มุนีศวรัน (முனீஸ்வரன்/Muneeshwaran) เป็นหนึ่งในเทพผู้พิทักษ์ชุมชนของชาวตมิฬ นับถือเป็นอีกภาคหนึ่งของพระศิวะในฐานะเจ้าแห่งปราชญ์ทั้งปวง ผู้ให้การคุ้มครองชุมชนและการเดินทางออกนอกชุมชนในยามวิกาล พระองค์ทรงเป็นที่นับถือยิ่งของชาวตมิฬทั้งในอินเดียใต้ และในหมู่ชาวตมิฬผลัดถิ่น เช่นใน มาเลเซีย และสิงคโปร์ พระองค์ทรงเป็น กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval deivam) หรือ เทพผู้พิทักษ์ชุมชนที่ได้การเคารพบูชายิ่ง และโดดเด่นกว่า เทพผู้พิทักษ์ชุมชนองค์อื่นของชาวตมิฬ อย่าง กรุปปัน ซามิ,มทุไร วีรัน,กาตตวรายัน และอรวาน เป็นต้น และถือเป็นผู้นำของเทพเหล่านั้นอีกด้วย ตำนานขององค์มุนีศวรัน เป็นในแบบตำนานพื้นบ้าน มุขปาฐะ โดยกล่าวว่า พระมุนีศวรัน ทรงปรากฏออกมาจากพระนลาฏของพระศิวะ ในคราที่พระศิวะทรงพิโรธพระทักษะที่ได้กล่าวดูหมิ่นพระองค์ในพิธีมหายัชญะ และเป็นเหตุให้พระทากษายณี (พระสตี) ต้องทำการเผาตนเองด้วยเพลิงแห่งตบะเพื่อชำระบาปที่ได้สดับฟังคำดูหมิ่นพระสวามี และพระเจ้าของตนจากโอษฐ์ของบิดาตน โดยพระมุนีศวรันทรงปรากฏออกมาเจ็ดรูปด้วยกัน โดยรับหน้าที่ไปลงโทษผู้เห็นดีเห็นงามกับพระทักษะ และให้การคุ้มครองผู้ไม่มีความผิดในพิธีมหายัชญะของทักษะ ประชาบดี อีกตำนานกล่าวถึง พระมุนีศวรันทั้งเจ็ดรูป ปรากฏมาเพื่อทำการอารักขา พระอุมา ในขณะที่อันธกาสุระได้มาทำสงครามกับพระศิวะเพื่อชิงตัวพระอุมาไป พระมุนีศวรันทั้งเจ็ดรูปนี้มักปรากฏประดิษฐานในวัดของ ปัจไจ อัมมัน (பச்சை அம்மன்/Pacchai Amman) และ เทวีท้องถิ่นอื่นๆในบางพื้นที่ของตมิฬ […]
เทวะตำนาน
ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี
ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่าปาลี (पाली) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า กัลยาณะ(कल्याण – Kalyana) กับภรรยาของเขาที่มีชื่อว่าอินทุมตี (इन्दुमती – Indumati) ได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า “พัลลาฬะ (बल्लाळ – Ballal)” แล้วในวันหนึ่งพัลลาฬะซึ่งเป็นบุตรของทั้งสองนี้ ก็ได้นำเหล่าเพื่อน ๆ ของเขานั้นไปทำการบูชาโดยใช้ก้อนหินก้อนหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง ซึ่งพวกเขานั้นสมมุติให้เป็นองค์มูรติของพระเคณศ อีกทั้งพวกเขายังเพียรบูชาซึ่งมูรติของพระเคณศนี้จนลืมความหิวกระหายและจนไม่รู้วันรู้คืน (ไม่ยอมกลับบ้าน) ในช่วงนั้นเองผู้ปกครองของบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายในหมู่บ้านก็มุ่งไปยังเรือนของกัลยาณะ และทำการต่อว่าเกี่ยวกับการนำไปของพัลลาฬะเช่นนี้ เมื่อกัลป์ยาณะโดนต่อว่าเช่นนั้น เขาก็เกิดความโกรธและรีบออกจากเรือนไปค้นหาลูกชายของเขาและบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลาย ครั้นเมื่อค้นเจอแล้ว กัลยาณะนี้ก็พบว่าพัลลาฬะกับเพื่อน ๆ นั้นกำลังใจจดในจอกับพระมูรติของพระคเณศอยู่ (ในนั้นกล่าวว่าพวกเด็ก ๆ ทั้งหลายกำลังได้รับฟังซึ่งคเณศปุราณะจากพระคเณศอยู่) แล้วด้วยความโกรธนั้นกัลยาณะจึงได้รีบตรงเข้าไปทำลายซึ่งซุ้มบูชาพระคเณศขนาดเล็กนั้นลง อันทำให้บรรดาเพื่อน ๆ ของพัลลาฬะนั้นพากันหวาดกลัวแล้ววิ่งหนีไป ส่วนพัลลาฬะผู้ภักดีในพระคเณศยิ่งนั้นกลับยังคงนั่งบูชาพระคเณศอยู่ ณ ที่เดิม ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้กัลยาณะนั้นโกรธยิ่งขึ้นไปอีก แล้วทำการทุบตีซึ่งบุตรของเขาอย่างหนักจนเลือดเปื้อนไปทั้งเสื้อผ้า จากนั้นกัลยาณะก็ได้นำเอาตัวของพัลลาฬะไปมัดไว้กับต้นไม้ แล้วก็มาทำลายข้าวของบูชาของพวกเด็ก ๆ และได้พยายามทำลายซึ่งก้อนหินใหญ่อันเป็นพระมูรติของพระคเณศนี้ด้วยการพยายามยกขึ้นและทุ่มลงกับพื้นให้แตก เมื่อได้ทำดังนี้แล้วกัลายณะก็เตรียมจะเดินทางกลับไปยังเรือน […]
ราหุ…ลูกกำพร้า
ได้รับคำแนะนำจากพี่ที่เคารพ ให้เขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่อง “สุริยุปราคา” ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากตนเองไม่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ครั้นจะเขียนเรื่องนี้ก็กระดากใจ เลยรับปากเขาว่าจะหาเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าแทน ดังที่หลายท่านทราบแล้ว คนโบราณท่านเล่าเรื่อง “จันทรคราส” และ “สุริยคราส” แบบปรัมปรานิทาน เป็นลักษณะบุคลาธิษฐาน เล่าปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเสมือนเป็นตัวเป็นตนอย่างคน ตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว ใน ฤคเวท มีการกล่าวถึง “สฺวรฺภานุ” (สวรฺ “สวรรค์ ท้องฟ้า” + ภานุ “แสงสว่าง หรือ พระอาทิตย์ หรือ เจ้าผู้เป็นใหญ่”) ว่าเป็นผู้ทำให้เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา หรือ คราส ชื่อของ สฺวรฺภานุ นี้ ไม่รู้จะแปลอย่างไรดีให้เหมาะสม จะว่า เป็นแสงสว่างในสวรรค์ก็ไม่ใช่ เพราะตัวสฺวรฺภานุเป็นอสูรที่ก่อให้เกิดความมืด หรือจะแปลว่า ผู้มี (หมายถึง ผู้จับ) แสงสว่าง/พระอาทิตย์ในสวรรค์ หรือท้องฟ้าก็เป็นได้ ต่อมาตั้งแต่ อาถรรพเวท ลงมา มีปรากฏใช้ชื่อ “ราหุ” ที่เราคุ้นเคยกันด้วย “ราหุ” […]
เรื่องพระตรีมูรติที่เวิร์ลเทรด
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเรื่องตรีมูรติก่อนนะครับ ตรีมูรตินั้นแปลว่า สามรูป ซึ่งมิใช่ชื่อของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ แต่เป็นทฤษฎ๊การแบ่งหน้าที่ ของเทพเจ้าสูงสุด(อีศวรหรือสคุณพรหมัน)ซึ่งในปรัชญาอินเดีย ถือว่า พระเจ้าสูงสุดนั้น ได้ปรากฏออกมาในสามลักษณธ เพื่อกระทำหน้าที่ สามอย่าง คือ สรรค์สร้าง รักษา และทำลาย คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ และพระศิวะ ตามลำดับ ตรีมูรติ จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นรูปเคารพ แบบสามองค์รวมกัน แต่จะแยกเป็นสามองค์เลยก็ได้ หรือในบางครั้ง ก็มีคการ เอารูปเคารพทั้งสามองค์มารวมเป้นองค์เดียวซึ่งปรากฏในหลายลักษณะ เช่นในอินเดียที่มีสามพระเศียร หรือพระศิวเอกบาทในไศวนิกาย ในศิวลึงค์บางรูปแบบ หรือหากศึกษารูปเคารพในศิลปะเขมร จะพบว่ามีการทำรูปเคารพสามองค์ โดยมีเทพเจ้าที่เคารพตามนิกายอยู่ตรงกลาง เช่นพระศิวะ และมีเทพเจ้าเล็กๆสององค์งอกออกมาจากด้านข้าง เป็นต้น นอกจากนี้ ในบางท้องถิ่น ยังมีการถือว่า คุรุในสมัยโบราณบางท่านเป้นพระตรีมูรติ เช่น ท่านคุรุทัตตเตรยะ ซึ่งเดิมเป็นเทวตำนานที่แพร่หลายเฉพาะในแคว้นมหาราษฏร์เท่านั้น ให้กลายมาเป้ยองค์อวตารของพระตรีมูรติ และมีการโฆษณาอย่างแพร่หลาย เช่นในสื่อโทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์ ในนิกายสมารตะก็จะถือว่าพระคุรุทัตตาเตรยะ เป็นผู้สืบทอดคำสอนในสายอไทฺวตะเวทานตะ และ เป็นผู้รจนาคัมภีร์อวฑูตคีตาด้วย เรื่องราวของพระคุรุทัตตเตรยะ ปรากฏในเรื่อง คุรุจริต ครับ […]
สุริยุปราคาแบบวงแหวน
ในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09:29:53 น. ถึง 15:05:40 น. (ตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพฯ) จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ขึ้นในโลก (โดยจุดศูนย์กลางของคราสจะอยู่ในเวลา 12:17:46 น.) แล้วข้าพเจ้าก็ได้พูดคุยกับอาจารย์ 2 ท่านที่เป็นมิตรกันว่า เราสามคนมาเขียนเรื่องอุปราคากันตามความเข้าใจของแต่ละคนเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะชนกันสักหน่อยไหม แล้วก็เป็นไปตามนั้นโดยอาจารย์เก้า (ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว) นั้นได้เขียนโพสขึ้นก่อนเป็นท่านแรก ส่วนข้าพเจ้าเองก็จะขอพูดเรื่องคราสนี้เช่นกันในอีกมิติหนึ่ง และจะพยายามเขียนให้ท่านผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์หรือวิชาโหราศาสตร์ได้เข้าใจได้ง่ายพอสังเขป (ตามที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามา ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ) อันเรื่องอุปราคาหรือคราสนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ชนิดหนึ่งที่ผู้คนในโลกจำนวนมากจะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ ถ้าจะว่ากันแบบทางวิทยาศาสตร์หรือดาราศาสตร์ในปัจจุบันแล้ว ปรากฏการณ์อุปราคาของโลกเรานี้ก็จะเกิดขึ้นโดยดาว 3 ดวง คือ ดวงอาทิตย์+โลก+ดวงจันทร์ ที่โคจรมาอยู่ในระนาบองศาเดียวกัน จนทำให้ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์นั้นเกิดการมืดลงไปชั่วขณะ และจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1. สุริยุปราคา ที่ดวงอาทิตย์+ดวงจันทร์+โลก จะเคลื่อนโคจรเข้ามาอยู่ในระนาบองศาเดียวกัน โดยดวงจันทร์นั้นจะเคลื่อนเข้าตัดหน้าบังดวงอาทิตย์ไว้ (ทำให้แสงของดวงอาทิตย์มืดลง) และจะเกิดขึ้นในช่วงวันอมาวัสยาหรือวันอมาวสี […]
พระวิษณุทุรไค
พระวิษณุทุรไค ( ஸ்ரீ விஷ்ணு துர்க்கை ) ( Shree Vishnu Durgai) พระขนิษฐาแห่งพระวิษณุ และ ทรงเป็นพลังอำนาจแห่งพระวิษณุ กับ ตำนานการถือพรตในวันเอกาทศี ในกฤดายุคนั้นมีอสูรตนหนึ่งนามว่า มุระ (Demon Mura) มันทรงพละกำลังมาก มันได้สร้างความเดือดร้อนความวุ่นวายไปทั่วทั้งตรีภพ แม้กระทั้ง เทวราชอินทระ, พระกุเวรจอมยักษา, พระยมเทพ, พระวรุณ, พระอัคนี, พระวายุ และ คนธรรพ์ราช ก็ยังมิอาจปราบมันได้ เหล่าเทวะและ มุนีทั้งหลายจึงพากันไปเข้าเฝ้าพระศิวะ (Bhagavan Shiva) ผู้ประทับบนยอดเขาไกรลาส พระศิวะ ทรงตรัสแก่เหล่าเทวและมุนีทั้งหลายว่า มีแต่ พลังอำนาจของพระวิษณุ (Bhagavan Vishnu ) เท่านั้นที่สามารถปราบมุราสุระได้ พระศิวะ,พระพรหม และ เหล่าเทวดาพร้อมมุนีทั้งหลายจึงต่างพากันเข้าเฝ้า พระวิษณุ ณ ไวกุณฐะ อันเป็นทิพยวิมานของพระองค์ พระวิษณุ ไวกุณฐนาถ เหล่าเทวะและมุนีทั้งหลายจึงทูลถึงความชั่วร้ายของมุระ ต่อพระองค์ปัทมนาภะ […]
กุเวร
ท้าวกุเวร หรือที่เรียกนามอีกด้วยว่า “เวสวัน” หรือ “ไพษรพน์” มีกำเนิดเป็นยักษ์และมีบริวารเป็นยักษ์ แต่เหตุใดจึงเข้าข้างฝ่ายเทวดาทุก ๆ คราวที่เทวดารบกับยักษ์? ข้อนี้ย่อมเป็นข้อฉงนของคนโดยมากแท้จริงในเรื่องรามเกียรติ์ก็มีแถลงประวัติของท้าวกุเวรแต่ในที่นั้นเรียกว่า “ท้าวกุเปรัน” จึงไม่มีใครสำเหนียกว่าเป็นตัวเดียวกันกับท้าวกุเวรรั้นเอง มีนามกลายเป็น “กุเปรัน” ไปนั้น ข้าพเจ้าสันนิฐานว่าคงเป็นไปโดยทางเดียวกับ “เซอร์ เจมส์ บรุก” กลายเป็น “ชีจำปลุ๊ก” เช่นที่กล่าวมาแล้วในคำอธิบายที่ ๑๔ กล่าวคือ พราหมณ์ผู้เป็นครูคงได้ออกนามว่า “กุเพร” ซึ่งตามสำเนียงสันสกฤตก็คล้าย “กุเบรัน” ผู้จดจึงจดลดลงตามที่ตนได้ยินแล้วเมื่อคัดลอกต่อกันมา หางตัว บ ยาวออกจึงกลายไปเป็นเป ส่วนประวัติในต้นรามเกียรติ์กล่าวได้ถูกต้องดีพอประมาณแต่เพราะเหตุที่ “ท้าวกุเปรัน” นับตั้งแต่ถูกทศกัณฑ์แย่งบุษบกแล้วก็มิได้กล่าวถึงอีกคนไทยโดยมากจึงมิใคร่ได้ใฝ่ใจถึง ฉะนั้นที่นี้ข้าพเจ้าขอแถลงประวัติของท้าวกุเวรโดยย่อ ตามที่มีในอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณะและเก็บจากที่อื่นประกอบบ้างพอสมควร ในกฤตยุค พระปุลัสตยะประชาบดี ผู้เป็นมานะสาบุตรของพระพรหมบำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ ให้รับความรำคาญเป็นอันมาก เพราะมีสตรีหลายคนชอบไปขับลำทำเพลงและจับระบำเล่นที่ข้างอาศรม พระปุลัสตยะจึงประกาศคำสาปไว้ว่า ถ้าหญิงใดเข้าไปใกล้อาศรมของเธออีกให้เกิดมีครรภ์ มีนางกษัตริย์องค์ ๑ ซึ่งเป็นบุตรีของท้าวตฤณะวินทุ มิได้ทราบคำสาปนี้เดินเข้าไปใกล้อาศรม จึงเกิดมีครรภ์ ครั้นท้าวตฤณะวินทุทราบ ดังนั้นก็เลยยกธิดาให้แก่พระปุลัสตยะ และนางมีโอรสชื่อวัสวิศระ หรือ เรียกตามกำเนิดว่า “เปาลัสตยะ” […]
พระสวามีอัยยัพปา
พระราชาศรีกาลา ทรงเป็นพระราชาที่เปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพ และความกล้าหาญ ทำให้พสกนิกรอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขและถือเป็นยุคทองแห่งราชอาณาจักร แต่อย่างไรก็ตามตัวของพระราชาก็ยังทรงกลุ้มพระทัยเนื่องจากไม่มีทายาทสืบราชบัลลังค์ ในทุกวันพระองค์จึงทรงไปขอพรจากพระศิวะเทพเพื่อให้ประทานบุตรให้ อีกด้านหนึ่งอสูรมหิงสาสุรัน บุตรแห่งรัมบัน เข้าพิธีทรมานตนเองอย่างหนัก จนกระทั่งร้อนไปถึงองค์พรหมเทพ จนกระทั่งมาปรากฎพระองค์เบื้องหน้าอสูร และให้พรแก่อสูรนั้น โดยพรข้อนั้น คือ ขอไม่ให้มนุษย์ใดในโลกสามารถทำร้ายและฆ่าตนได้ เมื่อได้รับพรแล้ว มหิงสาสุรัน ก็เริ่มนำกำลังทัพเข้ารุกราน และฆ่าคนบนโลกอย่างสยดสยอง ทำให้คนทั้งหลายทั้งโกรธทั้งกลัวต่างพากันวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง เหล่าเทวดาเห็นถึงความร้ายกาจของมหิงสาสุรันจึงได้ทูลขอให้พระจันธิกาช่วยปรามพระจันธิกาพยายามพูดให้มหิง สาสุรันให้ลดความอำมหิตลงโดยทรงบอกให้นำพรที่ได้จากพระพรหมไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร แต่มหิงสาสุรันไม่ฟัง ยังคงฆ่าคนต่อไป จนในท้ายที่สุดพระจันธิกาจบชีวิตมหิงสาสุรันลง มหิงสี บุตรตรีแห่งคารัม ซึ่งเป็นพี่ชายของรัมบัน เห็นลูกพี่ลูกน้องตนถูกเหล่าเทวดาฆ่าตาย ด้วยความพยาบาทนางอสูรจึงประกอบพิธีทรมานตนเพื่อขอพรแก่พระพรหม จนท้ายที่สุดก็ได้รับพรจากพระพรหม องค์พรหมเทพเกรงว่าจะเหมือนครั้งก่อนจึงให้เงื่อนไขว่า เจ้าจะขอพรอันใดก็ได้ ยกเว้นเสียแต่ขอพรให้มีชีวิตอมตะ มหิงสีจึงขอพระพรหมว่า ขอให้ทั้งสามโลกไม่มีผู้ใดฆ่านางได้ยกเว้นเสียแต่บุตรอันเกิดจากองค์วิษณุและองค์ศิวะเทพเท่านั้น เมื่อได้พรนางมหิงสีนำกำลังเข้าบุกเทวโลกและมนุษย์โลกทันที ด้วยการที่เหล่าเทวาทั้งหลายได้หลบหนีไปคนละทิศทางนั้น ได้บุกรุกไปยังอาศรมของฤาษีท่านหนึ่ง ฤาษีนั้นโกรธที่ถูกบุกรุกเลยสาปแช่ง เหล่าเทวดากลัวต่อคำสาบแช่งนั้น จึงได้ไปขอร้องให้องค์วิษณุเทพช่วย มหาวิษณุกล่าวว่าการที่จะทำให้คำสาปนั้นสูญสลายไปก็มีอยู่แต่ของสิ่งนั้นต้องไปนำมาจากเทวโลก แต่ตอนนี้มหิงสีได้ครอบครองอยู่ ด้วยความต้องการช่วยเหลือเหล่าเทวา พระองค์จึงเนรมิตกายเป็นสตรีเพศ นามว่า โมหิณี เข้าไปยังเมืองของมหิงสี แต่ตอนกลับองค์ศิวะเทพทรงทอดพระเนตรเห็นองค์วิษณุเทพที่อยู่ในรูปของนางโมหิณีเข้า จึงเกิดพอพระทัย […]
พระกฤษณะ
พระกฤษณะเป็นหลานตาของกษัตริย์ ณ มถุรานคร พระกษัตริยมรมพระนามว่าอุคระเสน พระกษัตริย์มีบุตร 2 คน พญากงส์และนางเทวกี นางเทวกีได้สมรสกับพระวสุเทพ ต่อมาพญากงส์กบฎต่อพระบิดา ได้จับพระบิดาอุคระเสนและพี่สาวพี่เขยขังไว้ โหรทำนายว่าบุตรคนที่แปดของนางเทวกีจะฆ่าพญากงส์ พญากงส์จึงฆ่าลูกทุกคนของนางเทวกี หลังจากฆ่าหกคนแรกแล้ว คนที่เจ็ดแท้ง พระกฤษณะเป็นคนที่แปด พระวสุเทพสามารถลักลอบเอาพระกฤษณะไปฝากให้โคบาลชื่อนันทะและนางยโศธาเลี้ยง … ที่มาและกำเนิดพระกฤษณะ … พระวิษณุเทพ มีหลายภาคหลายอวตาน ซึ่งแต่ละอวตานนั้นพระองค์ลงมาเพื่อช่วยปราบอสูร และยุคเข็ญทั้งหลาย และ มีอยู่อวตานหนึ่งซึ่งพระองค์ถือกำเนิดจากพระวสุเทพ กำเนิดพระกฤษณะ พระราชาศูรปกครองชาวสุรเสนในนครมธุรา มีลูกด้วยกันสองคน คนโดเป็นผู้ชายชื่อเจ้าชายวสุเทพ อีกคนเป้นลูกสาวชื่อเจ้าหญิง กุณตี ท้าวอุรุเสนนั้นมีลูกมากซึ่งลูกที่เป็นรัชทายาทและเกเรมากชื่อว่า ท้าวกังษะ ตอนหลังได้จับพ่อไปขังและขึ้นครองราชย์แทน ด้วยความที่ท้าวกังษะนั้นค่อนข้างโหดเหี้ยมทารุณกลัวว่าท้าววสุเทพเพื่อนรัก นั้นจะไม่ช่วยเหลือคนในการครองราชย์บ้านเมืองจึงยกน้องสาวชื่อ นางเทวกี ((ท้าวกังษะ มีน้องสาวสองคน คือ นางเทวกีและนางโมหิณี) และก็ได้อยู่ช่วยงานท้าวกังษะ ซึ่งยังความเดือดร้อนแก่คนในเมืองเป็นอย่างมาก ต้องส่งส่วยนมเนยทุกวัน วันหนึ่งท้าวกังษะกำลังจะออกประภาสป่าก็ได้มีพบพระนารัทมุนีมายืนตัดหน้าแล้วบอกว่า เรามาที่นี่เพื่อจะบอกว่า […]
พระอันนาปุราณะ
พระอันนาปุราณะเทวี ในภาษาสันสฤต อันนา หมายถึง อาหาร และ ปุระณะ หมายถึง ความสมบูรณ์พร้อม ดังนั้นพระอันนาปุราณะ จึงหมายถึงเทวีผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารการกิน โดยพระองค์ทรงมีพลังอำนาจที่จะสามารถประทานอาหารได้อย่างไม่มีวันหมด ดังนันแล้วพระองค์จึงเป็นที่เคารพและสักการะแก่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอาหาร (เป็นอีกภาคปางหนึ่งของพระปารวตี) เทวรูปหรือรูปเคารพของพระองค์จะถูกตั้งอยู่บนโต๊ะอาหาร, ร้านอาหารต่างๆ หรือแม้กระทั่งห้องครัว โดยก่อนที่จะลงมือทาน, ทำอาหาร รวมไปถึงก่อนเปิดกิจการร้านอาหารในแต่ละวัน ผู้ที่บูชาจะทำการบูชาพระองค์ก่อนเสมอ โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าใครบูชาพระแม่อันนาปุราณะ ตลอดชีวิตของผู้นั้นจะไม่เผชิญกับความอดอยาก และพรของพระองค์จะทำให้อาหารที่กินไปนั้นเป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ เมื่อได้ทานจะไม่เจ็บไม่ป่วย มีชีวิตเป็นอมตะ และมีพละกำลังมหาศาล ตำนานของพระอันนาปุราณะ การบูชาพระอันนาปุราณะนี้เกิดขึ้นมานานด้วยสาเหตุที่ว่าอยู่ๆ อาหารทั้งหมดบนโลกได้ถูกทำลายและสูญสลายหายไปจนหมดสิ้น ไม่ว่ากระทั่งพื้นที่ทำกิน หรือแม้แต่ในยุ้งฉางของชาวบ้าน จนทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากด้วยภาวะอดอยาก ไม่มีสิ่งใดที่จะให้บริโภคเพื่อประทังความหิว ผู้คนทั้งหลายจึงได้ทำการสวดบูชาอ้อนวอนถึงพระพรหมเทพ โดยให้พระพรหมหาวิถีทางช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์และความแล้นแค้นในครั้งนี้ ทำให้เดือดร้อนถึงพระพรหมจนกระทั่งได้ไปอ้อนวอนต่อพระวิณุให้ช่วยเหลือ จากนั้นทั้งสองพระองค์จึงได้ไปปลุกพระศิวะมหาเทพให้ออกจากการเจริญสมาธิ พระศิวะจึงคิดอุบายและไปขอร้องให้พระอันนาปุราณะช่วยเหลือเพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านพลาหาญกลับคืนมา โดยให้พระอันนาปุราณะลงไปจุติยังโลกมนุษย์ จากนั้นพระองค์จะทรงแปลงพระวรกายของพระองค์เป็นดั่งขอทาน ไปขอประทานข้าวจากพระอันนาปุราณะ เมื่อได้ข้าวแล้ว พระศิวะจึงโปรยข้าวไปรอบๆ และเมื่อโปรยข้าวลงที่ยุ้งฉาง ยุ้งฉางที่เคยว่างเปล่าก็กลับมีพลาหาญอยู่เต็มยุ้ง พื้นนาที่ว่างเปล่า ก็กลับมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์พืชขึ้นอีกครั้ง […]