เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ความลับของลูกศรทั้งห้า

ปัญจพาณะ รหัสยะ มโนรูเปกฺษุโกทณฺฑา ปญฺจตนฺมาตฺรศายกา। ( มโนรูเปกษุโกทัณฑา ปัญจะตันมาตระ ศายะกา) ข้อความข้างต้นคือ บาทแรกของ ศรีลลิตา สหัสรนามะ โศลกที่3 ซึ่งมีความหมายดังนี้ พระนางผู้ทรงเกาทัณฑ์อ้อยอันเป็นรูปของจิตใจ พระนางผู้ทรงลูกกุทัณฑ์อันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า อันปัญจตันมาตระ พาณะ หรือ ลูกศรอันเป็นองค์ประกอบอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนทั้งห้า ของพระลลิตา ปรเมศวรี คัมภีร์ตันตระหลายเล่มก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างกล่าวว่า ลูกศรทั้งห้าเป็นองค์แทนของจิตสัมผัสทั้งห้าได้แก่ สปรรศะ (สัมผัส) รูป รส คัณธะ(กลิ่น) และศัพทะ (เสียง) บ้างว่า ลูกเกาทัณฑ์ทั้งห้าเป็นองค์แทนของมหาปัญจภูต หรือ ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ปฤถวี (ดิน),ชล(น้ำ),วายุ(ลม),อัคนี(ไฟ) และอากาศ ส่วนคัมภีร์ชญานารนวะ ตันตระ กล่าวว่า ลูกกุทัณฑ์ทั้งห้านั้นเป็นองค์แทนของ กโษภณะ (การเร้าอารมณ์) ทราวณะ (ความเวทนา) อากรรษณะ (การจูงใจ) วาสยะ (การอ่อนน้อมถ่อมตน,การเชื่อฟัง) และ อุนมธะ (ความลุ่มหลงมัวเมา) […]

เกร็ดความรู้

ศรี ลลิตา ธยานะ มนตระ ประถมโศลก

บททำการสมาธิระลึกพระศรีลลิตา ปฐมโศลก सिन्दूरारुण-विग्रहां त्रिनयनां माणिक्यमौलि स्फुरत् तारानायक-शेखरां स्मितमुखी मापीन-वक्षोरुहाम्। पाणिभ्यामलिपूर्ण-रत्न-चषकं रक्तोत्पलं बिभ्रतीं सौम्यां रत्न-घटस्थ रक्तचरणां ध्यायेत् परामम्बिकाम्॥ สินฺทูรารุณ-วิคฺรหำ ตฺรินยนำ มาณิกฺยเมาลิ สฺผูรตฺ ตารานายก-เศขรำ สฺมิตมุขี มาปีน-วกฺโษรุหามฺ। ปาณิภฺยามลิปูรฺณ-รตฺน-จษกํ รกฺโตตฺปลํ วิภฺรตีํ เสามฺยำ รตฺน-ฆฏสฺฐ รกฺตจรณำ ธฺยาเยตฺ ปรามมฺพิกามฺ॥ คำอ่าน สินทูรารุณะ วิคระฮาม ตรินะยะนาม มาณิกยะเมาลิ สะผูรัต ตารานายะกะ เศขะราม สะมิตะมุขี มาปีนะ วักโษรุหาม ปาณิภยามะลิปูรณะ (ปาณิภยาม อะลิปูรณะ) รัตนะ จะษะกำ รักโตตปะลำ วิภระตีม เสามฺยา รัตนะ ฆฏัสฐะ รักตะจะระณาม ธฺยาเยต […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ที่มาของพระนาม ขันธกุมาร ในประเทศไทย

อันว่านาม ขันธกุมาร ที่คนไทยนิยมคุ้นเคยกันนั้นมาจากคำว่า ขันธ์ หรือ ขันธะ ในภาษาปาลิ (ภาษาบาลี) ซึ่งคำนี้ในภาษาสันสกฤต คือ สกันธะ หมายถึง กอง,หมวดหมู่ ขันธกุมาร อาจหมายถึง กุมารผู้เป็นนายกอง นายหมู่? แต่แท้จริงแล้ว นามของพระองค์คือ สกันทะ อันหมายถึง ผู้ทำลาย ในภาษาสันสกฤต สฺกนฺท ยังหมายถึง การปะทุ,การทะลัก,การหกหล่น,การโจมตี,ผู้โจมตี ได้ด้วย ยังให้ความหมายเป็นนัยได้อีกว่า ผู้เกิดจากการปะทุของพระเดชานุภาพของพระศิวะ (ตามเทวปกรณ์ในปุราณะ พระองค์เกิดจากพีชะของพระศิวะ) และ ผู้โจมตี ยังมีนัยถึง สถานะเทวมหาเสนา ของพระองค์ สกันทะ อันหมายถึง ผู้ทำลายนั้นมีความหมายเช่น เดียวกับ หน้าที่ของพระรุทระผู้บิดรเทพ คือ ทำลายบาป ความเลวทรามชั่วช้าทั้งปวง ตามตำนานในปุราณะ พระองค์บังเกิดขึ้นเพื่อปราบตารกาสุระ ผู้ได้รับพรจากพระพรหมาว่า ให้ตนตายด้วยโอรสของพระศิวะ หลังจากการวิวาห์ของ พระศิวะ และพระปารวตี พระองค์ทั้งสองได้ใช้เวลาร่วมกัน แต่การร่วมกันของพระองค์ทั้งสองยังทำให้ทั้งจักรวาลสั่นสะเทือน เหล่าเทวะจึงต่างมาเข้าเฝ้าพระองค์ทั้งสอง ซึ่งเป็นเพลาอันไม่สมควร […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ศรี โคเปศวร พระศิวะในรูปของโคปี

ศรี โคเปศวร มณเฑียร (श्री गोपेश्वर मंदिर/Sri Gopeshwar Mandir) เป็นหนึ่งในปุณยสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ อันตั้งอยู่ในวฤนทาวัน (वृन्दावन/Vrindavan) ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระกฤษณะ เป็นภูโลก วฤนทาวัน หรือ โคโลก ที่ได้มาตั้งอยู่ในโลกวัตถุนี้ และเป็นสถานที่พระกฤษณะ อวตารลงมาแสดงลีลาในวัยเด็กของพระองค์ พร้อมทั้ง ศรีมตี ราธา รานี อันเป็น หฺลาทินี ศักติ หรือ พลังอำนาจแห่งความสุขทิพย์ของพระองค์ ศรี โคเปศวรนั้นได้รับการบูชาในฐานะ ผู้ประทานเปรมะ ภักติ (การอุทิศตนเสียสละ ด้วยความรักจากใจจริง) เฉกเช่นที่เหล่าโคปีมี โดยเรื่องราวขององค์พระโคเปศวรนั้นมีปรากฏใน ครรคะ สังหิตา อันมีเนื้อความดังต่อไปนี้ ครั้งหนึ่ง เมื่อการร่ายรำมหาราสะ กำลังเริ่มขึ้น พระกฤษณะ (श्रीकृष्ण/Sri Krishna) ทรงเป่าขลุ่ยเพื่อเรียกหาเหล่าโคปิกา ที่มีความรัก และภักดีต่อพระองค์มารวมตัวกันในป่าสวนอันร่มรื่น ของวฤนทาวัน ภายใต้แสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ฤดูใบไม้ร่วง เพื่อแสดงราสลีลา (การร่ายรำศักดิ์สิทธิ์) ร่วมกับพระองค์ เพื่อตอบสนองต่อการอุทิศตนทางจิตวิญญาณของพวกนาง […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

บทสดุดี พระโคเปศวร

ศรี โคเปศวร สตุติ वृन्दावनावनिपते जय सोम सोममौले सनक-सनन्दन-सनातन-नारदेय गोपीश्वर वृजविलासी युगाङ्घ्री पद्मे प्रेम प्रयच्छ निरुपाधि नमो नमस्ते วฤนฺทาวนาวนิปเต ชย โสม โสมเมาเล สนก-สนนฺทน-สนาตน-นารเทย โคปีศฺวร วฤชวิลาสี ยุคางฺฆฺรี ปทฺเม เปฺรม ปฺรยจฺฉ นิรุปาธิ นโม นมสฺเต คำอ่าน วฤนทาวะนาวะนิปะเต (วฤนทาวนะ-อวนิปเต) ชะยะ โสมะ โสมะ เมาเล สะนะกะ สะนันทะนะ สะนาตะนะ นาระเทยะ โคปีศวะระ วฤชะวิลาสี ยุคางฆรี ปัทเม เปรมะ ประยัจฉะ นิรุปาธิ นะโม นะมัสเต อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียโดยคร่าว วฺรินดาวะนาวะนิปะเต จะยะ โซมะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

บทสรรเสริญ พระโคเปศวร

ศรี โคเปศวร สตวะ श्रीमद्गोपीश्वर वन्दे शंकरं करुणामयम्। सर्वक्लेशहरणं देवं वृन्दयारणयं रतिप्रदे॥ ศฺรีมทฺโคปีศฺวร วนฺเท ศํกรํ กรุณามยมฺฯ สรฺวเกฺลศหรณํ เทวํ วฤนทยารณยํ รติปฺรเทฯ। คำอ่าน ศรีมัทโคปีศวะระ วันเท ศังกะรัม กะรุณามะยัม สัรวะ กเลศะ หะระณัม เทวัม วฤนทะยาระณะยัม ระติประเท อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดียโดยคร่าว ชรีมัดโกปีชวะระ วันเด ชังกะรัม กะรุณามะยัม ซัรวะ กเลชะ ฮะระณัม เดวัม วฺรินดะยาระณะยัม ระติประเด คำแปล ข้าแด่พระโคปีศวร ข้าพเจ้าขอน้อมสรรเสริญซึ่ง พระองค์ผู้ศังกร (ผู้ยังความสิริมงคล แลความเจริญรุ่งเรือง) ผู้ทรงกอปรด้วยความกรุณา พระผู้ทรงขจัดซึ่งกิเลสทั้งปวง พระเทวะ พระผู้ทรงประทานซึ่งความรัก พระผู้ซึ่งเป็นที่พักพิงของทุกสรรพสิ่ง แปลโดย ศรี คุรุวายูร […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

เหตุใดพระแม่มีนากชี และพระอุมารวมถึงอวตารต่างๆของพระองค์ถึงมีวรกายสีเขียว

เราทั้งหลายอาจคุ้นชินกับภาพจิตรกรรมหรือแม้แต่ปฏิมากรรมของพระอุมาในภาคต่างๆกันไปในชั้นต่างๆของโคปุรัม(Gopuram)เทวสถานของไศวะนิกายและแม้แต่มณฑป(Mandapa)ของพระเทวีในรัฐตมิฬนาฏุ (Tamil Naadu) และรัฐเกรละ(Kerala)ในอินเดียตอนใต้ซึ่งมักมีพระวรกายสีเขียว แต่เหตุใดเล่าพระฉวีวรรณของพระองค์จึงมีสีเขียว วันนี้ผมจึงจะขอกล่าวอธิบายถึงข้อสงสัยนี้ของพระสาวกผู้ศรัทธาหลายท่าน อันพระฉวีวรรณอันเขียวดังมรกตและหยกพม่าที่เราเห็นกันตามภาพจิตรกรรมในยุคต่างๆตั้งแต่โบราณนานมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระปฏิมาบนโคปุรัมและบนมณฑปพร้อมทั้งพระปฏิมาบนเสาภายในมณฑป(Mandapa Pillar Sculptures)ยุคใหม่นั้น แท้จริงแล้วมาจากฉวีวรรณอันคล้ำ หรือผิวคล้ำนั้นเอง ซึ่งหากกล่าวตามศาสนวิทยานั้นมาจากอิทธิพลของชนชาติ ซึ่งชาวทราวิฑในอินเดียตอนใต้นั้นมักมีผิวคล้ำ รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของหญิงสาวในอินเดียใต้(และเป็นวัฒนธรรมร่วมในเอเชียใต้และเอเชีบอาคเนย์อีกด้วย)ซึ่งมักชโลมผิวด้วยขมิ้น (Turmeric)อันมีกลิ่นหอมและเชื่อว่าเป็นมงคล ฉวีวรรณของสาวทั้งหลายซึ่งชโลมกายด้วยขมิ้นจึงมีสีออกมาในโทนเขียวดังมรกต(emerald)และหยกจักรพรรดิ(Imperial Jade)ดูงามตา ด้วยเหตุนี้พระเทวีและพระแม่อันเป็นที่ศรัทธาของเขาจึงมีฉวีวรรณเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงความพูกพันธ์กันระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ พร้อมกับเทวปกรณัมว่าพระเทวีได้ทรงอวตารลงมาเป็นพระมีนากชี จักรพรรดินีแห่งปาณฑยะอันเป็นหนึ่งในสี่ราชวงศ์/อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวตมิฬและมลยาลิในยุคต้น และความเชื่อว่า เทวปฏิมาของพระศรีมีนากชีแกะสลักมาจากหินเขียว จึงทำให้ในจิตรกรรมและปฏิมากรรมต่างๆของพระเทวีมีฉวีวรรณเขียวดังมรกตและหินหยกจักรพรรดิ และสีวรกายนี้ยังตัดกับพระภูษาสีแดงอันเป็นสีพระภูษาที่โปรดปรานของพระเทวี (ในภายหลังภาพโปสเตอร์พระมีนากชีในยุคหลังมักทรงภูษาสีเขียวเข้ากับสีพระวรกาย) เป็นที่สวยงามงดงามตา และด้วยการที่ทรงมีฉวีวรรณอันคล้ำดังมรกต จึงทรงนามว่า ศยามา (Shyāmā),ศยามสุนทรี (Shyāmasundarī) อันหมายถึง พระนางผู้ทรงความงดงามด้วยพระฉวีวรรณอันคล้ำ และ มรกตวัลลี (Marakatavallī) ซึ่งหมายถึง พระนางผู้งดงามดังเถาวัลย์มรกต. เช่นเดียวกับ พระกาลีในอินเดียตอนเหนือซึ่งมักวาดสีพระวรกายในสีฟ้าในยุคกลางและภาพโปสเตอร์ในยุคหลัง ในขณะที่ในตมิฬนาฏุ และเกรละพระกาลีมักทรงวรกายสีเขียว และแดง (สีแดงก็มาจากกรณีเดียวกัน กับการสื่ออารมณ์สภาวะโกรธา) นอกจากนี้ พระศรีราม (Shree Rama) และ พระเทเวนทร์ (Devendra) ในตมิฬนาฏุ […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พระมีนากษี

श्रीमत्सुन्दरनायिकां भयहरां ज्ञानप्रदां निर्मलां श्यामाभां कमलासनार्चितपदां नारायणस्यानुजाम् । वीणावेणुमृदङ्गवाद्यरसिकां नानाविधामम्बिकां । मीनाक्षीं प्रणतोऽस्मि सन्ततमहं कारुण्यवारांनिधिम् ॥ ศฺรีมตฺสุนฺทรนายิกามฺ ภยหรำ ชฺญานปฺรทำ นิรฺมลำ ศฺยามาภำ กมลาสนารฺจิตปทำ นารายนสฺยานุชามฺฯ। วีณา-เวณุ-มฤทงฺควาทฺยรสิกำ นานาวิธามมฺพิกำ มีนากฺษีํ ปฺรณโตสฺมิ สนฺตตมหํ การุณฺยวารำนิธิมฺฯ। คำอ่าน ศรีมัตสุนทะระนายิกาม ภะยะหะราม ชฺญานะประทาม นิรมะลาม ศฺยามาภาม กะมะลาสะนารจิตะปะทาม นารายะณัสยานุชาม วีณา เวณุ มฤทังคะ วาทยะระสิกาม นานา วิธามัมพิกาม มีนากษีม ประณะโตสมิ สันตะตะมะฮัม การุณยะวารานนิธิม คำแปล ข้าพเจ้าขอประณตน้อมอยู่เป็นนิจซึ่งพระมีนากษี ผู้ทรงเป็นดังมหาสมุทรแห่งความการุณย์ นายิกาผู้สง่างาม แลทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ พระผู้ทรงขจัดซึ่งความกลัว พระผู้ทรงความบริสุทธิ์ แลประทานซึ่งความรู้ […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พระฤๅษีครรคะ เปิดเผยฐานะที่แท้จริงของกฤษณะ

श्रीगर्ग उवाच आसन् वर्णास्त्रयो ह्यस्य गृह्णतोऽनुयुगं तनू:। शुक्लो रक्तस्तथा पीत इदानीं कृष्णतां गत:॥ प्रागयं वसुदेवस्य क्‍वचिज्जातस्तवात्मज:। वासुदेव इति श्रीमानभिज्ञा: सम्प्रचक्षते॥ बहूनि सन्ति नामानि रूपाणि च सुतस्य ते। गुणकर्मानुरूपाणि तान्यहं वेद नो जना:॥ ศฺรีครฺค อุวาจ อาสนฺ วรฺณาสฺตฺรโย หฺยสฺย คฤหฺณโต(อ)นุยุคํ ตนุะฯ ศุกฺโล รกฺตสฺตถา ปีต อิทานีํ กฤษฺณตำ คตะฯ। ปฺราคยํ วสุเทวสฺย กฺวจิชฺชาตสฺตฺวาตฺมชะฯ วาสุเทว อิติ ศฺรีมานภิชฺญาะ สมฺปฺรจกฺษเตฯ। พหูนิ สนฺติ นามานิ […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

พิธีอุปนยนะ คืออะไร?

(คร่าวๆ ไม่ขอลงลึกนัก) พิธีอุปนยนะ ถือเป็นหนึ่งในพิธีสังสการสำคัญของชาวฮินดู โดยพิธีนี้ถือเป็นพิธีเริ่มเข้ารับการศึกษาอย่างเป็นทางการของฮินดูชน ไม่ว่าจะศึกษาในพระเวท ปุราณะ และศาสตร์ต่างๆ หากกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ การบวชเรียน การรับเป็นศิษย์-อาจารย์กัน และออกจากบ้านไปสู่สถานศึกษา หรือ คุรุกุล (ซึ่งเป็นอาศรมของคุรุ) พิธีนี้จะจัดขึ้นกับกุลบุตรของ พราหมณ์,กษัตริย์ และแพศย์ โดยแต่ละคัมภีร์กล่าวถึงช่วงอายุที่ควรประกอบพิธีนี้แตกต่างกันไป ไม่แน่นอนนัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ควรประกอบพิธีขณะยังวัยเยาว์ ไม่เกินอายุยี่สิบสี่ปี และจะทำได้เมื่อบุคคลมีความพร้อมที่จะเรียนรู้คัมภีร์ต่างๆ และผ่านการฝึกท่องโศลกต่างๆ และมีความรู้ในภาษาสันสกฤตมาพอสมควรแล้ว พิธีอุปนยนะ อาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยรวมแล้วยึดหลักพิธีจากคัมภีร์ พิธีนี้เป็นดังการกำเนิดครั้งที่สอง เมื่อได้ทำการปลงผม และเข้าพิธีซึ่งคุรุยอมรับผู้เยาว์เป็นศิษย์ โดยแสดงอาการต่างๆ (ซึ่งเรียกว่า ทีกษา) อันได้แก่ การแตะไปยังเหนือตำแหน่งหัวใจของกุลบุตรนั้น พร้อมกับการกล่าวมนตระ ซึ่งมีใจความว่า เราจะดึงใจเธอไปตามความต้องการของเรา จิตของเธอจะตามจิตของเรา ขอเธอจงคล้อยตามไปกับวจีของเรา ขอพระพฤหัสบดีจงผูกพันเธอไว้กับตัวเรา เปรียบดังการโอบอุ้มกุลบุตรนั้นไว้ในครรภ์ และให้กำเนิดอีกครั้ง และให้สายยัชโญปวีตะ หรือ อุปวีตะ แก่กุลบุตร ซึ่งยัชโญปวีตะนี้คือ องค์แทนแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตอยู่กับกุลบุตรนั้น โดยผาดจากไหล่ซ้าย พาดผ่านช่วงสรีระไปยังช่วงขวาของร่างกาย อีกทั้งแสดงพรหฺโมปเทศะ (พรหมะ […]