एकदन्तं महाकायं तप्तकाञ्चनसन्निभम्। लम्बोदरं विशालाक्षं वन्देऽहं गणनायकम्॥ เอกทนฺตํ มหากายํ ตปฺตกาญฺจนสนฺนิภมฺ। ลมฺโพทรํ วิศาลากฺษํ วนฺเท(อ)หํ คณนายกมฺ॥ คำอ่าน เอกะทันตำ มะหากายำ ตัปตะกาญจะนะสันนิภัม ลัมโพทะรำ วิศาลากษำ วันเท’ฮำ คะณะนายะกัม อ่านออกเสียงสำเนียงอินเดีย เอกะดันตำ มะฮากายำ ตัปตะกาญจะนะซันนิภำ ลัมโบดะรำ วิซาลากชำ วันเด’ฮำ กห์ะณะนายะกัม […]
เกร็ดความรู้
ลิงคะ (लिङ्ग/Linga) หรือ ลิงกัม (லிங்கம்/Lingam)
ลิงคะ รูปเคารพของพระเจ้าในฐานะต้นกำเนิดแห่งทุกสรรพสิ่ง ลิงคะ (लिङ्ग/Linga) หรือ ลิงกัม (லிங்கம்/Lingam) ถือ เป็นหนึ่งในรูปเคารพที่เก่าแก่ที่สุดของพระศิวะ เป็นที่เคารพบูชาเป็นอย่างยิ่งในทุกสาขาของไศวะนิกาย ลิงคะ หมายถึง เพศ หรือ เครื่องเพศ โดยมีความหมายเจาะจงไปที่เครื่องเพศชาย ทำไมพระเป็นเจ้าถึงได้รับการบูชาในรูปเครื่องเพศ? นั้นเพราะ เครื่องเพศนั้นเป็นรูปแบบแห่งการกำเนิดขึ้นของทุกสรรพชีวิต สรรพชีวิตชั้นสูงนั้นล้วนต้องใช้เครื่องเพศเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ จากคติความเชื่อนี้ ยังนำมาซึ่งความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์ หรือ เครื่องรางแทนความอุดมสมบูรณ์ คติเช่นนี้มักพบในลัทธิ หรือ ศาสนาโบราณต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น ลิงคะ คือ […]
มหาพเลศวร แห่ง โคกรรณะ
มหาพเลศวร แห่งโคกรรณะ (ಗೋಕರ್ಣ ಮಹಾಬಲೇಶ್ವರ / Mahabaleshwara of Gokarna) เป็นหนึ่งในปุณยสถานของรัฐกรรนาฏกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เทวสถานพระศรีมหาพเลศวร ตั้งอยู่ในเมืองโคกรรณะ เขตอุตตระ กันนฑะ ของรัฐกรรนาฏกะ ถือเป็นหนึ่งในมุกติสถาน ของชาวกันนาฑิคะ (ผู้ใช้ภาษากันนฑะเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในกรรนาฏกะ) ซึ่งมุกติสถาน คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเมื่อไปจาริกแสวงบุญแล้วจะได้รับการหลุดพ้น โคกรรณะแห่งนี้ยังได้รับการเรียกขานว่า เป็น กาศี แห่งทักษิณด้วย เช่นเดียวกับเทวสถานอันมีชื่อเสียงของพระศิวะอีกหลายแห่งในอินเดียตอนใต้ ตำนานแห่งปุณยสถานแห่งนี้ ย้อนกลับไปครั้งเตรตายุค อันเป็นยุคที่สองของกัลป์นี้ตามความเชื่อของฮินดู เมื่อพระนางไกกษีมารดาของ […]
อุปจาระ การปฏิบัติบูชาขั้นพื้นฐาน
อุปจาระ (उपचार/Upachara) คือ การปฏิบัติบูชา รับใช้ต่อเทพเจ้า หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยแบ่งเป็นขั้นตอน แบบแผนต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ โดยแต่ละสัมประทายะ (จารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาในสำนักอาจารย์ต่างๆ) อาจมีรายละเอียดปฏิบัติแตกต่างกัน อุปจาระแบ่งเป็นขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ ปัญโจปาจาระ (पंचोपचार/Panchopachara) = การปฏิบัติบูชา 5ขั้นตอน โษฑโศปจาระ (षोडशोपचार/Shodasopachara) = การปฏิบัติบูชา 16ขั้นตอน จตุรษัษฐี อุปจาระ (चतुर्षष्ठी उपचार/Chaturshasthi Upachara) […]
ไนเวทยะที่ดีควรเป็นย่างไร?
ไนเวทยะ (नैवेद्य/Naivedya) หมายถึง เครื่องบัดพลี หรือ อาหารที่ปรุงขึ้นเพื่อถวายเทพเจ้า โดยอาหารที่นำมาถวายเป็นไนเวทยะจะต้องเป็น อาหารสัตตวะ (Sattava diet) อาหารสัตตวะคืออะไร? สัตตวะคุณะ (सत्तवगुण/Sattava Guna) คือหนึ่งในสามคุณะ โดยสามคุณะนี้มีอยู่ในทุกสิ่ง ซึ่งประกฤติ(พระศักติ)เป็นผู้สร้าง และผู้ควบคุมคุณะทั้งสามนี้ตามปรัชญาสางขยะ (सांखय/Sankhya) ของฮินดู ซึ่งทั้งสามคุณะคือ -สัตตวะ (सत्तव/Sattava) เป็นองค์มูลฐานแห่ง ความดีงาม,ความสุข,ความพึงพอใจ,ความสงบ,ความบริสุทธิ์ และความเจิดจ้าของแสงสว่าง สีของสัตตวะคือ สีขาว เทพผู้ควบคุมคุณนี้คือ พระพรหมา […]
บูชาพระแม่กาลีได้ไหม?
คำถามนี้เป็นคำถามยอดนิยมและมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้เริ่มมีจิตศรัทธา เริ่มมาปรนนิบัติบูชาใหม่ๆ พร้อมกับคำถามว่า พระกาลีบูชาในเคหสถานได้หรือไม่? ซึ่งคำตอบที่ออกมาจากกลุ่มผู้ศรัทธานั้นมีหลากหลายมาก บ้างว่าได้ บ้างว่าไม่ได้ บ้างว่า อย่าได้แคร์ ในวันนี้ผมจึงมีความประสงค์จะมาตอบข้อสงสัยในเรื่องนี้ ตรงนี้ผมขอกล่าวว่า พระกาลีเราสามารถบูชาได้ครับ ในส่วนนี้ผมต้องกล่าวไว้เลยว่า อันที่จริงพระกาลีมีสองภาวะ หรือสองรูปแบบ คือ เสามฺยะ กาลี (सौम्य काली/Soumya Kali) และ อุคระ กาลี (उग्रकाली/Ugra Kali) เสามฺยะ นั้นหมายถึง สง่างาม,อ่อนโยน และ […]
พระฉินนมัสตา
พระฉินนมัสตา (छिन्नमस्ता/chinnamasta) หรือ ฉินนมัสติกา (छिन्नमस्तिका/Chinnamastika) และ ประจัณฑะ จัณฑิกา (प्रचण्ड चण्डिका/Prachanda Chandika) ทรงเป็นหนึ่งในทศมหาวิทยา เทวี ซึ่งเป็นคณะเทวีที่ได้รับการบูชาในคติตันตระ ทรงเป็นเทวีแห่งปัญญาญาน อันอยู่เหนือกามารมณ์ และการตะหนักรู้ในตนเอง พระนามของพระนางนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตสองคำ คือ ฉินนะ (छिन्न/Chinna) ซึ่งหมายถึง การตัด,การฉีก,ฉีกขาด และการแบ่ง สมาสกับ มัสตะ (मस्त/Masta) หรือ มัสตกะ (मस्तक/Mastaka) […]