เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

บทความพิเศษเรื่อง “भरतनाट्यम् – ภารตนาฏยัม คืออะไร”

  ภารตนาฏยัมคืออะไร ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล (อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ศูนย์สันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ           การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น  มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น ศิลปะการร้องเพลงและเต็นรำ เป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กัน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ในแต่ละชนชาติและลักษณะที่เป็นสากลทั้งหลาย โดยธรรมชาติ และธรรมชาติคือ ครูที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงที่สุดของมนุษย์ เป็นผู้สนให้มนุษย์ รู้จักการจังหวะ และความไพเราะ ดังเช่น เสียงของลม เสียงของสายฝน เสียงของน้ำไหล ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นจังหวะดนตรี และดนตรีในที่สุด สัญนิฐานว่า ณ เวลาที่ดนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ในทันทีการเต็นรำก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย โดยการเต้นรำที่พัฒนาในแต่ละท้องถิ่น […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี

ตำนานแห่งพระพัลลาเฬศวร ที่ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยพัลลาเฬศวร ณ หมู่บ้านปาลี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่าปาลี (पाली) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า กัลยาณะ(कल्याण – Kalyana) กับภรรยาของเขาที่มีชื่อว่าอินทุมตี (इन्दुमती – Indumati) ได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า “พัลลาฬะ (बल्लाळ – Ballal)” แล้วในวันหนึ่งพัลลาฬะซึ่งเป็นบุตรของทั้งสองนี้ ก็ได้นำเหล่าเพื่อน ๆ ของเขานั้นไปทำการบูชาโดยใช้ก้อนหินก้อนหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง ซึ่งพวกเขานั้นสมมุติให้เป็นองค์มูรติของพระเคณศ อีกทั้งพวกเขายังเพียรบูชาซึ่งมูรติของพระเคณศนี้จนลืมความหิวกระหายและจนไม่รู้วันรู้คืน (ไม่ยอมกลับบ้าน) ในช่วงนั้นเองผู้ปกครองของบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายในหมู่บ้านก็มุ่งไปยังเรือนของกัลยาณะ และทำการต่อว่าเกี่ยวกับการนำไปของพัลลาฬะเช่นนี้ เมื่อกัลป์ยาณะโดนต่อว่าเช่นนั้น เขาก็เกิดความโกรธและรีบออกจากเรือนไปค้นหาลูกชายของเขาและบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลาย ครั้นเมื่อค้นเจอแล้ว กัลยาณะนี้ก็พบว่าพัลลาฬะกับเพื่อน ๆ นั้นกำลังใจจดในจอกับพระมูรติของพระคเณศอยู่ (ในนั้นกล่าวว่าพวกเด็ก ๆ ทั้งหลายกำลังได้รับฟังซึ่งคเณศปุราณะจากพระคเณศอยู่) แล้วด้วยความโกรธนั้นกัลยาณะจึงได้รีบตรงเข้าไปทำลายซึ่งซุ้มบูชาพระคเณศขนาดเล็กนั้นลง อันทำให้บรรดาเพื่อน ๆ ของพัลลาฬะนั้นพากันหวาดกลัวแล้ววิ่งหนีไป ส่วนพัลลาฬะผู้ภักดีในพระคเณศยิ่งนั้นกลับยังคงนั่งบูชาพระคเณศอยู่ ณ ที่เดิม ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้กัลยาณะนั้นโกรธยิ่งขึ้นไปอีก แล้วทำการทุบตีซึ่งบุตรของเขาอย่างหนักจนเลือดเปื้อนไปทั้งเสื้อผ้า จากนั้นกัลยาณะก็ได้นำเอาตัวของพัลลาฬะไปมัดไว้กับต้นไม้ แล้วก็มาทำลายข้าวของบูชาของพวกเด็ก ๆ และได้พยายามทำลายซึ่งก้อนหินใหญ่อันเป็นพระมูรติของพระคเณศนี้ด้วยการพยายามยกขึ้นและทุ่มลงกับพื้นให้แตก เมื่อได้ทำดังนี้แล้วกัลายณะก็เตรียมจะเดินทางกลับไปยังเรือน […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ราหุ…ลูกกำพร้า

ได้รับคำแนะนำจากพี่ที่เคารพ ให้เขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่อง “สุริยุปราคา” ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากตนเองไม่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ครั้นจะเขียนเรื่องนี้ก็กระดากใจ เลยรับปากเขาว่าจะหาเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าแทน ดังที่หลายท่านทราบแล้ว คนโบราณท่านเล่าเรื่อง “จันทรคราส” และ “สุริยคราส” แบบปรัมปรานิทาน เป็นลักษณะบุคลาธิษฐาน เล่าปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเสมือนเป็นตัวเป็นตนอย่างคน ตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว ใน ฤคเวท มีการกล่าวถึง “สฺวรฺภานุ” (สวรฺ “สวรรค์ ท้องฟ้า” + ภานุ “แสงสว่าง หรือ พระอาทิตย์ หรือ เจ้าผู้เป็นใหญ่”) ว่าเป็นผู้ทำให้เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา หรือ คราส ชื่อของ สฺวรฺภานุ นี้ ไม่รู้จะแปลอย่างไรดีให้เหมาะสม จะว่า เป็นแสงสว่างในสวรรค์ก็ไม่ใช่ เพราะตัวสฺวรฺภานุเป็นอสูรที่ก่อให้เกิดความมืด หรือจะแปลว่า ผู้มี (หมายถึง ผู้จับ) แสงสว่าง/พระอาทิตย์ในสวรรค์ หรือท้องฟ้าก็เป็นได้ ต่อมาตั้งแต่ อาถรรพเวท ลงมา มีปรากฏใช้ชื่อ “ราหุ” ที่เราคุ้นเคยกันด้วย “ราหุ” […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

สุริยุปราคาแบบวงแหวน

ในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09:29:53 น. ถึง 15:05:40 น. (ตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพฯ) จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ขึ้นในโลก (โดยจุดศูนย์กลางของคราสจะอยู่ในเวลา 12:17:46 น.) แล้วข้าพเจ้าก็ได้พูดคุยกับอาจารย์ 2 ท่านที่เป็นมิตรกันว่า เราสามคนมาเขียนเรื่องอุปราคากันตามความเข้าใจของแต่ละคนเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะชนกันสักหน่อยไหม แล้วก็เป็นไปตามนั้นโดยอาจารย์เก้า (ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว) นั้นได้เขียนโพสขึ้นก่อนเป็นท่านแรก ส่วนข้าพเจ้าเองก็จะขอพูดเรื่องคราสนี้เช่นกันในอีกมิติหนึ่ง และจะพยายามเขียนให้ท่านผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์หรือวิชาโหราศาสตร์ได้เข้าใจได้ง่ายพอสังเขป (ตามที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามา ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ) อันเรื่องอุปราคาหรือคราสนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ชนิดหนึ่งที่ผู้คนในโลกจำนวนมากจะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ ถ้าจะว่ากันแบบทางวิทยาศาสตร์หรือดาราศาสตร์ในปัจจุบันแล้ว ปรากฏการณ์อุปราคาของโลกเรานี้ก็จะเกิดขึ้นโดยดาว 3 ดวง คือ ดวงอาทิตย์+โลก+ดวงจันทร์ ที่โคจรมาอยู่ในระนาบองศาเดียวกัน จนทำให้ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์นั้นเกิดการมืดลงไปชั่วขณะ และจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1. สุริยุปราคา ที่ดวงอาทิตย์+ดวงจันทร์+โลก จะเคลื่อนโคจรเข้ามาอยู่ในระนาบองศาเดียวกัน โดยดวงจันทร์นั้นจะเคลื่อนเข้าตัดหน้าบังดวงอาทิตย์ไว้ (ทำให้แสงของดวงอาทิตย์มืดลง) และจะเกิดขึ้นในช่วงวันอมาวัสยาหรือวันอมาวสี […]