ติลไล กาลิอัมมัน (தில்லை காளியம்மன்/Thillai Kali Amman) หรือ พรหม จามุณฑีศวรี (பிரம்ம சாமுண்டீஸ்வரி/Brahma Chamundeshwari) เป็น เทวีท้องถิ่นองค์หนึ่ง ใน เมืองติลไล (தில்லை/Thillai) หรือ จิทัมพะรัม (சிதம்பரம்/Chidambaram) เทวสถานของพระนาง มีอายุราว 1000 – 2000 ปี ตำนานกล่าวถึงเมื่อครั้ง พระศิวะ และ พระนางศิวกามสุนทรี […]
เทวะตำนาน
มหาพเลศวร แห่ง โคกรรณะ
มหาพเลศวร แห่งโคกรรณะ (ಗೋಕರ್ಣ ಮಹಾಬಲೇಶ್ವರ / Mahabaleshwara of Gokarna) เป็นหนึ่งในปุณยสถานของรัฐกรรนาฏกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เทวสถานพระศรีมหาพเลศวร ตั้งอยู่ในเมืองโคกรรณะ เขตอุตตระ กันนฑะ ของรัฐกรรนาฏกะ ถือเป็นหนึ่งในมุกติสถาน ของชาวกันนาฑิคะ (ผู้ใช้ภาษากันนฑะเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในกรรนาฏกะ) ซึ่งมุกติสถาน คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเมื่อไปจาริกแสวงบุญแล้วจะได้รับการหลุดพ้น โคกรรณะแห่งนี้ยังได้รับการเรียกขานว่า เป็น กาศี แห่งทักษิณด้วย เช่นเดียวกับเทวสถานอันมีชื่อเสียงของพระศิวะอีกหลายแห่งในอินเดียตอนใต้ ตำนานแห่งปุณยสถานแห่งนี้ ย้อนกลับไปครั้งเตรตายุค อันเป็นยุคที่สองของกัลป์นี้ตามความเชื่อของฮินดู เมื่อพระนางไกกษีมารดาของ […]
พระฉินนมัสตา
พระฉินนมัสตา (छिन्नमस्ता/chinnamasta) หรือ ฉินนมัสติกา (छिन्नमस्तिका/Chinnamastika) และ ประจัณฑะ จัณฑิกา (प्रचण्ड चण्डिका/Prachanda Chandika) ทรงเป็นหนึ่งในทศมหาวิทยา เทวี ซึ่งเป็นคณะเทวีที่ได้รับการบูชาในคติตันตระ ทรงเป็นเทวีแห่งปัญญาญาน อันอยู่เหนือกามารมณ์ และการตะหนักรู้ในตนเอง พระนามของพระนางนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตสองคำ คือ ฉินนะ (छिन्न/Chinna) ซึ่งหมายถึง การตัด,การฉีก,ฉีกขาด และการแบ่ง สมาสกับ มัสตะ (मस्त/Masta) หรือ มัสตกะ (मस्तक/Mastaka) […]
ทุรคาษฏมี
ทุรคาษฏมี (दुर्गाष्टमी/Durgashtami) ถือเป็นอีกฤกษ์มงคลหนึ่งในการบูชาพระเทวี โดย ทุรคาษฏมี (ทุรคา+อัษฏมี) มีอยู่ในทุกเดือน โดยถือ ศุกลปักษ์ อัษฏมี (शुक्लपक्ष अष्टमी/Shuklapaksha Ashtami) หรือ ขึ้น8ค่ำ ของทุกเดือนตามปฏิทินจันทรคติฮินดู เป็นวัน ทุรคาษฏมี อันเป็นมงคลฤกษ์สำหรับการสักการะบูชาพระศรีอัมพิกา (พระศักติและรูปปรากฏต่างๆของพระนาง) ในดิถีนี้ยังถือเป็นดิถีกำเนิดปรากฏองค์ของ พระศรีภัทรกาลี (श्री भद्रकाली/Shree Bhadrakali) เมื่อครั้งทำลายพิธียัชญะของพระทักษะประชาบดี (दक्ष प्रजापति/Daksha Prajapati) พร้อมด้วยเหล่าโยคินีอีกด้วย […]
พระศรีมูกามพิกา แห่ง กลลูรุ
พระศรีมูกามพิกา แห่ง กลลูรุ (Shree Mookambika of Kollooru) พระศรีมูกามพิกา (ಶ್ರೀ ಮೂಕಾಂಬಿಕಾ / Shree Mookambika) ทรงถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพระแม่ทุรคาในอินเดียใต้ ทรงประทับบนขุนเขากูฑจาทริ (ಕೂಡಚಾದ್ರಿ / Koodachadri) หรือ กุฏชาทริ (कुटजाद्रि / Kutajadri) ในเมืองโกละปุระ (ಕೊಲಪುರ / Kolapura) หรือ กลลูรุ (ಕೊಲ್ಲೂರು […]
พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ
พระกามากษี แห่ง ชนนวาฑะ (Shree Kamakshi of Jonnawada) เทวสถาน ศรี มัลลิการชุนะ สวามี – กามากษี ตัลลิ แห่ง ชนนวาฑะ ถือเป็นอีกหนึ่งปุณยสถานของชาวเตลุคุ ตั้งอยู่ในเมืองชนนวาฑะ (Jonnawada) เขตเนลลูรุ ( Nellooru,Nellore) รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) อินเดียตอนใต้ เทวตำนานของเทวสถานกล่าวถึง เมื่อครั้งพระกัศยปะ ประชาบดี (Kashyapa […]
กามากฺษี นาม รหสฺย
กามากฺษี นาม รหสฺย (ความลับแห่งนาม กามากษี) ใช่ครับ กามากษี (อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย คือ กามากชี) นามสันสกฤตนี้ตีได้หลายความหมาย ผมจึงตั้งชื่อหัวข้อบทความนี้เป็นภาษาสันสกฤตว่า กามากษี นามะ รหัสยะ อันหมายถึง ความลับแห่งนาม กามากษี กามากษี มีความหมายทั้งในด้านไวยากรณ์ และทางปรัชญา อันว่า เสียง กา คือ พระศรีมหาลักษมี และ เสียง มา คือ […]
ตำนานอันพิสดารของพระขันทกุมาร ฉบับบาหลี
พระขันทกุมาร หรือที่ชาวบาหลีเรียกขานว่า ซังฮฺยัง กุมารา (Sang Hyang Kumara) และ บาตารา กุมารา (Batara Kumara) ในคติบาหลีทรงเป็นโอรสองค์หนึ่งในองค์ ซังฮฺยัง ซีวา หรือ บาตารา กูรู (Sang Hyang Siwa/Batara Guru) ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ ทรงเป็นพระอนุชาในองค์ซังฮฺยัง กานา (Sang Hyang Gana)(พระคเณศ) และ ซังฮฺยัง […]
พระเรณุกามพา และ พระมาตังคี
พระศรีเรณุกา ปรเมศวรี (ஸ்ரீ ரேணுகா பரமேஸ்வரி/Sri Renuka Parameshwari) ทรงเป็นรูปปรากฏแห่งพระปราศักติ ในฐานะเทพผู้คุ้มครองชุมชน หมู่บ้านต่างๆ (Village Deity) ซึ่งสันสกฤตเรียกว่า ครามะเทวตา (ग्रामदेवता/Grama Devata) หรือ ครามะ เดวะไต (கிராம தேவதை/Grama Devathai) และ กาวัล เดย์วัม (காவல் தெய்வம்/Kaval Deivam)(Guardian Deity) ในภาษาตมิฬ […]
ปาวาไฏรายัน บุตรชายแห่ง อังกาลัมมัน
ปาวาไฏรายัน บุตรชายแห่ง อังกาลัมมัน (Pavadairayan The son of Ankalamman) ปาวาไฏรายัน (பாவாடைராயன் / Pavadairayan)นั้น ถือเป็น เทพท้องถิ่น หรือ เทพผู้พิทักษ์หมู่บ้าน และเทพประจำตระกูลองค์หนึ่งของชาวตมิฬ นับถือเป็นบุตรของอังกาลัมมัน ภายในวัดของพระอังกาละ ปรเมศวรี มักมีศาลของ ปาวาไฏรายันอยู่ทุกวัด ตำนานกล่าวถึงครั้งพระศิวะต้องคำสาปของพระสรัสวตี และประสบวิบากกรรมจากการตัดเศียรที่ห้าของพระพรหมา พระศิวะทรงระหกระเหินภิกขาจารไปทุกหนแห่ง จนกระทั่งมาถึงบ้านของ เปตตาณฑะวัน (பெத்தாண்டவன் / Petthandavan) […]