เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระฉินนมัสตา

พระฉินนมัสตา (छिन्नमस्ता/chinnamasta) หรือ ฉินนมัสติกา (छिन्नमस्तिका/Chinnamastika) และ ประจัณฑะ จัณฑิกา (प्रचण्ड चण्डिका/Prachanda Chandika) ทรงเป็นหนึ่งในทศมหาวิทยา เทวี ซึ่งเป็นคณะเทวีที่ได้รับการบูชาในคติตันตระ ทรงเป็นเทวีแห่งปัญญาญาน อันอยู่เหนือกามารมณ์ และการตะหนักรู้ในตนเอง พระนามของพระนางนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตสองคำ คือ ฉินนะ (छिन्न/Chinna) ซึ่งหมายถึง การตัด,การฉีก,ฉีกขาด และการแบ่ง สมาสกับ มัสตะ (मस्त/Masta) หรือ มัสตกะ (मस्तक/Mastaka) อันหมายถึง ศีรษะ เมื่อนำมาเป็นนามสตรี จึงมีการลงเสียงเพื่อบอกเพศ จึงได้รูป ฉินนมัสตา (छिन्नमस्ता/Chinnamasta) และ ฉินนมัสติกา (छिन्नमस्तिका/Chinnamastika) อันหมายถึง นางผู้ตัดเศียร,นางผู้มีพระเศียรที่ฉีกขาด ส่วนนาม ประจัณฑะ จัณฑิกานั้น มาจากคำว่า ประจัณฑะ (प्रचण्ड/Prachanda) ซึ่งหมายถึง ดุร้าย,รุนแรง,ร้อนแรง และความน่าเกรงขาม สมาสกับ จัณฑิกา (चण्डिका/Chandika) นามหนึ่งของพระเทวี […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ทุรคาษฏมี

ทุรคาษฏมี (दुर्गाष्टमी/Durgashtami) ถือเป็นอีกฤกษ์มงคลหนึ่งในการบูชาพระเทวี โดย ทุรคาษฏมี (ทุรคา+อัษฏมี) มีอยู่ในทุกเดือน โดยถือ ศุกลปักษ์ อัษฏมี (शुक्लपक्ष अष्टमी/Shuklapaksha Ashtami) หรือ ขึ้น8ค่ำ ของทุกเดือนตามปฏิทินจันทรคติฮินดู เป็นวัน ทุรคาษฏมี อันเป็นมงคลฤกษ์สำหรับการสักการะบูชาพระศรีอัมพิกา (พระศักติและรูปปรากฏต่างๆของพระนาง) ในดิถีนี้ยังถือเป็นดิถีกำเนิดปรากฏองค์ของ พระศรีภัทรกาลี (श्री भद्रकाली/Shree Bhadrakali) เมื่อครั้งทำลายพิธียัชญะของพระทักษะประชาบดี (दक्ष प्रजापति/Daksha Prajapati) พร้อมด้วยเหล่าโยคินีอีกด้วย ยิ่งเฉพาะ ทุรคาษฏมี ในอัศวิน มาส (अश्विन मास/Ashwin Masa) หรือ มหาทุรคาษฏมี (महादुर्गाष्टमी/Maha Durgashtami) ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยเป็นอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงศารทนวราตรี (शारद नवरात्री/Sharada Navaratri) โดยเริ่มเตรียมการตั้งแต่ ศุกลปักษ์ ษัษฐี อัศวิน มาส (ขึ้นหกค่ำ เดือนเจ็ด ตามปฏิทินจันทรคติฮินดู) จนถึง […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระศรีมูกามพิกา แห่ง กลลูรุ

พระศรีมูกามพิกา แห่ง กลลูรุ (Shree Mookambika of Kollooru) พระศรีมูกามพิกา (ಶ್ರೀ ಮೂಕಾಂಬಿಕಾ / Shree Mookambika) ทรงถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพระแม่ทุรคาในอินเดียใต้ ทรงประทับบนขุนเขากูฑจาทริ (ಕೂಡಚಾದ್ರಿ / Koodachadri) หรือ กุฏชาทริ (कुटजाद्रि / Kutajadri) ในเมืองโกละปุระ (ಕೊಲಪುರ / Kolapura) หรือ กลลูรุ (ಕೊಲ್ಲೂರು / Kollooru) ริมฝั่งแม่เสาปรรณิกา นที (ಸೌಪರ್ಣಿಕಾ ನದಿ / Sauparnika Nadi) ในตุฬุนาฑุ (ತುಳು ನಾಡು / Tulu Nadu) หรือ พื้นแผ่นดินของชาวตุฬุ ปัจจุบันเป็นเมืองในเขตอุฑุปิ (ಉಡುಪಿ / Udupi) ภูมิภาคตุฬุนาฑุ หรือ ทักษิณกันนฑะ (ದಕ್ಷಿಣಕನ್ನಡ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ

พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ (Shree Kamakshi of Jonnawada) เทวสถาน ศรี มัลลิการชุนะ สวามี – กามากษี ตัลลิ แห่ง ชนนวาฑะ ถือเป็นอีกหนึ่งปุณยสถานของชาวเตลุคุ ตั้งอยู่ในเมืองชนนวาฑะ (Jonnawada) เขตเนลลูรุ ( Nellooru,Nellore) รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) อินเดียตอนใต้ เทวตำนานของเทวสถานกล่าวถึง เมื่อครั้งพระกัศยปะ ประชาบดี (Kashyapa Prajapati) ได้มีเจตนารมณ์ที่จักทำพิธียัชญะขึ้น บนขุนเขาริมฝั่งแม่น้ำปินากินี หรือ เปนารุ (Pinaakini Nadi / Penaaru) โดยจัดโหมกุณฑ์ทั้งสามขึ้น พระศิวะทรงพึงพอพระทัยในพิธีมหายาคะนั้น จึงปรากฏรูปลึงค์จากกองกูณฑ์ และ ทรงประสงค์จักสถิตในที่แห่งนั้นในนาม ศรี มัลลิการชุนะ สวามี (Shree Mallikarjuna Swami) ในเพลานั้นพระปารวตี(Parvati)ทรงแปลกพระทัยต่อการอันตรธานหายไปของพระสทาศิวะ ผู้พระสวามีจึงเสด็จออกตามหา จนถึงปรำพิธีริมฝั่งแม่น้ำปินากินี ทางทักษิณทิศ จึงพบกับพระอีศวรผู้พระสวามี […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

กามากฺษี นาม รหสฺย

กามากฺษี นาม รหสฺย (ความลับแห่งนาม กามากษี) ใช่ครับ กามากษี (อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย คือ กามากชี) นามสันสกฤตนี้ตีได้หลายความหมาย ผมจึงตั้งชื่อหัวข้อบทความนี้เป็นภาษาสันสกฤตว่า กามากษี นามะ รหัสยะ อันหมายถึง ความลับแห่งนาม กามากษี กามากษี มีความหมายทั้งในด้านไวยากรณ์ และทางปรัชญา อันว่า เสียง กา คือ พระศรีมหาลักษมี และ เสียง มา คือ พระมหาสรัสวตี ร่วมกับคำว่า อักษี อันหมายถึง ดวงเนตร (นามสตรีลิงค์) จึงได้รูป กามากษี ซึ่งหมายถึง พระนางผู้ทรงมีดวงเนตรทั้งสองคือ พระลักษมี และ พระสรัสวตี ซึ่งพระลักษมี คือ อิจฉาศักติ (พลังอำนาจแห่งความปรารถนา) และพระสรัสวตี คือ ชญานะศักติ (พลังอำนาจแห่งความรู้) มีนัยว่า ดวงเนตรของพระเทวีทรงเป็นดังขุมพลัง ดวงเนตรแรกคือ อิจฉาศักติ […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

108 Names of Divine Mother Meenakshi (1-10)

॥श्रीमीनाक्षी नामावली॥ ॐ मातङ्ग्यै नमः ॐ विजयायै नमः ॐ श्यामायायै नमः ॐ सचिवेश्यै नमः ॐ शुकप्रियायै नमः ॐ नीपप्रियायै नमः ॐ कदम्बेश्यै नमः ॐ मदकुर्णितलोचनायै नमः ॐ भक्तानुरक्तायै नमः ॐ मन्त्राश्यै नमः ॥ ஶ்ரீமீனாக்ஷீ நாமாவளி ॥ ஓம் மாதங்க்யை நம: ஓம் விஜயாயை நம: ஓம் ஶ்(ச்)யாமாயாயை நம: ஓம் ஸசிவேஶ்(ச்)யை நம: ஓம் ஶு(சு)கப்ரியாயை நம: ஓம் நீபப்ரியாயை நம: ஓம் […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ตำนานอันพิสดารของพระขันทกุมาร​ ฉบับบาหลี​

พระขันทกุมาร​ หรือที่ชาวบาหลีเรียกขานว่า ซังฮฺยัง​ กุมารา (Sang​ Hyang​ Kumara)​ และ บาตารา กุมารา (Batara​ Kumara) ในคติบาหลีทรงเป็นโอรสองค์หนึ่งในองค์​ ซังฮฺยัง​ ซีวา หรือ​ บาตารา กูรู​ (Sang​ Hyang​ Siwa​/Batara​ Guru) ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์​ ทรงเป็นพระอนุชาใน​องค์​ซังฮฺยัง กานา (Sang​ Hyang​ Gana)(พระคเณศ)​ และ​ ซังฮฺยัง กาลา (Sang​ Hyang​ Kala)(พระกาล)​ ทรงเป็นเทพผู้คุ้มครองเด็กๆ​ และทรงความเยาว์วัย​อยู่เสมอด้วยพรจากพระบิดา ในบาหลีได้กล่าวถึงตำนานของ​ ซังฮฺยัง​ กุมา​รา​ อย่างพิสดารไว้ว่า​ ทรงถือกำเนิดขึ้นในวันตุมเปะก์​ วายัง​ (Tumpek​ Wayang)​ อันถือเป็นวันอวมงคล​ในปฏิทินบาหลี​ (เรื่องระบบปฏิทินบาหลีค่อนข้างซับซ้อน​มาก​ จึงขอละการลงลายละเอียด)​ เชื่อว่า​ ในวันนี้องค์​ ซังฮฺยัง​ ซีวอ ทรงประทานพรให้​ ซังฮฺยัง​ กาลา ซึ่งเป็นเทพอสูรที่หิวโหยอยู่เสมอ​ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระอังกาละ ปรเมศวรี แห่ง เมลมไลยะนูร

พระอังกาละ ปรเมศวรี แห่ง เมลมไลยะนูร (Ankala Parameshwari of Melmalaiyanoor) อังกาละ ปรเมศวรี (Ankala Parameshwari/அங்காள பரமேஸ்வரி),อังกาลัมมา (Ankalammaa/அங்காளம்மா),อังกาลัมมัน (அங்காளம்மன் / Ankalamman),อังกาลิ (Ankali / அங்காளி) หรือ อังกาลัมมะ (Ankalamma / అంకాలమ్మ / ಅಂಕಾಲಮ್ಮ) ในสำเนียงภาษาเตลุคุ และกันนฑะ และ อังกัมมะ (Ankamma / అంకమ్మ ของชาวเตลุคุ) ทรงเป็นเจ้าแม่ท้องถิ่น หรือครามะเทวตา(เทพผู้พิทักษ์หมู่บ้าน)ที่ผนวกเป็นอวตารภาคหนึ่งของ พระศักติ หรือ พระแม่อุมา ทรงเป็นที่สักการะนับถือในตมิฬนาฑุ,กรรนาฏกะ,อานธรประเทศ และบางส่วนของรัฐเตลังคณะ ทางตอนใต้ของอินเดีย แต่เทวสถานที่มีชื่อเสียงสุดของพระนาง อยู่ที่เมลมไลยะนูร (Melmalaiyanoor / மேல்மலையனூர்) ในเขตติรุวัณณามะไล (Thiruvannamalai / திருவண்ணாமலை) ของรัฐตมิฬนาฑุ อินเดียตอนใต้ ตำนานของเทวสถาน กล่าวถึงครั้งพระพรหมาทรงกระทำยัชญะ […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระเทวี กับ ใบสะเดา (เวปปิไล – Veppilai)

พระเทวี กับ ใบสะเดา ใบสะเดา (Neem leave) หรือ เวปปิไล (வேப்பிலை/Veppilai)ในภาษาตมิฬนั้นถือเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะแก่เจ้าแม่ท้องถิ่นทั้งหลายในอินเดียตอนใต้ โดยเชื่อกันว่า ใบสะเดาสามารถขจัดโรคผิวหนัง และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้ หนึ่งในที่มาของความเชื่อนี้ปรากฏอยู่ในตำนานของเทวสถาน ศรี เรณุกา ปรเมศวรี หรือ ศรี เรณุกามบาล แห่งปฏเวฑุ ดังนี้ กล่าวถึงเมื่อครั้งพระฤๅษีชมทัคนีผู้ภัสดาแห่งพระเรณุกาเทวีได้ถูกสังหารลงด้วยกษัตริย์ (บ้างว่า ท้าวการตวีรยารชุน บ้างว่า โอรสทั้งสามของท้าวเธอ) พระนางเรณุกาผู้ปดิวรัดาทรงเศร้าโศกเสียพระทัยยิ่ง อีกทั้งทรงตัดสินพระทัยที่จักปลงศพพระสวามี พร้อมกับตนเอง พระนางเรณุกาจึงทรงจัดเตรียมพิธีสังสการสุดท้ายแก่พระฤๅษีชมทัคนี พร้อมทั้งสละชีพของตนในกองเพลิงโดยหวังติดตามรับใช้ภัสดาไปในโลกหน้า หากแต่ด้วยพระประสงค์แห่งพระโยเคศวร ทรงประทานสายฝนโปรยปรายลงมาดับเพลิงอันร้อนแรงนั้น พระนางเรณุกาทรงฟื้นคืนชีพขึ้นพร้อมด้วยร่างกายที่พุพองจากเปลิวเพลิง มีเพียงพระพักตร์ที่มิต้องเปลิวอัคคี ทรงใช้เพียงใบสะเดาเป็นอาภรณ์ปกคลุมร่างกายเพื่อรักษาบรรเทาอาการจากแผลพุพองนั้น จากนั้นพระสทาศิวะ ทรงปรากฏองค์ขึ้น ทรงอำนวยพรแก่พระนางเรณุกา ให้พระนางได้รับการบูชาในฐานะพระเทวีผู้คุ้มครอง และขจัดโรคภัยไข้เจ็บ พระนางเรณุกา ทรงปรารถนาอยู่บนโลกเพียงแค่ พระเศียรเท่านั้น จึงปรากฏองค์เพียงแค่พระเศียร เป็นสวยัมภู มูรติ (รูปเคารพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มักเป็นหินที่มีรูปร่างแปลกจากธรรมชาติ) ส่วนพระวรกายนั้นไปยังโลกเบื้องบนพร้อมกับ พระมุนีศวร ชมทัคนี จากการที่พระนางทรงใช้ใบสะเดา (Neem leave) […]

เกร็ดความรู้ เรื่องทั่วไป

บทความพิเศษเรื่อง “भरतनाट्यम् – ภารตนาฏยัม คืออะไร”

  ภารตนาฏยัมคืออะไร ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล (อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ศูนย์สันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ           การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น  มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น ศิลปะการร้องเพลงและเต็นรำ เป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กัน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ในแต่ละชนชาติและลักษณะที่เป็นสากลทั้งหลาย โดยธรรมชาติ และธรรมชาติคือ ครูที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงที่สุดของมนุษย์ เป็นผู้สนให้มนุษย์ รู้จักการจังหวะ และความไพเราะ ดังเช่น เสียงของลม เสียงของสายฝน เสียงของน้ำไหล ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นจังหวะดนตรี และดนตรีในที่สุด สัญนิฐานว่า ณ เวลาที่ดนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ในทันทีการเต็นรำก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย โดยการเต้นรำที่พัฒนาในแต่ละท้องถิ่น […]