เทวปกรณ์การอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร หรือ พระพิฆเนศวร ที่ชาวไทยรู้จักกันนั้นมีมากมายหลายตำนานตามคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ทั้งนี้ผมจะขอยกตำนานที่ผู้คนมิค่อยทราบกันเสียเท่าไร และไม่มีกล่าวถึงในประเทศไทยเลย คือ ตำนานการอุบัติขึ้นของพระวิฆเนศวร ในลลิโตปาขยานะ (Lalitopakhyana) ส่วนหนึ่งของพรหมาณฑะมหาปุราณะ (Brahmanda Mahapurana)ในการนี้จะขอเริ่มกล่าวจาก ในช่วงสงครามของ พระลลิตามพิกา (Lalitambika) และ ภัณฑาสุระ (Bhandasura) หลังจากพระบาลามพิกา (Balambika) พระธิดาของพระลลิตา ตริปุรสุนทรี ทรงสังหารซึ่งโอรสทั้ง 30ตนของภัณฑะลงแล้ว ภัณฑะได้ส่งอสูรนาม วิศุกระ(Vishukra)สู่สนามรบ ภายใต้ความมืดของราตรีกาล วิศุกระได้จัดพิธีลึกลับขึ้นที่สนามรบ ด้วยการสถาปนายันตระลึกลับและการใช้มนตร์ดำ […]
Tag: วัดแขก
เหตุใดพระเทวีจึงประทับบนร่างแห่งเทพบุรุษทั้งห้า?
ในภาพหรือบางประติมากรรมของ พระลลิตามพิกา หรือ โษฑศี และพระกาลี เราอาจพบเห็นพระเทวีประทับบนร่างของเทพทั้งห้า ซึ่งเรียกว่า ปัญจเปรตาสนะ (पंचप्रेतासन/Panchapretasana) (อาสนะร่างอันไร้วิญญาณทั้งห้า) ซึ่งคือ ปัญจพรหมะ (पंचब्रह्म/Panchabrahma) (เทพสูงสุด หรือ ความจริงสูงสุดทั้งห้า) คือ พรหมา(ब्रह्मा/Brahma),วิษณุ(विष्णु/Vishnu),อีศวร(ईश्वर/Eshwara),รุทระ(रुद्र/Rudra) และ สทาศิวะ (सदाशिव/Sadashiva) หรือ สัทโยชาตะ(सद्योजात/Sadyojata),วามเทพ(वामदेव/Vamadeva),ตัตปุรุษะ(तत्पुरुष/Tatpurusha),อโฆระ(अघोर/Aghora) และ อีศานะ(ईशान/Eshana) ซึ่งเป็นรูปและพระพักตร์ทั้งห้าของพระศิวะ ซึ่งบ้างปรากฏเป็นรูปและคุณที่ต่างกันทั้งห้า และบ้างปรากฏเป็นใบหน้าอันมีวรรณะอันต่างกันของพระศิวะและบ้างว่า พรหมา คือ […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6
ส่วนหนึ่งของบทโศลกอันงดงาม อันกล่าวถึงความงดงามของพระพักตร์แห่งพระเทวี จากบท ศรี ลลิตา สหัสรนามะ (พันนามพระลลิตา)วทนสฺมร มางฺคลฺย-คฺฤหโตรณ จิลฺลิกา।วกฺตฺรลกฺษมี ปรีวาห จลนฺมีนาภ-โลจนา॥#คำอ่านวะทะนัสมะระ มางคัลยะ คฤหะโตระณะ จิลลิกาวักตระลักษมี ปะรีวาหะ จะลันมีนาภะโลจะนา#คำแปลพระนางผู้ทรงมีพระขนง(คิ้ว)ดังประตูทางเข้าสู่คฤห(เรือนที่อาศัย)แห่งความงามแลความมงคลบนพระพักตร์อันทรงเสน่ห์.พระนางผู้ทรงมีดวงเนตรดุจดังมัจฉาอันงดงามซึ่งแวกว่ายบนกระแสแห่งความงดงามบนพระพักตร์.-ศรี ลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่ 6แปลโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ(กิตติกร อินทรักษา)
ปัญจพาณะ รหัสยะ (ความลับของลูกศรทั้งห้า)
มโนรูเปกฺษุโกทณฺฑา ปญฺจตนฺมาตฺรศายกา।( มโนรูเปกษุโกทัณฑา ปัญจะตันมาตระ ศายะกา)ข้อความข้างต้นคือ บาทแรกของ ศรีลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่3 ซึ่งมีความหมายดังนี้พระนางผู้ทรงเกาทัณฑ์อ้อยอันเป็นรูปของจิตใจ พระนางผู้ทรงลูกกุทัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้าอันปัญจตันมาตระ พาณะ หรือ ลูกศรอันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า ของพระลลิตา ปรเมศวรี คัมภีร์ตันตระหลายเล่มก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างกล่าวว่า ลูกศรทั้งห้าเป็นองค์แทนของจิตสัมผัสทั้งห้าได้แก่สปรรศะ (สัมผัส)รูปรสคัณธะ(กลิ่น) และศัพทะ (เสียง) บ้างว่า ลูกเกาทัณฑ์ทั้งห้าเป็นองค์แทนของมหาปัญจภูต หรือ ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ปฤถวี (ดิน),ชล(น้ำ),วายุ(ลม),อัคนี(ไฟ) และอากาศส่วนคัมภีร์ชญานารนวะ ตันตระ […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 94
บทโศลกอันกล่าวถึงพระเทวีในฐานะมารดาของพระกุมารสวามี (ขันทกุมาร) และพระพิฆเนศ จาก ศรี ลลิตา สหัสรนามกุมาร-คณนาถามฺพา ตุษฺฏิะ ปุษฏิรฺ มติรฺ ธฤติะ।ศานฺติะ สฺวสฺติมตี กานฺติร นนฺทินี วิฆฺนนาศินี॥#คำอ่านกุมาระ-คะณะนาถามพา ตุษฏิห์ ปุษฏิร มะติร ธฤติห์ศานติห์ สวัสติมะตี กานติร นันทินี วิฆนะนาศินี#อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียกุมาระ-กห์ะณะนาถามบา ตุชติฮิ ปุชติร มะติร ธริติฮิชานติฮิ สฺวัสติมะตี กานติร นันดินี […]
ศรี ลลิตา สหัสรนามะ สโตตระ โศลกที่ 54-57
มหารูปา มหาปูชฺยา มหาปาตะกะนาศินีมหามายา มหาสัตวา มหาศักติร-มหาระติฮิพระนางพระผู้ทรงรูปอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงความน่าเคารพนับถือยิ่ง พระนางผู้ทรงขจัดซึ่งบาปหนาทั้งปวงพระมหามายา พระมหาสัตว์ พระผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ พระนางผู้ทรงมหาฤดี.มหาโภคา มไหศฺวรรยาร-มหาวีรยาร-มหาพะลามหาพุทธิร-มหาสิทธิร-มหาโยเคศวะเรศวะรีพระนางผู้ทรงทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงมหาไอศูรย์ (อำนาจและสมบัติ) พระนางผู้ทรงความองอาจยิ่ง พระผู้ทรงมหาพล (พลกำลังอันยิ่งใหญ่)พระมหาพุทธิ (ผู้ทรงปัญญายิ่ง) พระมหาสิทธิ (ความสำเร็จ) พระนางผู้ทรงเป็นเจ้าเหนือมหาโยคีทั้งปวง.มหาตันตรา มหามันตรา มหายันตรา มหาสะนามหายาคะกระมาราธยา มหาไภระวะปูชิตาพระนางผู้ทรงเป็นมหาตันตระ พระนางผู้ทรงเป็นมหามนตร์ พระผู้ทรงมหายันต์ พระผู้ทรงอาวุโสยิ่งพระผู้ทรงเป็นรูปแบบแห่งยาคะ พระนางผู้ทรงได้รับการบูชาจากพระมหาไภรพ.มะเหศวะระ-มหากัลปะ-มหาตาณฑวะสากษิณีมหากาเมศะมหิษี มหาตริปุระสุนทะรีพระนางผู้ทรงเป็นสักขีพยานต่อการร่ายรำด้วยท่วงท่าอันรุนแรง(ตาณฑวะ) แห่งพระมเหศวร […]
กาตตะวะรายัน
กาตตะวะรายัน (காத்தவராயன்/Kathavarayan) ท่านเป็นหนึ่งในเทพผู้พิทักษ์ชุมชนของชาวตมิฬ ซึ่งในภาษาตมิฬเรียกว่า กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval deivam) หรือ ครามะ เทวตา (ग्रामदेवता/Grama Devata) ในภาษาสันสกฤต แต่ท่านเป็นเพียงเทพผู้พิทักษ์ชุมชน ของบางหมู่บ้านเท่านั้น และไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร อย่างมุนีศวรัน และกรุปปัณณะซามิที่สักการะกันอย่างแพร่หลาย (ผมเองไปถามชาวตมิฬบางคนก็ไม่รู้จัก ก็มี) กาตตะวะรายัน นับถือเป็นบุตรและผู้อารักขาของพระกามากษี (காமாட்சி/Kamakshi) หรือ พระอุมา ในรูปของเจ้าแม่ต่างๆ ที่เรียกโดยรวมๆว่า อัมมัน […]
มุณฑกกัณณิ อัมมัน
มุณฑกกัณณิ อัมมัน (முண்டககண்ணி அம்மன்/Mundakakanni Amman) เป็นเจ้าแม่ท้องถิ่นองค์หนึ่งในย่านมยิลาปปูร (மயிலாப்பூர்/Mylapore) ของเมืองเชนไน (சென்னை/Chennai) วัดของพระนางมีอายุประมาณ 500-1000ปี มีต้นไทรเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของวัด ตำนานปุณยสถานแห่งนี้ กล่าวถึงโบราณกาลนานมาแล้ว สถานที่แห่งนี้มีสระบัว และต้นไทรเจริญอยู่ข้างสระ อยู่มาวันหนึ่งพระอัมพิกาได้ปรากฏองค์ในรูปแบบสวยมภู (เกิดขึ้นเอง) โดยปรากฏองค์วิคระหะจากปทุมชาติใต้ต้นไทร ด้วยเหตุนี้พระอัมพาจึงทรงมีนามว่า มุณฑกกัณณิ โดยมาจากศัพท์ตมิฬสองคำคือ มุณฑกัม (முண்டகம்/Mundakam) อันหมายถึง ปทุมชาติ และ กัณ (கண்/Kan) อันหมายถึง ดวงนัยน์เนตร […]
พระคายตรี
พระคายตรีนั้นทรงเป็นบุคลาธิษฐานของมนตระ 24พยางค์ในฤคเวท (คายตรี มหามนตระ) ทรงได้รับการนับถือเป็นเทวีแห่งพระเวท,กวีศิลป์,ฉันทลักษณ์ และปัญญาญาณ อีกทั้งทรงเป็นเทวีแห่งยามสนทยา (ช่วงคาบเกี่ยวต่อของวัน คือ รุ่งอรุณ,เที่ยงวัน และยามเย็น) ทรงเป็นเทวีผู้ให้การคุ้มครองแก่เหล่าทวิชะ (ผู้เกิดสองครั้ง คือ ผู้ที่ได้รับการอุปนยนะ คล้องสายยัชโญปวีต อันได้แก่ พราหมณ์,กษัตริย์ และแพศย์) นอกจากนี้พระคายตรี ยังทรงได้รับการนับถือในฐานะพระศักติ หรือ พระชายาของพระวิราฏวิศวกรรม (พรหมา/สทาศิวะ) อีกด้วย พระคายตรี ในยุคพระเวทนั้นถือเป็นองค์เดียว กับ พระสาวิตฤ (พระอาทิตย์องค์หนึ่ง) […]
มทุไร วีรัน
มทุไร วีรัน (மதுரை வீரன்/Madurai Veeran) ทรงเป็นหนึ่งเทพผู้พิทักษ์ชุมชนของชาวตมิฬ หรือ กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval Deivam) ในภาษาตมิฬ และ ครามะ เทวตา (ग्रामदेवता/Grama Devata) ในภาษาสันสกฤต ตำนานกล่าวกันว่า ท่านเป็นโอรสของนายกะ องค์หนึ่งในตระกูล อรุนทธิยัร (அருந்ததியர்/Arundhathiyar) แต่จากการทำนายของโหรหลวงว่าโอรสที่กำเนิดมาเป็นอัปมงคล จึงนำท่านไปทิ้งไว้ในป่า ต่อมา นิษาทผู้หนึ่งมาพบเข้าจึงเก็บไปเลี้ยงดังบุตรของตน ให้นามว่า มุธุ […]