เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ทุรคาษฏมี

ทุรคาษฏมี (दुर्गाष्टमी/Durgashtami) ถือเป็นอีกฤกษ์มงคลหนึ่งในการบูชาพระเทวี โดย ทุรคาษฏมี (ทุรคา+อัษฏมี) มีอยู่ในทุกเดือน โดยถือ ศุกลปักษ์ อัษฏมี (शुक्लपक्ष अष्टमी/Shuklapaksha Ashtami) หรือ ขึ้น8ค่ำ ของทุกเดือนตามปฏิทินจันทรคติฮินดู เป็นวัน ทุรคาษฏมี อันเป็นมงคลฤกษ์สำหรับการสักการะบูชาพระศรีอัมพิกา (พระศักติและรูปปรากฏต่างๆของพระนาง) ในดิถีนี้ยังถือเป็นดิถีกำเนิดปรากฏองค์ของ พระศรีภัทรกาลี (श्री भद्रकाली/Shree Bhadrakali) เมื่อครั้งทำลายพิธียัชญะของพระทักษะประชาบดี (दक्ष प्रजापति/Daksha Prajapati) พร้อมด้วยเหล่าโยคินีอีกด้วย […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระศรีมูกามพิกา แห่ง กลลูรุ

พระศรีมูกามพิกา แห่ง กลลูรุ (Shree Mookambika of Kollooru) พระศรีมูกามพิกา (ಶ್ರೀ ಮೂಕಾಂಬಿಕಾ / Shree Mookambika) ทรงถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพระแม่ทุรคาในอินเดียใต้ ทรงประทับบนขุนเขากูฑจาทริ (ಕೂಡಚಾದ್ರಿ / Koodachadri) หรือ กุฏชาทริ (कुटजाद्रि / Kutajadri) ในเมืองโกละปุระ (ಕೊಲಪುರ / Kolapura) หรือ กลลูรุ (ಕೊಲ್ಲೂರು […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ

พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ (Shree Kamakshi of Jonnawada) เทวสถาน ศรี มัลลิการชุนะ สวามี – กามากษี ตัลลิ แห่ง ชนนวาฑะ ถือเป็นอีกหนึ่งปุณยสถานของชาวเตลุคุ ตั้งอยู่ในเมืองชนนวาฑะ (Jonnawada) เขตเนลลูรุ ( Nellooru,Nellore) รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) อินเดียตอนใต้ เทวตำนานของเทวสถานกล่าวถึง เมื่อครั้งพระกัศยปะ ประชาบดี (Kashyapa […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

กามากฺษี นาม รหสฺย

กามากฺษี นาม รหสฺย (ความลับแห่งนาม กามากษี) ใช่ครับ กามากษี (อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย คือ กามากชี) นามสันสกฤตนี้ตีได้หลายความหมาย ผมจึงตั้งชื่อหัวข้อบทความนี้เป็นภาษาสันสกฤตว่า กามากษี นามะ รหัสยะ อันหมายถึง ความลับแห่งนาม กามากษี กามากษี มีความหมายทั้งในด้านไวยากรณ์ และทางปรัชญา อันว่า เสียง กา คือ พระศรีมหาลักษมี และ เสียง มา คือ […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

108 Names of Divine Mother Meenakshi (1-10)

॥श्रीमीनाक्षी नामावली॥ ॐ मातङ्ग्यै नमः ॐ विजयायै नमः ॐ श्यामायायै नमः ॐ सचिवेश्यै नमः ॐ शुकप्रियायै नमः ॐ नीपप्रियायै नमः ॐ कदम्बेश्यै नमः ॐ मदकुर्णितलोचनायै नमः ॐ भक्तानुरक्तायै नमः ॐ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ตำนานอันพิสดารของพระขันทกุมาร​ ฉบับบาหลี​

พระขันทกุมาร​ หรือที่ชาวบาหลีเรียกขานว่า ซังฮฺยัง​ กุมารา (Sang​ Hyang​ Kumara)​ และ บาตารา กุมารา (Batara​ Kumara) ในคติบาหลีทรงเป็นโอรสองค์หนึ่งในองค์​ ซังฮฺยัง​ ซีวา หรือ​ บาตารา กูรู​ (Sang​ Hyang​ Siwa​/Batara​ Guru) ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์​ ทรงเป็นพระอนุชาใน​องค์​ซังฮฺยัง กานา (Sang​ Hyang​ Gana)(พระคเณศ)​ และ​ ซังฮฺยัง […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระอังกาละ ปรเมศวรี แห่ง เมลมไลยะนูร

พระอังกาละ ปรเมศวรี แห่ง เมลมไลยะนูร (Ankala Parameshwari of Melmalaiyanoor) อังกาละ ปรเมศวรี (Ankala Parameshwari/அங்காள பரமேஸ்வரி),อังกาลัมมา (Ankalammaa/அங்காளம்மா),อังกาลัมมัน (அங்காளம்மன் / Ankalamman),อังกาลิ (Ankali / அங்காளி) หรือ อังกาลัมมะ (Ankalamma / అంకాలమ్మ / ಅಂಕಾಲಮ್ಮ) ในสำเนียงภาษาเตลุคุ และกันนฑะ และ อังกัมมะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระเทวี กับ ใบสะเดา (เวปปิไล – Veppilai)

พระเทวี กับ ใบสะเดา ใบสะเดา (Neem leave) หรือ เวปปิไล (வேப்பிலை/Veppilai)ในภาษาตมิฬนั้นถือเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะแก่เจ้าแม่ท้องถิ่นทั้งหลายในอินเดียตอนใต้ โดยเชื่อกันว่า ใบสะเดาสามารถขจัดโรคผิวหนัง และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้ หนึ่งในที่มาของความเชื่อนี้ปรากฏอยู่ในตำนานของเทวสถาน ศรี เรณุกา ปรเมศวรี หรือ ศรี เรณุกามบาล แห่งปฏเวฑุ ดังนี้ กล่าวถึงเมื่อครั้งพระฤๅษีชมทัคนีผู้ภัสดาแห่งพระเรณุกาเทวีได้ถูกสังหารลงด้วยกษัตริย์ (บ้างว่า ท้าวการตวีรยารชุน บ้างว่า โอรสทั้งสามของท้าวเธอ) พระนางเรณุกาผู้ปดิวรัดาทรงเศร้าโศกเสียพระทัยยิ่ง อีกทั้งทรงตัดสินพระทัยที่จักปลงศพพระสวามี พร้อมกับตนเอง พระนางเรณุกาจึงทรงจัดเตรียมพิธีสังสการสุดท้ายแก่พระฤๅษีชมทัคนี […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

บทความพิเศษเรื่อง “भरतनाट्यम् – ภารตนาฏยัม คืออะไร”

  ภารตนาฏยัมคืออะไร ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล (อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ศูนย์สันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ           การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น  มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี

ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่าปาลี (पाली) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า กัลยาณะ(कल्याण – Kalyana) กับภรรยาของเขาที่มีชื่อว่าอินทุมตี (इन्दुमती – Indumati) ได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า “พัลลาฬะ (बल्लाळ – Ballal)” แล้วในวันหนึ่งพัลลาฬะซึ่งเป็นบุตรของทั้งสองนี้ ก็ได้นำเหล่าเพื่อน ๆ ของเขานั้นไปทำการบูชาโดยใช้ก้อนหินก้อนหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง ซึ่งพวกเขานั้นสมมุติให้เป็นองค์มูรติของพระเคณศ อีกทั้งพวกเขายังเพียรบูชาซึ่งมูรติของพระเคณศนี้จนลืมความหิวกระหายและจนไม่รู้วันรู้คืน (ไม่ยอมกลับบ้าน) ในช่วงนั้นเองผู้ปกครองของบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายในหมู่บ้านก็มุ่งไปยังเรือนของกัลยาณะ และทำการต่อว่าเกี่ยวกับการนำไปของพัลลาฬะเช่นนี้ […]