एकदन्तं महाकायं तप्तकाञ्चनसन्निभम्। लम्बोदरं विशालाक्षं वन्देऽहं गणनायकम्॥ เอกทนฺตํ มหากายํ ตปฺตกาญฺจนสนฺนิภมฺ। ลมฺโพทรํ วิศาลากฺษํ วนฺเท(อ)หํ คณนายกมฺ॥ คำอ่าน เอกะทันตำ มะหากายำ ตัปตะกาญจะนะสันนิภัม ลัมโพทะรำ วิศาลากษำ วันเท’ฮำ คะณะนายะกัม อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย เอกะดันตำ มะฮากายำ ตัปตะกาญจะนะซันนิภำ ลัมโบดะรำ วิซาลากชำ วันเด’ฮำ กห์ะณะนายะกัม […]
Month: November 2021
เทวลักษณะของพระศิวะ
พระศิวะทรงปรากฏองค์เป็นบุรุษ ทรงเป็นโยคีผู้อยู่อย่างสมถะ ประทับบนขุนเขาไกลาศ (ด้วยเหตุนี้จึงทรงมีพระนามว่า ไกลาศวาสิน หมายถึง ผู้ประทับยัง ณ ขุนเขาไกลาศ) พระองค์ทรงมีฉวีวรรณขาวผุดผ่องดั่งการบูร กระจ่างใสเรืองรองดุจดังสผฏิกะ(เคลียร์ควอตซ์) แลด้วยเหตุนี้จึงทรงนามว่า ศุทธวิคระฮะ หมายถึง ผู้ทรงมีพระวรกายอันบริสุทธิ์ บ้างว่า ทรงมีฉวีวรรณสีฟ้าอมแดง (สีม่วง) อันเนื่องมาจากการดื่มพิษของพญาวาสุกีนาคที่พ่นพิษขณะทำพิธีกวนเกษียรสมทุรไว้ จนพระวรกายของพระองค์จากสีขาวดังน้ำนม แปรเปลี่ยนเป็นสีม่วง (ด้วยเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า นีลโลหิตะ) อีกทั้งยังให้พระศอของพระองค์เป็นสีฟ้าคราม (ด้วยเหตุนี้จึงทรงนาม นีลกัณฐ์ และ ศิติกัณฐ์) ทรงเปลือยพระวรกาย นุ่งลมห่มฟ้า […]
เอกานังศา และ วินธยวาสินี
จากบทความก่อนเราได้พูดถึง พระนางสุภัทรากันไป ถึงตำนานความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับการกำเนิดของพระนาง ยังรวมถึงตำนานโดยคร่าวของ เอกานังศา (एकानंसा/Ekanamsha) อวตารของพระอัมพิกาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่มาเป็นตัวตาย ตัวแทนกฤษณาวตาร และ พระนางวินธยวาสินี (विन्ध्यवासिनी/Vindhyavasini) ซึ่งมิใช่ผู้ใดอื่น นอกจากพระภวานี หรือ เอกานังศาเอง ในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึงเรื่องราวของ พระแม่วินธยวาสินี ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (ที่จริงที่ลงไปในเรื่องของ พระนางสุภัทราก็ชัดเจนแล้ว แต่มีความประสงค์มาแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง) อ่านเรื่อง สุภัทรา ปูรวชนมะ รหัสยะ ได้ตามลิงก์นี้ https://hindumeeting.com/สุภัทรา-ปูรวชนมะ-รหัสยะ/ อันขุนเขาวินธยาจล […]
สุภัทรา ปูรวชนมะ รหัสยะ
ในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึง บูรพชนม์ (ปูรวชนมะ) หรือ อดีตชาติ ของ พระนางสุภัทรา (सुभद्रा/Subhadra) พระชายาในท้าวกิรีฏิน (किरीटिन्/Kiritin)(ผู้สวมใส่กิรีฏมงกุฏ ฉายาหนึ่งของพระอินทร์ และท้าวอรชุน) และพระขนิษฐาอันเป็นที่รักของพระศรีกฤษณะกัน อันพระนางสุภัทรานั้นเป็นพระธิดาในองค์วสุเทวะ (वसुदेव/Vasudeva) กับ พระนางโรหิณี (रोहिणी/Rohini) ทรงกำเนิดภายหลังพระวสุเทพได้รับการปล่อยตัวจากการถูกจองจำ หลังจากการสิ้นชีพของกังสะผู้ทรราช ซึ่งนั้นแปลว่า พระนางทรงถือกำเนิดขึ้นในขณะที่พระกฤษณะ และ พระพลเทพย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ในตำนานสมัยใหม่อันเป็นที่แพร่หลาย และเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างนั้น กล่าวว่า พระนางนั้นทรงเป็นอวตารแห่ง พระโยคมายา (योगमाया/Yogamaya) […]
ติลไล กาลิอัมมัน
ติลไล กาลิอัมมัน (தில்லை காளியம்மன்/Thillai Kali Amman) หรือ พรหม จามุณฑีศวรี (பிரம்ம சாமுண்டீஸ்வரி/Brahma Chamundeshwari) เป็น เทวีท้องถิ่นองค์หนึ่ง ใน เมืองติลไล (தில்லை/Thillai) หรือ จิทัมพะรัม (சிதம்பரம்/Chidambaram) เทวสถานของพระนาง มีอายุราว 1000 – 2000 ปี ตำนานกล่าวถึงเมื่อครั้ง พระศิวะ และ พระนางศิวกามสุนทรี […]
ลิงคะ (लिङ्ग/Linga) หรือ ลิงกัม (லிங்கம்/Lingam)
ลิงคะ รูปเคารพของพระเจ้าในฐานะต้นกำเนิดแห่งทุกสรรพสิ่ง ลิงคะ (लिङ्ग/Linga) หรือ ลิงกัม (லிங்கம்/Lingam) ถือ เป็นหนึ่งในรูปเคารพที่เก่าแก่ที่สุดของพระศิวะ เป็นที่เคารพบูชาเป็นอย่างยิ่งในทุกสาขาของไศวะนิกาย ลิงคะ หมายถึง เพศ หรือ เครื่องเพศ โดยมีความหมายเจาะจงไปที่เครื่องเพศชาย ทำไมพระเป็นเจ้าถึงได้รับการบูชาในรูปเครื่องเพศ? นั้นเพราะ เครื่องเพศนั้นเป็นรูปแบบแห่งการกำเนิดขึ้นของทุกสรรพชีวิต สรรพชีวิตชั้นสูงนั้นล้วนต้องใช้เครื่องเพศเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ จากคติความเชื่อนี้ ยังนำมาซึ่งความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์ หรือ เครื่องรางแทนความอุดมสมบูรณ์ คติเช่นนี้มักพบในลัทธิ หรือ ศาสนาโบราณต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น ลิงคะ คือ […]
มหาพเลศวร แห่ง โคกรรณะ
มหาพเลศวร แห่งโคกรรณะ (ಗೋಕರ್ಣ ಮಹಾಬಲೇಶ್ವರ / Mahabaleshwara of Gokarna) เป็นหนึ่งในปุณยสถานของรัฐกรรนาฏกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เทวสถานพระศรีมหาพเลศวร ตั้งอยู่ในเมืองโคกรรณะ เขตอุตตระ กันนฑะ ของรัฐกรรนาฏกะ ถือเป็นหนึ่งในมุกติสถาน ของชาวกันนาฑิคะ (ผู้ใช้ภาษากันนฑะเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในกรรนาฏกะ) ซึ่งมุกติสถาน คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเมื่อไปจาริกแสวงบุญแล้วจะได้รับการหลุดพ้น โคกรรณะแห่งนี้ยังได้รับการเรียกขานว่า เป็น กาศี แห่งทักษิณด้วย เช่นเดียวกับเทวสถานอันมีชื่อเสียงของพระศิวะอีกหลายแห่งในอินเดียตอนใต้ ตำนานแห่งปุณยสถานแห่งนี้ ย้อนกลับไปครั้งเตรตายุค อันเป็นยุคที่สองของกัลป์นี้ตามความเชื่อของฮินดู เมื่อพระนางไกกษีมารดาของ […]