เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระอังกาละ ปรเมศวรี แห่ง เมลมไลยะนูร

พระอังกาละ ปรเมศวรี แห่ง เมลมไลยะนูร (Ankala Parameshwari of Melmalaiyanoor) อังกาละ ปรเมศวรี (Ankala Parameshwari/அங்காள பரமேஸ்வரி),อังกาลัมมา (Ankalammaa/அங்காளம்மா),อังกาลัมมัน (அங்காளம்மன் / Ankalamman),อังกาลิ (Ankali / அங்காளி) หรือ อังกาลัมมะ (Ankalamma / అంకాలమ్మ / ಅಂಕಾಲಮ್ಮ) ในสำเนียงภาษาเตลุคุ และกันนฑะ และ อังกัมมะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระเทวี กับ ใบสะเดา (เวปปิไล – Veppilai)

พระเทวี กับ ใบสะเดา ใบสะเดา (Neem leave) หรือ เวปปิไล (வேப்பிலை/Veppilai)ในภาษาตมิฬนั้นถือเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะแก่เจ้าแม่ท้องถิ่นทั้งหลายในอินเดียตอนใต้ โดยเชื่อกันว่า ใบสะเดาสามารถขจัดโรคผิวหนัง และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้ หนึ่งในที่มาของความเชื่อนี้ปรากฏอยู่ในตำนานของเทวสถาน ศรี เรณุกา ปรเมศวรี หรือ ศรี เรณุกามบาล แห่งปฏเวฑุ ดังนี้ กล่าวถึงเมื่อครั้งพระฤๅษีชมทัคนีผู้ภัสดาแห่งพระเรณุกาเทวีได้ถูกสังหารลงด้วยกษัตริย์ (บ้างว่า ท้าวการตวีรยารชุน บ้างว่า โอรสทั้งสามของท้าวเธอ) พระนางเรณุกาผู้ปดิวรัดาทรงเศร้าโศกเสียพระทัยยิ่ง อีกทั้งทรงตัดสินพระทัยที่จักปลงศพพระสวามี พร้อมกับตนเอง พระนางเรณุกาจึงทรงจัดเตรียมพิธีสังสการสุดท้ายแก่พระฤๅษีชมทัคนี […]

เทวะตำนาน

ปัจไจ อัมมัน – Pacchai Amman

ปัจไจ อัมมัน (பச்சையம்மன்/Pacchai Amman) หรือ เจ้าแม่เขียว (Green Goddess) ทรงเป็นเทพี หรือ เจ้าแม่ในระดับท้องถิ่นองค์หนึ่งที่ศรัทธากันอย่างแพร่หลายในตมิฬนาฑุ เทวสถานอันมีชื่อเสียงของพระนางตั้งอยู่ในเมืองติรุมุลไลวายัล (திருமுல்லைவாயல்/Thirumullaivayal) เขตปริมณฑลของเชนไน ตำนานของปัจไจ อัมมัน มักเกี่ยวโยงกับตำนานการเล่นหยอกล้อตามภาษาผู้หญิงของพระปารวตี ซึ่งพระนางได้แอบเข้ามาปิดพระเนตรของพระศิวะจากเบื้องหลัง ทำให้ทั่วสกลพิภพมืดมนไปขณะหนึ่ง เหตุนี้ทำให้พระศิวะทรงกริ้วเป็นอย่างยิ่ง จึงส่งพระนางไปยังพื้นพิภพเพื่อบำเพ็ญตนสำนึกตนและไถ่บาปจากการกระทำผิดนี้ บนพื้นพิภพพระปารวตีทรงบำเพ็ญตน และบำเพ็ญตบะอย่างหนักโดยการยืนบาทเดียวบนเข็ม โดยมีสัปตฤๅษี และ สัปตกัณณิยัร (สัปตมาตฤกา) เป็นผู้คอยพิทักษ์คุ้มครองพระนาง ด้วยเหตุนี้ภายในเทวสถานของพระนางในติรุมุลไลวายัล จึงประดิษฐานสัปตฤๅษี […]

เทวะตำนาน

มุนีศวรัน – Muneeshwaran

มุนีศวรัน (முனீஸ்வரன்/Muneeshwaran) เป็นหนึ่งในเทพผู้พิทักษ์ชุมชนของชาวตมิฬ นับถือเป็นอีกภาคหนึ่งของพระศิวะในฐานะเจ้าแห่งปราชญ์ทั้งปวง ผู้ให้การคุ้มครองชุมชนและการเดินทางออกนอกชุมชนในยามวิกาล พระองค์ทรงเป็นที่นับถือยิ่งของชาวตมิฬทั้งในอินเดียใต้ และในหมู่ชาวตมิฬผลัดถิ่น เช่นใน มาเลเซีย และสิงคโปร์ พระองค์ทรงเป็น กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval deivam) หรือ เทพผู้พิทักษ์ชุมชนที่ได้การเคารพบูชายิ่ง และโดดเด่นกว่า เทพผู้พิทักษ์ชุมชนองค์อื่นของชาวตมิฬ อย่าง กรุปปัน ซามิ,มทุไร วีรัน,กาตตวรายัน และอรวาน เป็นต้น และถือเป็นผู้นำของเทพเหล่านั้นอีกด้วย ตำนานขององค์มุนีศวรัน เป็นในแบบตำนานพื้นบ้าน มุขปาฐะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี

ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่าปาลี (पाली) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า กัลยาณะ(कल्याण – Kalyana) กับภรรยาของเขาที่มีชื่อว่าอินทุมตี (इन्दुमती – Indumati) ได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า “พัลลาฬะ (बल्लाळ – Ballal)” แล้วในวันหนึ่งพัลลาฬะซึ่งเป็นบุตรของทั้งสองนี้ ก็ได้นำเหล่าเพื่อน ๆ ของเขานั้นไปทำการบูชาโดยใช้ก้อนหินก้อนหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง ซึ่งพวกเขานั้นสมมุติให้เป็นองค์มูรติของพระเคณศ อีกทั้งพวกเขายังเพียรบูชาซึ่งมูรติของพระเคณศนี้จนลืมความหิวกระหายและจนไม่รู้วันรู้คืน (ไม่ยอมกลับบ้าน) ในช่วงนั้นเองผู้ปกครองของบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายในหมู่บ้านก็มุ่งไปยังเรือนของกัลยาณะ และทำการต่อว่าเกี่ยวกับการนำไปของพัลลาฬะเช่นนี้ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ราหุ…ลูกกำพร้า

ได้รับคำแนะนำจากพี่ที่เคารพ ให้เขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่อง “สุริยุปราคา” ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากตนเองไม่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ครั้นจะเขียนเรื่องนี้ก็กระดากใจ เลยรับปากเขาว่าจะหาเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าแทน ดังที่หลายท่านทราบแล้ว คนโบราณท่านเล่าเรื่อง “จันทรคราส” และ “สุริยคราส” แบบปรัมปรานิทาน เป็นลักษณะบุคลาธิษฐาน เล่าปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเสมือนเป็นตัวเป็นตนอย่างคน ตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว ใน ฤคเวท มีการกล่าวถึง “สฺวรฺภานุ” (สวรฺ “สวรรค์ ท้องฟ้า” + ภานุ “แสงสว่าง หรือ พระอาทิตย์ […]

เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

เรื่องพระตรีมูรติที่เวิร์ลเทรด

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเรื่องตรีมูรติก่อนนะครับ ตรีมูรตินั้นแปลว่า สามรูป ซึ่งมิใช่ชื่อของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ แต่เป็นทฤษฎ๊การแบ่งหน้าที่ ของเทพเจ้าสูงสุด(อีศวรหรือสคุณพรหมัน)ซึ่งในปรัชญาอินเดีย ถือว่า พระเจ้าสูงสุดนั้น ได้ปรากฏออกมาในสามลักษณธ เพื่อกระทำหน้าที่ สามอย่าง คือ สรรค์สร้าง รักษา และทำลาย คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ และพระศิวะ ตามลำดับ ตรีมูรติ จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นรูปเคารพ แบบสามองค์รวมกัน แต่จะแยกเป็นสามองค์เลยก็ได้ หรือในบางครั้ง ก็มีคการ เอารูปเคารพทั้งสามองค์มารวมเป้นองค์เดียวซึ่งปรากฏในหลายลักษณะ เช่นในอินเดียที่มีสามพระเศียร หรือพระศิวเอกบาทในไศวนิกาย […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

สุริยุปราคาแบบวงแหวน

ในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09:29:53 น. ถึง 15:05:40 น. (ตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพฯ) จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ขึ้นในโลก (โดยจุดศูนย์กลางของคราสจะอยู่ในเวลา 12:17:46 น.) แล้วข้าพเจ้าก็ได้พูดคุยกับอาจารย์ 2 ท่านที่เป็นมิตรกันว่า เราสามคนมาเขียนเรื่องอุปราคากันตามความเข้าใจของแต่ละคนเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะชนกันสักหน่อยไหม แล้วก็เป็นไปตามนั้นโดยอาจารย์เก้า (ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว) นั้นได้เขียนโพสขึ้นก่อนเป็นท่านแรก ส่วนข้าพเจ้าเองก็จะขอพูดเรื่องคราสนี้เช่นกันในอีกมิติหนึ่ง และจะพยายามเขียนให้ท่านผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์หรือวิชาโหราศาสตร์ได้เข้าใจได้ง่ายพอสังเขป […]

เทวะตำนาน

พระวิษณุทุรไค

พระวิษณุทุรไค ( ஸ்ரீ விஷ்ணு துர்க்கை ) ( Shree Vishnu Durgai) พระขนิษฐาแห่งพระวิษณุ และ ทรงเป็นพลังอำนาจแห่งพระวิษณุ กับ ตำนานการถือพรตในวันเอกาทศี ในกฤดายุคนั้นมีอสูรตนหนึ่งนามว่า มุระ (Demon Mura) มันทรงพละกำลังมาก มันได้สร้างความเดือดร้อนความวุ่นวายไปทั่วทั้งตรีภพ แม้กระทั้ง เทวราชอินทระ, พระกุเวรจอมยักษา, พระยมเทพ, พระวรุณ, พระอัคนี, พระวายุ และ คนธรรพ์ราช […]

เทวะตำนาน

กุเวร

ท้าวกุเวร หรือที่เรียกนามอีกด้วยว่า “เวสวัน” หรือ “ไพษรพน์” มีกำเนิดเป็นยักษ์และมีบริวารเป็นยักษ์ แต่เหตุใดจึงเข้าข้างฝ่ายเทวดาทุก ๆ คราวที่เทวดารบกับยักษ์? ข้อนี้ย่อมเป็นข้อฉงนของคนโดยมากแท้จริงในเรื่องรามเกียรติ์ก็มีแถลงประวัติของท้าวกุเวรแต่ในที่นั้นเรียกว่า “ท้าวกุเปรัน” จึงไม่มีใครสำเหนียกว่าเป็นตัวเดียวกันกับท้าวกุเวรรั้นเอง มีนามกลายเป็น “กุเปรัน” ไปนั้น ข้าพเจ้าสันนิฐานว่าคงเป็นไปโดยทางเดียวกับ “เซอร์ เจมส์ บรุก” กลายเป็น “ชีจำปลุ๊ก” เช่นที่กล่าวมาแล้วในคำอธิบายที่ ๑๔ กล่าวคือ พราหมณ์ผู้เป็นครูคงได้ออกนามว่า “กุเพร” ซึ่งตามสำเนียงสันสกฤตก็คล้าย “กุเบรัน” ผู้จดจึงจดลดลงตามที่ตนได้ยินแล้วเมื่อคัดลอกต่อกันมา หางตัว […]