เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน เรื่องทั่วไป

อัษฏภารยา พระมเหสีทั้งแปดนางของพระวาสุเทพ กฤษณะ

อัษฏภารยา (अष्टभार्या/Ashtabharya) หรือ พระมเหสีทั้งแปดนางของพระวาสุเทพ กฤษณะ (8 consorts of Vasudeva Krishna) ซึ่งทั้งแปดนางล้วนแต่เป็นขัตติยธิดา จากราชวงศ์ต่างๆ อันทั้งแปดนางนั้นล้วนแต่เป็นผู้ภักดีต่อพระกฤษณะโดยการพัฒนาภักติจากการมีความรักให้แก่พระมาธวะเอง อันพระชคันโมหนะ(ผู้ทรงยังให้ทั้งพิภพหลงใหล)นั้น ทรงเป็นผู้มีความกรุณาดุจสาคร ทรงตอบสนองต่อทุกความปรารถนาของผู้ภักดี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงรับขัตติยกันยาทั้งแปดเป็นพระมเหสี อันคอยปรนนิบัติรับใช้แทบเบื้องบาทบงกชแห่งองค์พระทวารกาทีศะอยู่เสมอ อัษฏภารยา กอปรด้วยขัตติยกันยาทั้งแปดเหล่านี้ อันได้แก่ 1.พระนางรุกมิณี (रुक्मिणी/Rukmini) พระนางรุกมิณี ทรงเป็นพระธิดาของ ท้าวภีษมกะ (भीषमक/Bhishmaka) พระมหาราชแห่ง แคว้นวิทรรภ (विदर्भ/Vidarbha) […]

เทวะตำนาน

จัณเฑศะ ตำนานตัดขาบิดาเพื่อพระเจ้า

จัณเฑศะ หรือ จัณเฑศวร (சண்டேச/சண்டேசுவரர் – Chandesha/Chandeshwara) เป็นหนึ่งในสาวก และบริวารสำคัญองค์หนึ่งของพระศิวะ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งใน 63 นายันมาร หรือ 63 นักบุญสาวกที่ได้รับการเคารพนับถือศรัทธาในไศวะนิกาย ฝ่ายไศวะสิทธานตะ (சைவ சித்தாந்த/Shaiva Siddhanta) ที่ได้รับความเคารพนับถือในตมิฬนาฑุด้วย ตามตำนานแล้ว จัณเฑศะ กำเนิดในตระกูลพราหมณ์ ท่านได้รับการศึกษาในศาสตร์ต่างๆ ตั้งแต่ขณะมีอายุเจ็ดปี และเป็นผู้ชำนาญในพระเวท และอาคม ท่านเป็นผู้มีความศรัทธาในพระศิวะเป็นอย่างมาก ในทุกๆวัน ท่านจะพาโคออกไปกินหญ้า และจะก่อศิวลึงค์จากดินและทรายเพื่อทำการบูชา […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

ศรีวิฐฐละ แห่ง ปัณฒรปูร

พระวิฐฐละ (विठ्ठल/Vitthala) หรือ วิโฐพา (विठोबा/Vithoba) และในอีกพระนาม ปาณฑุรังคะ (पांडुरंग/Panduranga) ทรงเป็นภาคปรากฏหนึ่ง ของ ศรีกฤษณะ (श्रीकृष्ण/Sri Krishna) ในเมือง ปัณฒรปูร (पंढरपूर/Pandharpur)ในเขต โสลาปูร (सोलापूर/Solapur)ของรัฐมหาราษฏร ( महाराष्ट्र/Maharashtra) หรือ เขตของชาว มราฐา (मराठा/Maratha) *ผู้พูดภาษามราฐี (मराठी/Marathi) พระวิฐฐละ ทรงเป็นที่เครพศรัทธากันในหมู่ชาวอินเดีย(เฉพาะที่เป็นฮินดูนะครับ)ทางตอนใต้ ตั้งแต่ มหาราษฏร […]

เทวะตำนาน

นารายณํ นมสฺกฤตฺย นรํ ไจว นโรตฺตมมฺ

नारायणं नमस्कृत्य नरं चैव नरोत्तमम् | देवीं सरस्वतीं व्यासं ततो जयमुदीरयेत् || นารายณํ นมสฺกฤตฺย นรํ ไจว นโรตฺตมมฺฯ เทวีํ สรสฺวตีํ วฺยาสํ ตโต ชยมุทีรเยตฺฯ। คำอ่าน นารายะณัม นะมัสกฤตฺยะ นะรัม ไจวะ นะโรตตะมัม เทวีม สะรัสวะตีม […]

เทวะตำนาน

พระแม่ศีตลา พระเทวีผู้ขจัดโรคด้วยความเย็น

พระแม่ศีตลา (शीतला / Sheetala) ทรงเป็นเทวีท้องถิ่นของอินเดียภาคเหนือ และมีการเคารพสักการะอยู่บ้างทางตอนใต้ของอินเดีย ทรงเป็นเทวีแห่งโรคผิวหนังต่างๆ มีความเชื่อว่า ทรงเป็นผู้ก่อเกิดโรคด้วยความโกรธกริ้วของพระนาง และเป็นผู้รับรักษาโรคเอง เช่นเดียวกับความเชื่อเจ้าแม่ท้องถิ่นต่างๆของอินเดียใต้ ตำนานของพระนางมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ชวราสุระ (ज्वरासुर / Jwarasura) อสูรแห่งความเจ็บไข้ได้ป่วย (ชวระ -การเจ็บไข้ได้ป่วย) ได้สร้างความเดือดร้อนไปทั่วปฐพี่ เหล่ามุนี นักสิทธิ์ทั้งหลายจึงสวดภาวนาถึง พระทุรคา (दुर्गा / Durga) หรือ กาตยายนี (कात्यायनी […]

เกร็ดความรู้ เทวะตำนาน

พระราหู และพระเกตุ

พระราหู และพระเกตุนั้นมิใช่พระเคราะห์แท้ แต่เป็นบุคลาธิษฐานของเงาที่ทับซ้อนกันระหว่าง โลก,พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ซึ่งก่อให้เกิดคราส จัดเป็นอุปเคราะห์ ราหูนั้นทรงเป็นพระเคราะห์แห่ง โรคภัย ความเฉื่อยชา และความเกียจคร้าน ถือเป็นบาปเคราะห์ มีกำลังในเวลากลางคืน ใช้เวลาในการโคจรครบทุกราศี เป็นเวลา 18 ปี และโคจรต่างจากพระเคราะห์อื่นๆ โดย ราหู และเกตุจะโคจรตามเข็มนาฬิกา ในขณะที่พระเคราะห์อื่นโคจรทวนเข็มนาฬิกา ราหูนั้นเป็นมิตรกับ เสาร์,พุธ และศุกร์ เป็นศัตรูกับ อาทิตย์,จันทร์ และอังคาร เป็นกลางกับ พฤหัสบดี […]

เทวะตำนาน

กำเนิดพระคเณศ จากคัมภีร์ พรหมไววรรตะ มหาปุราณะ

กำเนิดพระคเณศ ในคัมภีร์ พรหมะไววรรตะ มหาปุราณะ (Brahmavaivarta mahapurana/ब्रह्मवैवर्तमहापुराण )ปรากฏใน คณปติขณฺฑ (Ganapati Khanda/गणपतिखण्ड ) เป็นตอนอันว่าด้วย เทวปกรณัม แห่ง พระคณปติ ผู้เป็นภาคปรากฏอันประเสริฐศรี แห่ง ศรีกฤษณะ ศยามสุนทร ( Shree Krishna Shyamasundara/श्रीकृष्ण श्यामसुन्दर ) เทวปกรณัม คณปติสมภพ ในพรหมะไววรรตะปุราณะ มีอยู่ว่า หลังจากที่ […]

เทวะตำนาน

เทวลักษณะของพระศิวะ

พระศิวะทรงปรากฏองค์เป็นบุรุษ ทรงเป็นโยคีผู้อยู่อย่างสมถะ ประทับบนขุนเขาไกลาศ (ด้วยเหตุนี้จึงทรงมีพระนามว่า ไกลาศวาสิน หมายถึง ผู้ประทับยัง ณ ขุนเขาไกลาศ) พระองค์ทรงมีฉวีวรรณขาวผุดผ่องดั่งการบูร กระจ่างใสเรืองรองดุจดังสผฏิกะ(เคลียร์ควอตซ์) แลด้วยเหตุนี้จึงทรงนามว่า ศุทธวิคระฮะ หมายถึง ผู้ทรงมีพระวรกายอันบริสุทธิ์ บ้างว่า ทรงมีฉวีวรรณสีฟ้าอมแดง (สีม่วง) อันเนื่องมาจากการดื่มพิษของพญาวาสุกีนาคที่พ่นพิษขณะทำพิธีกวนเกษียรสมทุรไว้ จนพระวรกายของพระองค์จากสีขาวดังน้ำนม แปรเปลี่ยนเป็นสีม่วง (ด้วยเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า นีลโลหิตะ) อีกทั้งยังให้พระศอของพระองค์เป็นสีฟ้าคราม (ด้วยเหตุนี้จึงทรงนาม นีลกัณฐ์ และ ศิติกัณฐ์) ทรงเปลือยพระวรกาย นุ่งลมห่มฟ้า […]

เทวะตำนาน

เอกานังศา และ วินธยวาสินี

จากบทความก่อนเราได้พูดถึง พระนางสุภัทรากันไป ถึงตำนานความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับการกำเนิดของพระนาง ยังรวมถึงตำนานโดยคร่าวของ เอกานังศา (एकानंसा/Ekanamsha) อวตารของพระอัมพิกาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่มาเป็นตัวตาย ตัวแทนกฤษณาวตาร และ พระนางวินธยวาสินี (विन्ध्यवासिनी/Vindhyavasini) ซึ่งมิใช่ผู้ใดอื่น นอกจากพระภวานี หรือ เอกานังศาเอง ในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึงเรื่องราวของ พระแม่วินธยวาสินี ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (ที่จริงที่ลงไปในเรื่องของ พระนางสุภัทราก็ชัดเจนแล้ว แต่มีความประสงค์มาแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง) อ่านเรื่อง สุภัทรา ปูรวชนมะ รหัสยะ ได้ตามลิงก์นี้ https://hindumeeting.com/สุภัทรา-ปูรวชนมะ-รหัสยะ/ ‎ อันขุนเขาวินธยาจล […]

เทวะตำนาน

สุภัทรา ปูรวชนมะ รหัสยะ

ในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึง บูรพชนม์ (ปูรวชนมะ) หรือ อดีตชาติ ของ พระนางสุภัทรา (सुभद्रा/Subhadra) พระชายาในท้าวกิรีฏิน (किरीटिन्/Kiritin)(ผู้สวมใส่กิรีฏมงกุฏ ฉายาหนึ่งของพระอินทร์ และท้าวอรชุน) และพระขนิษฐาอันเป็นที่รักของพระศรีกฤษณะกัน อันพระนางสุภัทรานั้นเป็นพระธิดาในองค์วสุเทวะ (वसुदेव/Vasudeva) กับ พระนางโรหิณี (रोहिणी/Rohini) ทรงกำเนิดภายหลังพระวสุเทพได้รับการปล่อยตัวจากการถูกจองจำ หลังจากการสิ้นชีพของกังสะผู้ทรราช ซึ่งนั้นแปลว่า พระนางทรงถือกำเนิดขึ้นในขณะที่พระกฤษณะ และ พระพลเทพย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ในตำนานสมัยใหม่อันเป็นที่แพร่หลาย และเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างนั้น กล่าวว่า พระนางนั้นทรงเป็นอวตารแห่ง พระโยคมายา (योगमाया/Yogamaya) […]