ่)พระมหาพุทธิ (ผู้ทรงปัญญายิ่ง) พระมหาสิทธิ (ความสำเร็จ) พระนางผู้ทรงเป็นเจ้าเหนือมหาโยคีทั้งปวง.มหาตันตรา มหามันตรา มหายันตรา มหาสะนามหายาคะกระมาราธยา มหาไภระวะปูชิตาพระนางผู้ทรงเป็นมหาตันตระ พระนางผู้ทรงเป็นมหามนตร์ พระผู้ทรงมหายันต์ พระผู้ทรงอาวุโสยิ่งพระผู้ทรงเป็นรูปแบบแห่งยาคะ พระนางผู้ทรงได้รับการบูชาจากพระมหาไภรพ.มะเหศวะระ-มหากัลปะ-มหาตาณฑวะสากษิณีมหากาเมศะมหิษี มหาตริปุระสุนทะรีพระนางผู้ทรงเป็นสักขีพยานต่อการร่ายรำด้วยท่วงท่าอันรุนแรง(ตาณฑวะ) แห่งพระมเหศวร […]
ข้อความจากโศลกแรกของบท ศรี คณนายกาษฏกัม
एकदन्तं महाकायं तप्तकाञ्चनसन्निभम्। लम्बोदरं विशालाक्षं वन्देऽहं गणनायकम्॥ เอกทนฺตํ มหากายํ ตปฺตกาญฺจนสนฺนิภมฺ। ลมฺโพทรํ วิศาลากฺษํ วนฺเท(อ)หํ คณนายกมฺ॥ คำอ่าน เอกะทันตำ มะหากายำ ตัปตะกาญจะนะสันนิภัม ลัมโพทะรำ วิศาลากษำ วันเท’ฮำ คะณะนายะกัม อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย เอกะดันตำ มะฮากายำ ตัปตะกาญจะนะซันนิภำ ลัมโบดะรำ วิซาลากชำ วันเด’ฮำ กห์ะณะนายะกัม […]