อุปจาระ (उपचार/Upachara) คือ การปฏิบัติบูชา รับใช้ต่อเทพเจ้า หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยแบ่งเป็นขั้นตอน แบบแผนต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ โดยแต่ละสัมประทายะ (จารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาในสำนักอาจารย์ต่างๆ) อาจมีรายละเอียดปฏิบัติแตกต่างกัน อุปจาระแบ่งเป็นขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ ปัญโจปาจาระ (पंचोपचार/Panchopachara) = การปฏิบัติบูชา 5ขั้นตอน โษฑโศปจาระ (षोडशोपचार/Shodasopachara) = การปฏิบัติบูชา 16ขั้นตอน จตุรษัษฐี อุปจาระ (चतुर्षष्ठी उपचार/Chaturshasthi Upachara) […]
Tag: วัดแขกสีลม
ไนเวทยะที่ดีควรเป็นย่างไร?
ไนเวทยะ (नैवेद्य/Naivedya) หมายถึง เครื่องบัดพลี หรือ อาหารที่ปรุงขึ้นเพื่อถวายเทพเจ้า โดยอาหารที่นำมาถวายเป็นไนเวทยะจะต้องเป็น อาหารสัตตวะ (Sattava diet) อาหารสัตตวะคืออะไร? สัตตวะคุณะ (सत्तवगुण/Sattava Guna) คือหนึ่งในสามคุณะ โดยสามคุณะนี้มีอยู่ในทุกสิ่ง ซึ่งประกฤติ(พระศักติ)เป็นผู้สร้าง และผู้ควบคุมคุณะทั้งสามนี้ตามปรัชญาสางขยะ (सांखय/Sankhya) ของฮินดู ซึ่งทั้งสามคุณะคือ -สัตตวะ (सत्तव/Sattava) เป็นองค์มูลฐานแห่ง ความดีงาม,ความสุข,ความพึงพอใจ,ความสงบ,ความบริสุทธิ์ และความเจิดจ้าของแสงสว่าง สีของสัตตวะคือ สีขาว เทพผู้ควบคุมคุณนี้คือ พระพรหมา […]
บูชาพระแม่กาลีได้ไหม?
คำถามนี้เป็นคำถามยอดนิยมและมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้เริ่มมีจิตศรัทธา เริ่มมาปรนนิบัติบูชาใหม่ๆ พร้อมกับคำถามว่า พระกาลีบูชาในเคหสถานได้หรือไม่? ซึ่งคำตอบที่ออกมาจากกลุ่มผู้ศรัทธานั้นมีหลากหลายมาก บ้างว่าได้ บ้างว่าไม่ได้ บ้างว่า อย่าได้แคร์ ในวันนี้ผมจึงมีความประสงค์จะมาตอบข้อสงสัยในเรื่องนี้ ตรงนี้ผมขอกล่าวว่า พระกาลีเราสามารถบูชาได้ครับ ในส่วนนี้ผมต้องกล่าวไว้เลยว่า อันที่จริงพระกาลีมีสองภาวะ หรือสองรูปแบบ คือ เสามฺยะ กาลี (सौम्य काली/Soumya Kali) และ อุคระ กาลี (उग्रकाली/Ugra Kali) เสามฺยะ นั้นหมายถึง สง่างาม,อ่อนโยน และ […]
พระเทวี กับ ใบสะเดา (เวปปิไล – Veppilai)
พระเทวี กับ ใบสะเดา ใบสะเดา (Neem leave) หรือ เวปปิไล (வேப்பிலை/Veppilai)ในภาษาตมิฬนั้นถือเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะแก่เจ้าแม่ท้องถิ่นทั้งหลายในอินเดียตอนใต้ โดยเชื่อกันว่า ใบสะเดาสามารถขจัดโรคผิวหนัง และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้ หนึ่งในที่มาของความเชื่อนี้ปรากฏอยู่ในตำนานของเทวสถาน ศรี เรณุกา ปรเมศวรี หรือ ศรี เรณุกามบาล แห่งปฏเวฑุ ดังนี้ กล่าวถึงเมื่อครั้งพระฤๅษีชมทัคนีผู้ภัสดาแห่งพระเรณุกาเทวีได้ถูกสังหารลงด้วยกษัตริย์ (บ้างว่า ท้าวการตวีรยารชุน บ้างว่า โอรสทั้งสามของท้าวเธอ) พระนางเรณุกาผู้ปดิวรัดาทรงเศร้าโศกเสียพระทัยยิ่ง อีกทั้งทรงตัดสินพระทัยที่จักปลงศพพระสวามี พร้อมกับตนเอง พระนางเรณุกาจึงทรงจัดเตรียมพิธีสังสการสุดท้ายแก่พระฤๅษีชมทัคนี […]